in

11 เครื่องมือวัด สำหรับงานช่างที่ขาดไม่ได้

เครื่องมือวัด

ในปัจจุบันนี้เอง เครื่องมือวัด ถือว่าเป็น เครื่องมือช่าง พื้นฐานของงานช่างทั่วไปเลยก็ว่าได้ เพื่อใช้งานในการ ออกแบบ การสร้าง พัฒนา ชิ้นงานของคุณนั่นเอง ในปัจจุบันเครื่องมือวัดมีอยู่มากมายหลากหลาย แต่ละประเภทก็จะเหมาะกับงานที่แตกต่างกันไป 

หากคุณจำเป็นต้องมีการวัด เพื่อให้ค่าได้ถูกต้องและแม่นยำ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเท่าไหร่ จุดนี้มีความยาวเท่าไหร่ ความเข้มข้นมีค่าเท่าไหร่ มีแรงกำลังเกินไปหรือไม่ เป็นต้น ในบทความนี้เราได้รวบรวมเครื่องวัดที่คุณต้องมี เพื่อให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม้บรรทัด

ไม้บรรทัด

เครื่องมือพื้นฐานชนิดนี้ มีที่รู้จักมากมาย พูดง่ายๆก็คือไม้บรรทัดเป็นเครื่องมือวัดชิ้นแรกของเราเลยก็ว่าได้ เพราะเรามักจะใช้ในการ ขีดเส้นใต้ คั่นหน้านั่นเอง ไม้บรรทัดจะมีรูปทรง หลากหลายขนาดที่แตกต่างกันไปเพื่อที่จะรองรับการใช้งาน โดยสเกลที่ใช้วัดจะมีหน่วยวัดมาตรฐานสากลนิยมใช้ 2 แบบคือ นิ้ว และเซนติเมตรนั่นเอง ไม้บรรทัดที่นิยมขายในท้องตลาดมีขนาดไหนบ้าง? 

  • 15 เซนติเมตร 6 นิ้ว
  • 20 เซนติเมตร 8 นิ้ว 
  • 30 เซนติเมตร 12 นิ้ว
  • 60 เซนติเมตร 24 นิ้ว 
  • 100 เซนติเมตร 36/40 นิ้ว

วัสดุของ ไม้บรรทัด 

ไม้บรรทัดผลิตจากไม้ – เป็นตะกูลของไม้บรรทัดที่มีมานาน ส่วนมากจะนิยมใช้งานการวัดแบบคร่าวๆ ไม้บรรทัดชนิดนี้นิยมผลิตความยาวที่ 1 เมตรเท่านั้น จึงมักจะเรียกว่าไม้เมตร ใช้วัดพวกสายไฟ ผ้า สายยาง เป็นต้น ไม้บรรทัดชนิดนี้จะไม่เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียด แม่นยำสูงนั่นเอง 

ไม้บรรทัดผลิตจากพลาสติกธรรมดา – จะเหมาะกับงานแบบเบาๆ โดยทั่วไปใช้ในการเรียนการสอน อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ โดยไม้บรรทัดชนิดนี้มีความยืดหยุ่นน้อย แตกง่าย ตัวเลขขีดสเกลมักจะจางหายไปตามการเวลา ไม่เหมาะกับการใช้งานหนักๆ 

ไม้บรรทัดผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์ – ไม้บรรทัดชนิดนี้จะมีข้อดีกว่าพลาสติกธรรมดาคือ มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้งอและคืนรูปได้ จึงมีความทนทานมากว่า ตัวเลขขีดสเกลมักจะจางหายตามปกติ และก็ไม่เหมาะกับการใช้งานหนักๆ 

ไม้บรรทัดที่ผลิตจากเหล็ก – ทำจากแผ่นเหล็กซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ขอบไม่บรรทัดจะเรียบแต่ไม่คม  ตัวเลขขีดสเกลไม่เลือนลาหายไปง่าย ไม้บรรทัดเหล่านี้ใช้งานได้แบบสมบุกสมบัน เราจะลองยกตัวอย่างเช่น วัดระยะเพื่อใช้ในการตัดเหล็ก ที่สามารถใช้เหล็กขีดตามขอบของไม้บรรทัดได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าขอบจะบิ่น ไม้บรรทัดชนิดนี้จะมีข้อเสียก็คือ มีน้ำหนักมาก และถ้าไม่รักษาอาจทำให้เกิดสนิมได้นั่นเอง 

ไม้บรรทัดที่ผลิตจากอลูมิเนียม – ไม่บรรทัดชนิดนี้อาจจะทนทานก็จริง แต่ก็ไม่เท่ากับไม้บรรทัดพวกเหล็กและสแตนเลส ไม้บรรทัดชนิดนี้จะนิยมใช้ในการตัด พวกแผ่นพลาสติกมักจะใช้คู่กับคัตเตอร์ น้ำหนักเบา และไม่เหมาะกับการใช้งานหนัก 

ไม้บรรทัดที่ผลิตจากสแตนเลส – ไม้บรรทัดชนิดนี้มีคุณสมบัติทุกอย่างที่เหล็กมี ข้อดีไม่เป็นสนิม คุณควรระวังไม้บรรทัดเหล็กย้อมแมว หรือ เหล็กชุบสแตนเลส ซึ่งทำให้เห็นข้อแตกต่างได้ยากมากให้สังเกตที่ยี่ห้อ

ไม้ฉาก

ไม้ฉาก

ไม้ฉาก เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้เฉพาะในการสร้างมุมฉาก เพื่อให้ได้เส้นหรือรอยตัดที่สมบูรณ์แบบ มุมไม่เอียง เพื่อให้งานตัดที่ได้ฉาก ลักษณะของไม้ฉากจะเป็นรูปตัว L ซึ่งจะมีคุณสมบัติเหมือนกันไม้บรรทัด แต่จะมีมุมฉากที่โดดเด่นมากกว่า ในปัจจุบันไม้ฉากจะมีให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบ ก็คือ ฉากตาย และ ฉากผสมนั่นเอง 

  • ฉากตาย ไม้ฉากมีลักษณะตายตัว ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยวิธีใช้งานฉากประเภทนี้ วางปลายด้านหนึ่งของฉากลงบนวัตถุที่จะวัด เพื่อค้นหาตำแหน่งของมุมจากนั้นให้คุณทำเครื่องหมายไว้ วางฉากไว้บนวัตถุโดยให้ด้านหนาวางแนบกับขอบของไม้ เอียงไปมาเพื่อให้ด้ามจับแนบกับงาน แล้วเลื่อนฉากไปบนไม้ จนกว่าด้านที่บางจะพบกับเครื่องหมายที่เราทำไว้นั่นเอง 
  • ฉากผสม เป็นเครื่องมือวัดฉากอีกประเภท ที่รวมอุปกรณ์หลายอย่างเข้าไว้ในชุดเดียว หรือพูดง่ายๆก็คือ มีอุปกรณ์ทำมุมมในองศาอื่นๆ ติดอยู่ที่ใบฉากและเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก เพื่อใช้ปรโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยฉากผสมในปัจจุบันจะนิยมผลิตจากวัสดุอย่างสแตนเลส ประกอบด้วย ใบบรรทัด หัวมุมวัดฉาก หัวปรับแบ่งมุม หัวศูนย์กลาง 

ตลับเมตร

ตลับเมตร

เป็นเครื่องมือวัดที่ต้องมีทุกบ้านเลยก็ว่าได้ ตลับเมตรช่วยอำนวยความสะดวกในการวัดระยะที่ไกลเกินกว่า ไม้บรรทัดธรรมดาปกติ เช่น 5 – 10 เมตรหากต้องการวัดระยะที่ยาวมากๆ จะนิยมใช้สายวัดแทน  โดยทั่วไปแล้วตลับเมตรจะมีความยาวเริ่มต้น 2-10 เมตร การใช้งานโดยทั่วไปของตลับเมตรใช้วัดพวก ขอบประตู วงกับ งานไม้ต่างๆเป็นต้น  ตลับเมตรเป็นเครื่องมือวัดที่ใช้งานง่าย เพียงแค่เราใช้ขอเกี่ยวของตลับเมตรเข้ากับงานที่คุณต้องการวัดนั่นเอง ส่วนวัสดุที่ใช้ผลิตตลับเมตร ก้จะมีแตกต่างกันไปตามต้นทุนในการผลิต 

ตลับเมตรราคาถูกอาจไม่มีเคลือบไนลอน หรือฟิล์มโพลีเอสเตอร์ไมลาร์ บนสายวัด จะทำให้ตัวเลขสเกลต่างๆที่อยุ่ในสายวัดเลือนง่ายนั่นเอง อีกอย่างที่มักจะเสียง่ายคือ การเบรก ไม่ว่าจะเป็น ABS แค่ไหนก็มักจะพังคามือมานักต่อนักแล้ว โดยเฉพาะการที่ใช้งานมักง่ายนั่นเอง

เวอร์เนียร์คาลิเปอร์

เวอร์เนียร์คาลิเปอร์

เป็นเครื่องมือวัดที่มีความละเอียด แม่นยำในระดับหนึ่ง ในความต้องการระยะความยาว ลึก ภายนอก และภายในวัตถุ เพื่อให้ได้วัตถุตามที่คุณต้องการ และในปัจจุบันเวอร์เนียร์คาลิเปอร์จะมีการใช้งานอยู่ 2 ประเภทคือ เวอร์เนียร์คาลิเปอร์อะนาล็อก และเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิตอล 

  • เวอร์เนียร์คาลิเปอร์อะนาล็อก – ไม่ต้องใช้พลังงานอะไร ในการใช้งาน และมีราคาถูกกว่าเวอร์เนียร์คาลิเปอร์แบบดิจิตอล จึงทำให้อนาล็อกเป็นที่นิยมมากกว่า โดยเฉพาะช่างโลหะที่ต้องการความละเอียดในงาน แต่ด้วยตัวของเวอร์เนียร์คาลิเปอร์อะนาล็อกมีหลักการในการใช้งานค่อนข้างละเอียด ผู้ใช้งานต้องมีทักษะในการใช้งานอยู่พอสมควร ในคุณสมบัติในการวัดนั้น เวอร์เนียร์คาลิเปอร์จะแสดงหน่วยวัดที่ มิลลิเมตร และนิ้ว ซึ่งขีดของสเกลจะมีความละเอียดและแม่นยำสูง

โดยทั่วไปเวอร์เนียร์คาลิเปอร์จะผลิตจากวัสดุ เช่น สแตนเลสเนื้อดี ซึ่งแทบจะไม่มีปัญหาในเรื่องการเกิดสนิม หากคุณรู้จักการบำรุงรักษาเครื่องมือเหล่านี้ในการที่ใช้งานเสร็จแล้ว

  • เวอร์เนียร์คาลิเปอร์แบบดิจิตอล – สําหรับเวอร์เนียร์คาลิเปอร์แบบดิจิตอล จะมีหลักการทํางานเหมือนกันกับ แบบอะนาล็อก แต่จะแตกต่างกันตรงที่การอ่านค่าของสเกลเวอร์เนียร์ โดยที่แบบ ดิจิตอลจะมีจอแสดงผลการอ่านค่าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเราสามารถเลือกโหมดการ ใช้งานให้แสดงหน่วยวัดตามที่เราต้องการได้ เช่น นิ้วหรือมิลลิเมตร เป็นต้น แต่ ข้อควรระวังของเครื่องมือแบบดิจิตอลดังกล่าว จะต้องใช้งานอย่างนิ่มนวล เพื่อ ระบบคํานวณระยะสามารถอ่านค่าได้อย่างแม่นยํา

ฟิลเลอร์เกจ์

ฟิลเลอร์เกจ์

ฟิลเลอร์เกจ์ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความหนาของสิ่งประดิษฐและเครื่องมือกลต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ช่องว่างขอเขี้ยวหัวเทียน การตั้งระยะช่องว่างวาล์ว เป็นต้น โดยที่เครื่องมือชนิดนี้จะสามารถวัดความละเอียดได้ถึง 0.01 มิลลิเมตร ซึ่งแน่นอนว่า เครื่องมือชนิดนี้มีความละเอียดในการวัดมาก 

ในปัจจุบันฟิลเลอร์เกจ์ ที่จำหน่ายในท้องตลาดตั้งแต่ 12-30 ใบโดยเครื่องมือชนิดนี้จะผลิตด้วยสแตนเลสเนื้อดี หรือเหล็กผสมอัลลอยที่ช่วยให้มีน้ำหนักเบา เวลาคลี่ออกมาลักษณะจะคล้ายใบพัด จึงสะดวกต่อการใช้งานวัดความหนาของช่องว่างต่างๆได้เป็นอย่างดี ฟิลเลอร์เกจ์ใน 1 ชุดจะประกอบด้วย 

  • ใบแม่เหล็กที่เหมาะสมสำหรับการวัดระยะช่องว่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องยนต์ ยกตัวอย่างเช่น การวัดและปรับช่องว่างระหว่างชิ้นส่วน ระยะห่างวาล์ว ระยะเขี้ยวหัวเทียน และจานจ่ายเป็นต้น
  • ใบทองเหลืองที่เหมาะกับการวัดระยะช่องว่างที่เกี่ยวข้องกับระบบจุดระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องยนต์ 
  • บรรทัดเหล็กความยาวประมาน 5 เซนติเมตร 
  • หัวหมุนแกนล็อกใบฟิลเลอร์เกจ์

เครื่องวัดระดับน้ำ

เครื่องวัดระดับน้ำ

เครื่องวัดชนิดนี้ มักถูกนำมาใช้งานหลากหลายวัตถุประสงค์ เช่น การก่อสร้างถนน อาคาร ตั้งเสา เป็นต้น อีกทั้งยังใช้ในการสอบเทียบงานที่ต้องใช้ความถูกต้องและแม่นยำสูง แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับเครื่องมือวัดชนิดนี้ โดยเฉพาะที่มีหลักการทำงานที่ไม่ซับซ้อน เครื่องวัดระดับน้ำนี้ เหมาะกับการใช้สำหรับการวัดระดับความเอียงของระนาบ ส่วนตัวระดับน้ำที่เราคุ้นเคยจะเป็นแบบที่มีของเหลวในหลอดแก้ว 

ในปัจจุบันได้มีการผลิตระดับน้ำแบบอ่านค่าเป็นตัวเลข หรือเครื่องวัดระดับแบบดิจิตอล เพื่อให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถใช้งานในการวัดที่กว้างกว่า มีความถูกต้องและเที่ยงตรงสูงกว่า และนอกจากนี้ยังได้มีการผลิตเครื่องวัดระดับเลเซอร์อีกด้วย แต่ถึงอย่างไรเครื่องวัดระดับน้ำ ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ เนื่องจากใช้งานง่ายและราคาถูกนั่นเอง

ส่วนในเรื่องของวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต ที่นิยมก็คืออลูมิเนียม เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบา หยิบจับสะดวก พื้นผิวเรียบที่สามารถวางระนาบได้ในทุกพื้นที่  ซึ่งเครื่องวัดระดับน้ำอันเดียว อาจจะมีหลอดแก้วที่ใช้ในการอ่านค่า 2-3 การวัดระดับ ยกตัวอย่างเช่นการวัดแนวดิ่ง แนวระนาบ แนวนอน แนวโค้ง เป็นต้น เพื่อที่จะได้มุมหรือการลาดเอียงที่สมบูรณ์แบบนั่นเอง แต่เราต้องพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องมือประเภทนี้ เพราะมีหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรูปแบบดังนั้นเราจะมาแนะนำเครื่องวัดระดับน้ำแบบคร่าวๆกัน

  • ระดับน้ำอลูมิเนียม
  • ระดับน้ำอลูมิเนียมแบบระดับน้ำคู่
  • ระดับน้ำอลูมิเนียมฐานแม่เหล็ก มีฝาปิดหัวท้าย
  • ระดับน้ำอลูมิเนียมมีสเกลนิ้ว – มิลลิเมตร
  • ระดับน้ำอลูมิเนียมฐานแม่เหล็ก
  • ระดับน้ำอลูมิเนียมฐานเรียบ -สามเหลี่ยม
  • ระดับน้ำพลาสติก 
  • ระดับน้ำพลาสติก ฐานแม่เหล็ก
  • เหล็กวัดระดับ
  • ระดับน้ำรูปตัว I แบบอ่านจากด้านบน
  • ระดับน้ำแบบตอร์ปิโด
  • ระดับน้ำ ABS
  • เครื่องวัดระดับแบบเลเซอร์
  • ระดับน้ำแบบกล่อง Fat Max ไม่มีแม่เหล็ก
  • ระดับน้ำแบบกล่อง Fat Max มีแม่เหล็ก
  • ระดับน้ำ I-Beam Pro 180 องศา
  • ระดับน้ำแบบมีแม่เหล็ก/ไม่มีแม่เหล็ก Pro Level
  • ระดับน้ำแบบกล่อง 

กล้องสำรวจ

กล้องสำรวจ

กล้องสำรวจ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการสำรวจพื้นที่ เพื่องานทำแผนที่ งานก่อสร้างต่างๆ โดยกำหนดสถานที่ตั้ง และรวบรวมลักษณะภูมิประเทศ แน่นอนว่ากล้องสำรวจสามารถทราบระยะทางได้รวดเร็วกว่าด้วยการวัดด้วยเทป ตามแนวเล็งของกล้องจะอยู่ในแนวราบ นอกจากนี้ยังสามารถวัดระดับและมุมได้พร้อมกันอีกด้วย โดยปัจจุบันกล้องสำรวจ ที่ได้มาตรฐานจะให้ความละเอียดได้พอสมควร 

โดยปัจจุบันกล้องสำรวจที่ได้มาตรฐานจะใหเความละเอียดพอสมควร และถูกต้อง กล้องสำรวจที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ 

  • กล้องวัดระดับ เป็นเครื่องมือที่ใช้กับงานหาระดับความสูงต่ําของจุดต่างๆว่าจะมีความสูงและต่ําแตกต่างกันเท่าไร ซึ่งมีอยู่หลายรุ่น บางรุ่นจะ จานองศาติดอยู่ด้วย จึงสามารถนํามาใช้รังวัดมุมราบ วางแนว และหาค่า ระยะทางโดยประมาณได้ แต่กล้องวัดระดับจะไม่นิยมใช้กันเนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนมากใน การอ่านมุม จึงนิยมใช้กล้องระดับสํารวจหาค่าความสูงของจุดที่ต้องการเท่านั้น กล้องระดับจะกําหนดให้ค่าระดับความสูงในการก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบ ที่กําหนดไว้ในแบบก่อสร้างต่างๆ เช่น การทําหมุดหลักฐานการระดับ การหาเส้นความสุง หาค่าระดับยาว และตามขวาง
  • กล้องวัดมุม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการรังวัดมุมราบ มุมดิ่ง และสามารถใช้ ในการรังวัดระยะทางราบ หาระยะทางดิ่ง หรือความสูงของวัตถุ นอกจากนั้น คุณยังสามารถใช้ในการวางแนว หาค่าระดับต่างๆ ในการก่อสร้างได้อีกด้วย การใช้งานกล้องวัดมุมจึงมีมากกว่ากล้องระดับ โดยมีองศาที่รังวัดได้ทั้งมุมราบ และมุมดิ่ง เมื่อติดตั้งเข็มทิศประกอบสามารถรังวัดค่ามุมทิศ กล้องวัดมุมนี้จะมีหลายชนิด หลายรุ่น มีความละเอียดหลายระดับ มีราคาสูง ดังนั้นหากเราต้องการกล้องเหล่านี้ไปใช้งาน คุณจําเป็นต้องมีความระมัดระวัง เลือกใช้ให้เหมาะกับงานของคุณนั่นเอง

เทอร์โมมิเตอร์

เทอร์โมมิเตอร์

เป็นเครื่องมือในการวัดอุณหภูมิจาก จุดเยือกแข็งจนถึงจุดเดือด เช่น ต่ํากว่า (0-100 องศาเซลเซียส โดยตัวเทอร์โมมิเตอร์จะใช้แก้วซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง ส่วนภายในจะมีสเกลค่าของอุณหภูมิที่ เป็นหน่วยวัดที่เป็นองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์ันั่นเอง สําหรับตัวทําปฏิกิริยากับอุณหภูมินั้น ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็คือสารปรอทผสมสีแดง ซึ่งจะอ่านค่าได้เด่นชัดบนพื้นสีขาว ที่สามารถขยายและหดตัวตามระดับอุณหภูมิที่เกิดขึ้นได้ เคลือบด้วยโลหะ ที่ไวต่ออุณหภูมิ ดังนั้นเมื่อกระเปาะดังกล่าวได้สัมผัสกับ อุณหภูมิแล้ว จะทําให้ของเหลวที่เป็นปรอทภายในขยายตัวพุ่งขึ้นไปตามหลอด แก้ว และหยุดนิ่งตามระดับอุณหภูมิในขณะนั้น

นอกจากนี้เทอร์โมมิเตอร์แบบใช้แอลกอฮอล์ ก็มีการผลิตออกจําหน่าย อย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งส่วนมากมักจะใช้กับวิทยาการทางการแพทย์ เนื่องจากแอลกอฮอล์มีความไวต่อความร้อนที่ได้ผล และรวดเร็วกว่า หากเทียบกับสารปรอท แต่เทอร์โมมิเตอร์ประเภทนี้ไม่เหมาะสมกับการวัดอุณภมิที่มีความร้อนมากๆ อีกทั้งแอลกอฮอล์ยังสามารถระเหยแห้งได้อย่างรวดเร็ว และยังมีสารเหลวอย่างอื่นๆ อีกหลายชนิดที่นํามาผลิตเป็นเทอร์โมมิเตอร์อีกด้วย ซึ่งสารเหลวนั้นสามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ มากกว่า 400 องศาเซลเซียส

ไฮโดรมิเตอร์ 

ไฮโดรมิเตอร์

เครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช้กันอย่าง แพร่หลายในวงการน้ํามัน หรือของเหลวที่ได้จากกระบวนการปิโตรเลียม ซึ่ง เครื่องมือวัดอย่างไฮโดรมิเตอร์นี้ จะใช้วัดความหนาแน่นของของเหลว โดยอาศัย การถ่วง และการลอยตัวของวัตถุ หรือที่เรียกกันในศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ว่า “ค่า ความถ่วงจําเพาะ” นั่นเอง โดยส่วนมากไฮโดรมิเตอร์จะผลิตจากแก้วทั้งแท่ง ซึ่งด้านบนของเครื่องมือ จะเรียกว่า ส่วนก้านมีลักษณะเป็นหลอดยาวแคบๆ เป็นส่วนที่ใช้จับเมื่อจะ จุ่มไฮโดรมิเตอร์ลงไปในสารละลายที่จะวัด และบนก้าน จะแสดงช่องสเกล เพื่อบอกความหนาแน่นของของเหลว ที่ทําการสุ่มตรวจสอบ ส่วนด้านล่างเป็นกระเปาะ และ ในส่วนปลายของกระเปาะจะถ่วงด้วยตะกั่ว เพื่อให้ได้ตัวเลข ระดับความลึกที่จมและอาจแปรผันไปตามความหนาแน่นของของเหลวนั่นเอง

มัลติมิเตอร์ 

มัลติมิเตอร์

เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้า และความต้านทานต่างๆ ของอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้หลายรูปแบบ แต่วัดได้ที่ละปริมาณ โดยเราสามารถตั้งย่านวัดในการใช้งานที่ เหมาะสมได้ เช่น โวลต์มิเตอร์หรือ ACV แอมป์มิเตอร์หรือ DCV และโอห์มมิเตอร์ และนอกจากนี้เรายังสามารถเลือกวัดแรงดันไฟฟ้าในกระแสตรง DC หรือ กระแสสลับ AC ได้อีกด้วย อีกทั้งมัลติมิเตอร์ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ในความสามารถวัดค่าทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ค่าความจุ ค่าความถี่ เป็นต้น ในปัจจุบันการแสดงผลของมัลติมิเตอร์จะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

  • มัลติมิเตอร์แบบอะนาล็อก หรือแบบเข็ม ในการใช้งานมัลติมิเตอร์แบบอะนาล็อกนั้น สําคัญที่การอ่านเข็มที่ย่านวัด และการปรับโหมดที่ใช้งานให้ถูกต้องกับสิ่งที่คุณกําลังจะวัด เช่น ถ้าเราจะวัด ในโหมดของการหาค่ากระแส หรือแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ เราจะต้องปรับโหมดการทำงานไปที่ช่วงการวัดความต่างศักย์ หรือแีงดันไฟฟ้ากระแสสลับหรือ ACV เป็นต้น ดังนั้นหากเราวัดกระแสไฟฟ้าสลับในโหมดของช่วงการวัดความต้านทานไฟฟ้าหรือโอห์ม ก็สร้างความสร้างหายให้มัลติมิเตอร์ได้ในทันทีที่เราแตะกับปลั๊กไฟ 
  • มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล หรือแบบแสดงผลเป็นตัวเลขนี้ มีความง่ายต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่จําเป็นต้องอ่านค่าบนขีดสเกลเหมือนมัลติมิเตอร์แบบอะนาล็อก แต่ถ้าหากคุณใช้งานผิดประเภท การวัดค่ากระแสหรือแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม และถูกต้องตามโหมดช่วงการวัดที่เลือก อาจสร้างความเสียหายให้เครื่องของคุณในทันที ยกตัวอย่างเช่น ต้องการวัดค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ที่มีปริมาณ 220V. แต่ปรับโหมดช่วงการวัดไปที่แอมป์มิเตอร์ เช่นนี้ อาจสร้างความเสียหายให้ มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลทันที ซึ่งแตกต่างกับมัลติมิเตอร์แบบอะนาล็อก ที่ทนทาน ต่อความผิดพลาดได้มากกว่า และจะมีระยะเวลาในการแก้ไขยาวกว่าอีกด้วย

ไขควงวัดไฟ

ไขควงวัดไฟ

แม้จะเป็นเครื่องมือวัดที่ไม่มี ความละเอียดอ่อนมาก แต่ก็ถือว่ามีประโยชน์สําหรับช่างไฟฟ้า หรือเราๆเองที่มักจะเกิดความไม่แน่ใจว่า “มันมีไฟรีเปล่า” เพราะแน่นอน การที่เราจะทราบได้ อย่างแน่ชัดว่าสายไฟนี้หรือโลหะต่างๆ ที่เป็นตัวนําไฟฟ้าได้ เช่น เหล็ก ทองเหลือง หรือทองแดง และแม้แต่ตู้เย็นที่เราใช้มือเปล่าสัมผัสเปิดอยู่ทุกวัน มีไฟวิ่งไฟรั่วอยู่หรือไม่ และที่สําคัญคงไม่มีใครกล้าเอามือจับเพื่อทดสอบจริงไหม 

ไขควงวัดไฟมีหลักการทํางานง่ายๆ ก็คือ เปิดทางให้ไฟวิ่งผ่านไขควง ธรรมดาๆ มีด้ามจับที่หุ้มด้วยฉนวนกันไฟอย่างดี โดยกระแสไฟฟ้าจะวิ่งผ่านหลอด แก้วที่บรรจุแผ่นทังสเตนหรือหลอดนีออนขนาดจิ๋ว กระแสไฟฟ้าจะเผาแผ่น ทังสเตนนั้นจนเรืองแสง หรือในไขควงเช็คไฟบางรุ่นจะใช้หลอด LED หรือไดโอดเปล่งแสงออกมา เพื่อให้เราสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จากนั้นจะมีตัวต้านทานหรือ Resistor ที่มีคุณสมบัติต้านทานแรงดันไฟฟ้า ส่งผลให้แรงดันไฟฟ้าจาก 220 V ลดลงจนไม่ อาจทําอันตรายต่อเราได้ และวิ่งผ่านตัวเราลงสู่พื้นดินอย่างครบวงจร

วัตถุ สิ่งของ ทุกอย่าง จำเป็นต้องมีการวัด เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง และแม่นยำ

เช็คราคา เครื่องมือวัด ทุกแบบได้ที่นี่

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by TiTlECNx

อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..จะหยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

วิธีเลือก ดอกสว่านโรตารี่ ของ BOSCH ให้มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับการใช้งาน!

ดอกไขควง

ข้อดีและข้อเสีย ของสกูร และประเภทของดอกไขควง