in

เคล็ดลับการดูแลรักษา ปั๊มลม ที่ถูกต้อง

การดูแลรักษาปั๊มลม เป็นหนึ่งในการปฏิบัติที่คุณต้องเรียนรู้แต่ละขั้นตอน โดยสามารถใช้ได้กับทุกแบรนด์ทุกรุ่น และไม่ว่าจะใช้งานปั๊มลมตัวเดียว หรือหลายตัวควรตรวจสอบขั้นพื้นฐานเป็นประจำ สามารถนำไปตรวจเช็คสภาพ เมื่อผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน หากไม่ทำเช่นนั้นอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ในกรณีที่มีการซ่อมแซมอาจมีค่าใช้จ่ายสูง
ในโรงงานขนาดใหญ่ การบำรุงรักษาปั๊มลมในอุตสาหกรรมถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง ของระบบการจัดการ ด้วยการที่เครื่องจักรและเครื่องมือส่วนใหญ่ ที่อาศัยการทำงานจากแรงอัดลม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ปั๊มลมทุกตัวในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ เพราะหากเกิดความเสียขึ้น อาจส่งผลให้งานหยุดชะงักและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นการบำรุงรักษาปั๊มลมจึงกลายเป็นธุรกิจบริการเชิงพาณิชย์ บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับระบบอัดลมจึงเป็นบริษัทที่ภาคอุตสาหกรรมเอกชนต้องพึ่งพา

เคล็ดลับการบำรุงรักษา ปั๊มลม

การทำงานของปั๊มลมจะใช้กระบวนการต่างๆ ที่เปลี่ยนอากาศโดยรอบที่เข้ามาให้เป็นแหล่งพลังงาน เพื่อใช้สำหรับเครื่องมือและเครื่องจักร ด้วยเหตุนี้ปั๊มลมจึงประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งแต่ละส่วนต้องได้รับการบำรุงรักษา เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานได้อย่างดี โดยทั่วไปปั๊มลมจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ทำความสะอาดตัวกรอง และตรวจสอบตัวทำความเย็นทุกๆ สามเดือน เปลี่ยนไส้กรอง ตรวจสอบขันข้อ ต่อให้แน่นอย่างน้อยปีละครั้ง

1. อ่านคู่มือผู้ใช้

ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับปั๊มลมบางครั้งสามารถแก้ไขได้ด้วยการศึกษาจากคู่มือการใช้งาน แม้ว่าสิ่งนี้อาจฟังดูเหมือนไม่ใช่เรื่องง่าย โดยที่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักจะลืมศึกษาข้อมูลในคู่มือและหันไปใช้การโทรและใช้บริการแทนแม้จะเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง

ปั๊มลม

อย่างไรก็ตามไม่ควรพยายามซ่อมแซมหรือแก้ไขโดยไม่อ่านคู่มือการใช้งานก่อน เพราะอาจทำให้คุณเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม หากซื้อปั๊มลมมาเมื่อไม่นานมานี้การปรับแต่งด้วยตนเองอาจทำให้การรับประกันเป็นโมฆะ

2. ขันน็อตและสลักเกลียว ปั๊มลม ให้แน่น

ในขณะที่ปั๊มลมผ่านการใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ขณะที่เครื่องสั่นสะเทือนชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องจักรเคลื่อนที่ น็อตและสลักเกลียวบางตัวอาจหลวม สกรูและตัวยึดที่หลวมไม่ได้เป็นสัญญาณว่าเครื่องกำลังหลุดออกจากกัน แต่เป็นเพียงตัวบ่งชี้ว่า ถึงเวลาที่ต้องขันเพื่อตรวจเช็คความแน่นของน็อตและตัวเครื่อง
การคลายน็อตปั๊มลมทั่วไป อาจเป็นผลมาจากการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น จากการใช้ปั๊มลมอย่างหนัก และต่อเนื่อง การตรวจสอบว่าน็อต หรือสลักเกลียวหลวมหรือไม่ ให้ทดสอบด้วยการใช้ประแจขันให้แน่นจนรู้สึกได้ว่าสลักเกลียวแน่น หมุนน็อตไปยังจุดที่พอตึงมือเท่านั้น หากพยายามขันมากเกินไปอาจจะทำให้เกลียวหวานได้

ปั๊มลม

3. ทำความสะอาดวาล์วไอดี

เพื่อให้เครื่องอัดอากาศทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ จะต้องมีช่องระบายอากาศที่สะอาด ในขณะที่ใช้ปั๊มลมเป็นเวลาหลายสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง อนุภาคฝุ่นและองค์ประกอบอื่น ๆ จะถูกดูดเข้าไปในช่องระบาย ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดช่องระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ
ปัญหาช่องระบายอากาศอุดตันอาจเกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะหากคุณใช้ปั๊มลมกับเครื่องมือที่ทำให้เกิดฝุ่น ตัวอย่างเช่น เครื่องตัดไม้แบบใช้ลม และเครื่องขัด จะทำ ให้เกิดฝุ่นละอองแข็ง ที่สามารถสะสมภายในช่องระบายอากาศได้

4. ตรวจสอบสายลม

ในบรรดาชิ้นส่วนทั้งหมดของปั๊มลมสายลมเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการเสียหายมากที่สุด นอกจากนั้นยังถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการถ่ายเทพลังงานลมระหว่างเครื่องไปยังเครื่องมือ ดังนั้นสายลมควรจะแข็งแรงและแน่นหนาละยืดหยุ่น
หนึ่งในปัญหาของสายลมคือความไม่สม่ำเสมอของความดัน หากแรงดันสูงเกินไปท่อจะขยายใหญ่ ในขณะที่ถ่ายเทอากาศจากเครื่องไปยังเครื่องมือลม หากแรงดันสูงแล้วตามด้วยรอบของแรงดันต่ำสายยางจะหดตัวเล็กน้อย ในขณะที่มีการส่งแรงดันลมแล้วการงอและพับอาจทำให้สายยางเกิดการแตกหรือเสียหายได้

ปั๊มลม

หากแรงดันลมที่ส่งมาจากปั๊มลมเบาผิดปกติให้ตรวจสอบสายลมว่ามีการพับหักหรือเสียหายหรือไม่โดยตรวจสอบเป็นเป็นประจำ หากคุณเห็นร่องรอยของรอยพับหรือการสึกหรอให้เปลี่ยนสายยางใหม่ หากมองข้ามสายลมที่สึกหรออาจทำให้ปั๊มลมทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

5. เปลี่ยนตัวกรองอากาศ

ตลอดการใช้งานตัวกรองภายในปั๊มลมจะดักจับฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่อยู่ในอากาศ โดยตัวกรองออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่นี้ หากไม่มีตัวกรองฝุ่นและสิ่งสกปรกอื่น ๆ อาจทำให้ปั๊มลมติดขัดและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือลมลดลง เมื่อพูดถึงการใช้งานเครื่องมือพ่นสีและเครื่องเป่าลมความบริสุทธิ์ของอากาศเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และจะเป็นอย่างไรหากไม่มีกระบวนการกรองอากาศ ตัวอย่างเช่นการพ่นสีที่อาจมีรอยด่างหรือทรายขณะพ่นสี

ปั๊มลม

อย่างไรก็ตามตัวกรองเองก็มีขีดจำกัด ในขณะที่งานของตัวกรองคือการรวบรวมฝุ่นทั้งหมดที่อาจทำให้อากาศเข้าไปทำให้การทำงานของปั๊มลมผิดปกติ แต่เมื่อตัวกรองเสื่อมสภาพลงจะทำให้ตัวกรองมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนไส้กรองอากาศเป็นประจำทุกปี

6. ระบายน้ำออกจากถังและที่ดักน้ำ

ผลจากการอัดอากาศเข้าไปในถังลมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือความชื้นซึ่งสะสมอยู่ภายในเครื่องในรูปของน้ำและตัวกรองดักน้ำจะทำหน้าที่กรองน้ำออกจากลมก่อนที่ลมจะถูกส่งไปยังเครื่องมือ วิธีนี้จะให้ได้ลมที่แห้งและบริสุทธิ์ ความชื้นในการอัดลมถือเป็นปัญหาอย่างมากในการใช้งาน ซึ่งอาจได้รับความเสียหายจากน้ำและความชื้นคุณภาพของการใช้งานทำให้ลดลง ตัวอย่างเช่น ในโรงงานประกอบรถยนต์ การพ่นสีและการเคลือบสีรถยนต์ หากความชื้นและน้ำเข้าไปเป็นส่วนผสม อาจทำให้สีจางลงและขาด

ปั๊มลม

เช่นเดียวกับตัวถังหากไม่มีการระบายน้ำออกจากตัวถังจะทำให้น้ำจะเคลื่อนไปยังส่วนอื่น ๆ ของเครื่องและทำให้อากาศกเกิดการปนเปื้อนได้ ยิ่งไปกว่านั้นน้ำในถังอาจเกิดการเน่าเสียส่งกลิ่นและสิ่งสกปรกผ่านระบบอัดลมออกจากตัวถัง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างที่จะต้องระบายน้ำออกจากถังและตัวกรองน้ำเป็นประจำ

7. ทำความสะอาดถังน้ำมัน

ปั๊มลมที่ใช้เชื้อเพลิงต้องการการบำรุงรักษาปีละครั้ง เพราะอาจมีสิ่งตกค้างของเชื้อเพลิงซึ่งสามารถสะสมภายในถังและกลายเป็นปัญหาเมื่อทิ้งไว้เป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้ของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตของเครื่องจักรอาจกลายเป็นพิษได้ หากไม่ทำความสะอาดตัวถังปีละครั้ง
ในการทำความสะอาดถังน้ำมันเชื้อเพลิงให้ระบายก๊าซที่ค้างอยู่ออกจากนั้นจึงดูดฝุ่นถังด้านในแบบเปียก แห้ง อาจจะต้องเปลี่ยนแผ่นกรองเพื่อทำความสะอาดสิ่งที่ตกค้าง

ปั๊มลม

8. ตรวจสอบระบบปิดเครื่อง

หลายครั้งที่เครื่องอัดอากาศจำเป็นต้องปิดตัวเองลงเพื่อปกป้องตัวเครื่องเสียหาย ตัวอย่างทั่วไปคือเมื่อเครื่องร้อนเกินไปที่จะทำงานได้ หากถูกใช้งานต่อเครื่องอาจร้อนเกินไปชิ้นส่วนต่างๆภายในอาจเสียหาย สำหรับการป้องกันในปั๊มลมในปัจจุบันส่วนใหญ่มีกลไกการปิดเพื่อความปลอดภัย กลไกนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อเปิดใช้งานเมื่อเครื่องร้อนเกินไปหรือเครื่องทำงานผิดปกติ ตรวจสอบคู่มือผู้ใช้ของคุณเพื่อดูคำแนะนำในการตรวจสอบระบบความปลอดภัยและตรวจสอบว่าระบบทำงานได้ปกติหรือไม่

9. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ปั๊มลม

ไม่ใช่ทุกปั๊มลมเครื่องที่ใช้น้ำมัน แต่หากเครื่องใดอาศัยน้ำมันเครื่องในการทำงานต้องเปลี่ยนน้ำมันเช่นเดียวกับรถยนต์ ตัวน้ำมันจะเข้าไปเพิ่มและเติมเต็มประสิทธิภาพของการปั๊มลมเพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์เคลื่อนที่ได้อย่างราบรื่น ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ชื้นน้ำมันอาจสูญเสียความหนืด ทำให้ไม่สามารถให้การหล่อลื่นที่เหมาะสมกับส่วนประกอบภายในต่างๆของปั๊มลมได้ ซึ้งการขาดการหล่อลื่นนี้อาจส่งผลให้เกิดการเสียดสีของโลหะและความติดขัดตามชิ้นส่วนโลหะที่เคลื่อนที่ซึ่งอาจเกิดการสึกหรอและทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

ปั๊มลม

ให้ทำการตรวจเช็คน้ำมันเครื่องโดยสังเกตจากตาแมวหรือสีของน้ำมันเครื่องเป็นประจำหรือหลังจากนั้นประมาณ 500 ชั่วโมงแล้วแต่ว่ากรณีใดจะเกิดขึ้นก่อนให้เปลี่ยนน้ำมันออก หากคุณทิ้งเครื่องไว้เฉยๆเป็นเวลาหลายเดือนให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ น้ำมันต้องมีความหนืดที่เหมาะสมและปราศจากสิ่งเจือปนเพื่อให้ไหลเวียนได้อย่างเหมาะสม

ประโยชน์ของการบำรุงรักษา คอมเพรสเซอร์ ของคุณ

การบำรุงรักษาที่ดีจะมาพร้อมกับประโยชน์มากมาย เมื่อได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องปั๊มลมจะทำงานได้ตามที่ตั้งใจไว้และโดยปัญหาด้านประสิทธิภาพในการทำงานจะน้อย โดยควรจดจำขั้นตอนในคู่มือการบำรุงรักษาและปฏิบัติตามตารางเวลาที่กำหนด

การประหยัดเงิน : การบำรุงรักษาสามารถช่วยให้ประหยัดเงินได้มาก เพราะในขณะที่ปั๊มลมที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาจะมีปัญหาด้านประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือเสียหาย จนนำไปสู่การซ่อมแซมที่มีราคาแพงโดย ทั่วไปแล้วปั๊มลมที่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างเหมาะสมจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานทำงานได้ตามที่ตั้งใจไว้ ส่งผลให้ผู้ใช้ประหยัดเงินที่ต้องเสียจากการซ่อมแซมหากไม่ได้การบำรุงรักษา

ประสิทธิภาพสูงสุด : ตลอดสายการผลิต ในทางธุรกิจการบำรุงรักษาช่วยให้มั่นใจได้ว่าผลผลิตจะดำเนินต่อไปตามจังหวะที่กำหนด นี่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทที่ผลิตผลิตภัณฑ์ตามตารางเวลาที่เข้มงวด เมื่อปั๊มลมทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพโดยไม่ขัดข้องจะส่งผลให้เครื่องมือทั้งหมดที่อยู่ในสายการทำงานสามารถทำงานด้วยความเร็วสูงสุดและรักษาประสิทธิภาพการทำงานไว้ได้

ผลผลิต : เมื่อมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพแล้วก็จะทำให้ช่วยให้คนงานสามารถทำงานได้ด้วยความเร็วตามความเป็นไปได้ ส่งผลให้ได้ปริมาณงานและประสิทธิภาพของงานที่สูง

 คุณภาพของลม : คุณภาพของลมที่มาจากเครื่องที่สามารถผลิตได้และกำลังลมที่ถูกส่งต่อไปยังเครื่องมือลม

อายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น : ประโยชน์หลักของตารางการบำรุงรักษาคือลดความจำเป็นในการเปลี่ยนชิ้นส่วนและซ่อมแซมระบบ โดยการศึกษาปฏิบัติตามคู่มือการบำรุงรักษาใช้งานปั๊มลมและเครื่องมือลมจะสามารถยืนอายุการใช้งานของปั๊มลมได้ยาวนานขึ้น

การบำรุงรักษาปั๊มลมไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดและความซับซ้อนของยี่ห้อหรือรุ่น การตรวจสอบเช็คเบื้องต้นด้วยตัวเองถือเป็นการบำรุงรักษาขั้นต้นซึ่งอาจจะทำให้เราทราบอาการผิดปกติของตัวเครื่องและแก้ไขได้ทัน แนะนำให้ศึกษาเบื้องต้นผ่านคู่มือการการใช้งานเพราะสาเหตุบางประการสามารถแก้ไขได้บางอาการอาจจะยากหากจะซ่อมแซมด้วยตัวเองอาจจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ

สามารถเลือกชม ปั๊มลม เพิ่มเติมได้ที่นี่

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by Simon Harper

THE TECHNOLOGY IS ONE

เหล็กสกัด

เหล็กสกัด มีกี่ประเภท และวิธีใช้งานที่ถูกวิธี

ปืนบัดกรี

7 เครื่องมือช่าง สำหรับช่างไฟ และใช้ในงานระบบไฟฟ้า