ที่พักอาศัยยุคนี้จะเต็มไปด้วยสายระโยงระยาง ของสายไฟ สายโทรศัพท์ สายเคเบิลทีวี สายเครื่อง สนทนาภายในอาคาร และสายสําหรับเชื่อมต่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ สายเหล่านี้จะมีสื่อตัวนำอยู่ข้างในและ หุ้มห่อด้วยฉนวนพลาสติก ด้วยการใช้งานหลากหลาย เราจึงควรเลือกใช้ เครื่องมือช่าง อย่าง ถูกต้อง และเราจะมาแนะนำ 7 เครื่องมือที่ใช้ในงานไฟฟ้า เป็นประจำ
20 เครื่องมือช่างพื้นฐาน ที่คุณต้องมีติดบ้านไว้
คีมตัดสายไฟ Electrical Pliers
เป็นเครื่องมือที่ทำจากเหล็กซึ่งมีด้ามจับสีสันสดใส มี ปากคีมสั้นๆ และข้อต่อยึดที่แน่นหนา เมื่อกางด้ามจับออก ปากคีมจะทำมุมฉากต่อกัน และจะเห็นส่วนฟันเล็กๆ ที่ปลาย โดยมีส่วนสำหรับการตัดที่เรียบคม ซึ่งอยู่ ระหว่างส่วนปลายและข้อต่อซึ่งก็จะอ้าออกด้วย จะมีส่วนฟันโลหะเล็กๆ ที่ขบ ประสานกันได้พอดี คีมงานไฟฟ้าของช่างซ่อมสายไฟบางประเภทจะมีส่วนที่เป็นร่อง 2 ร่องเหนือด้ามจับ คีมงานไฟฟ้าใช้ทำงานกับสายไฟฟ้าภายในบ้าน ส่วนที่เรียบคมของดื่มใช้ตัดสายไฟ ส่วนจอยโลหะใช้สำหรับกดบีบส่วนปลายของสายไฟ เมื่อคุณบีบคีมส่วนที่เรียบคมจะขบเข้าหากัน แต่ยังมีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างส่วนที่เป็น เหลี่ยมและฟันเล็กๆ อยู่ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณคืบยึดสายไฟเอาไว้ตามที่ต้องการ โดยไม่ บีบหรือทำให้สายไฟแบน
ความแตกต่าง : คีมปากจิ้งจกมีลักษณะเหมือนกับคีมของช่างไฟฟ้า ยกเว้น ปากคีมที่ยาวและบางกว่าสำหรับเข้าถึงส่วนที่แคบๆ ในกล่องไฟ และยังสามารถใช้ ทำห่วงที่ปลายสายไฟได้ ส่วนคีมฮ็อบบี้ (Hobby Pliers) หรือคีมสำหรับงานอดิเรก ก็เหมือนคีมตัดสายไฟ ยกเว้นแต่ปากคีมที่เรียบตลอดอัน ใช้กับงานละเอียด เช่น ลวด สำหรับทำก้านดอกไม้ประดิษฐ์
ใช้งาน คีมตัดสายไฟ
1. จับคีมตัดสายไฟด้วยมือข้างที่ถนัด โดยให้ด้ามข้างหนึ่งกระชับในฝ่ามือบริเวณใกล้กับฐานหัวแม่มือ และด้ามอีกข้างอยู่ที่นิ้วมือแรกทั้งสามวางนิ้วก้อยไว้ระหว่างด้ามจับทั้งสอง
2. สำหรับการตัดสายไฟ ให้สอดสายไฟไว้ระหว่างปากคีมทั้งสอง โดยให้ใกล้กับระยะขบของดื่มให้มากที่สุด จากนั้นบีบด้ามจับทั้งสองเข้าด้วยกัน
3. สำหรับการขึงสายไฟผ่านตะปูหรือท่อ ให้ใช้ส่วนปลายของคีมจับและบิดสายไฟให้โค้งงอ จากนั้นให้ดึงในทิศทางตรงกันข้ามกับส่วนที่งอ
4. สำหรับการบิดส่วนปลายของสายไฟเข้าด้วยกัน ให้ถือสายไฟไว้คู่กันและจับไว้หลวมๆ ด้วยส่วนปากของคีม จากนั้นให้ใช้คีมบิดสายไฟไปรอบๆ โดยให้สายไฟอยู่ในระหว่างฟัน ทำต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ผลตามที่ต้องการ
มัลติมิเตอร์ Outlet Tester
มัลติมิเตอร์ คืออุปกรณ์พลาสติกขนาดเท่านิ้วมือ ที่มีสายไฟสั้นๆ สีแดง และสีดำ ส่วนปลายเป็นขาโลหะสองข้าง มีช่องพลาสติกเล็กๆ ที่มีหลอดไฟขนาด เล็กอยู่ภายใน
มัลติมิเตอร์ใช้เมื่อ : สามารถรู้ได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหรือไม่อย่าง ปลอดภัย ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีที่คนนิยมทำคือ การพิสูจน์ด้วยนิ้วมือ ซึ่งไม่ใช่อุปกรณ์ ที่เหมาะสม ช่างไฟฟ้าเรียกอุปกรณ์นี้ว่า “อุปกรณ์ตรวจสอบความต่อเนื่อง” มันสามารถบอกได้ว่ามีกระแสไฟที่สวิตช์ โคมไฟ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่ในวงจร กระแสไฟฟ้าเดียวกัน
หลักการทำงานของ มัลติมิเตอร์ : เมื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขวดลวด ทำให้เกิดแสงเรืองที่หลอดไฟขนาดเล็ก การเชื่อมต่อนั้น เกิดจาก การนำขาของอุปกรณ์ทดสอบไปเสียบเข้ากับเต้ารับไฟฟ้า
ความแตกต่าง : อุปกรณ์ตรวจเช็กไฟฟ้าบางชนิดเป็นพลาสติกแบน ที่มี หลอดไฟขนาดเล็ก 3 หลอดและมีขา 3 ขา ที่เข้ากับเต้ารับไฟฟ้าแบบมาตรฐานได้ พอดี ซึ่งแบบนี้ไม่สามารถใช้ตรวจสอบการหลวมของสายไฟ ตรวจสวิตช์ หรือกับ เต้ารับแบบสองขา ตัวหนังสือที่ระบุไว้บนอุปกรณ์จะอธิบายถึงรูปแบบสีของไฟ
วิธีใช้งาน มัลติมิเตอร์
1. เลือกตำแหน่งเต้ารับที่ต้องการทดสอบ เมื่อต้องการแก้ปัญหาระบบวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน ให้เริ่มต้นที่ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้าหลักในบ้าน
2. ถ้าเป็นเต้ารับแบบสองขา เสียบขาใดขาหนึ่งเข้าไปในนั้น จากนั้นค่อยแหย่อีกข้างตามเข้าไป แต่ถ้าเป็นแบบสามขา ให้แหย่ขาไปที่รูกลมที่อยู่ตรงกลางจากนั้นแหย่ขาที่เหลือไปในรูที่เหลือ
3. ดูที่หลอดไฟเล็กๆ บนเครื่องทดสอบ ถ้าเรืองแสง แปลว่าเต้ารับนั้นเชื่อมต่อกับกระแสไฟฟ้า ถ้าเป็นเต้ารับแบบสองขาและไม่เรื่องแสง นั่นแปลว่า ไม่มีกระแสไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นเต้ารับแบบสามขาและหลอดไฟไม่เรืองแสง ให้ทดสอบซ้ำโดยลองแหย่ในรูอื่นของเต้ารับ ถ้าเต้ารับทำงานเป็นปกติ เครื่องทดสอบจะเรืองแสงเมื่อเสียบด้วยวิธีหนึ่ง แต่จะไม่เรืองแสงเมื่อ เสียบในอีกวิธีหนึ่ง ถ้าหลอดไฟเรืองแสงทั้งสองวิธี หรือไม่เรืองแสงเลย ทั้งสองวิธี นั่นแปลว่าเต้ารับเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าไม่ถูกต้อง
เช็คราคา มัลติมิเตอร์ ได้ที่นี่
ปืนบัดกรี Soldering Gun
รายละเอียดทั่วไป : เป็นปืนพลาสติกสีดำที่มีไกปืนสีแดง ลํากล้องหนา และมีสายไฟฟ้า มีแท่งขั้วไฟฟ้าผิวมันวาว 2 แท่ง ต่อยาวออกมาจากลํากล้องปืน โดยทั้ง สองเชื่อมต่อกันด้วยห่วงรูปร่างเหมือนตัว H ที่ทำจากลวดทองแดง เรียกว่า “หัว บัดกรี” ถ้าดูใกล้ๆ จะเห็นรอยแต้มโลหะจำพวกเงินที่เรียกว่า “โลหะบัดกรี” เคลือบ ส่วนที่เป็นทองแดงที่บริเวณปลายยอด เมื่อเสียบปลั๊กอุปกรณ์และกดที่ไกปืนอุปกรณ์ จะส่งเสียงดึงเบาๆ และส่วนหัวทองแดงนั้นจะร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว
ใช้เมื่อ : ต้องการบัดกรีติดลวดทองแดง 2 เส้นที่พันอยู่ให้ติดกัน โดยเน้น ที่ความแข็งแรง และเป็นรอยเชื่อมแบบไม่ซับซ้อน หรือต้องการเชื่อมติดเส้นลวด ลงบนแผนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการซ่อมแซมเครื่องประดับ
หลักการทำงาน : ความต้านทานไฟฟ้าในเส้นลวดทำให้เกิดความร้อน เมื่อ เพฟ ให้ทั่วบัดกรีร้อนขึ้น เพราะความร้อนทำให้ลวดร้อน จากนั้นลวดที่ร้อนก็จะหลอมละลาย และไหลเข้าไปแทนที่พื้นที่ระหว่างลวดที่พัน
ความแตกต่าง : หัวแร้งไฟฟ้าชนิดพิเศษ มีดวงไฟอันเล็กๆ เพื่อช่วยให้มา เห็นรอยเชื่อมเล็กๆ ได้ อุปกรณ์ราคาถูกที่ใช้บัดกรีเส้นลวดเรียกว่า “หัวแร้ง” เมื่อ เสียบปลั้กจะใช้เวลาสักพักจึงจะร้อน และไม่มีไกสำหรับเปิด/ปิด ช่างทำกระจกสี (Leaded-glass Artist) หลายคนใช้หัวแร้งบัดกรีที่มีส่วนหัวแบบพิเศษ เพื่อผ่านความร้อนไปยังหัวบัดกรีที่ชิ้นใหญ่กว่า
การใช้งาน ปืนบัดกรี
1. ใช้คีมตัดสายไฟ ลอกฉนวนสายไฟออกที่ส่วนปลายที่ต้องการเชื่อมให้ติดกันออกเล็กน้อย
2. เสียบปลั๊กหัวแร้งไฟฟ้ากับเต้ารับ คลี่ลวดบัดกรีออกมาเล็กน้อย โดยลวดบัดกรีจะขายเป็นม้วน ลวดจะมีลักษณะเหมือนท่อที่กลวง ข้างในมีสาร เคมีที่เรียกว่า “ฟล็กซ์” ถูกห่อหุ้มอยู่ เพื่อช่วยให้โลหะบัดกรีไหลติดกับ วัสดุ
3. จับที่ด้ามของหัวแร้งด้วยมือข้างหนึ่ง ม้วนโลหะบัดกรีอยู่ในมืออีกข้าง
4. แตะที่บริเวณที่ต้องการเชื่อมติดด้วยส่วนปลายของหัวแร้ง บีบที่ไก และกดเอาไว้ให้นานจนสายไฟร้อน
5. แตะส่วนปลายสุดของลวดบัดกรีที่สายไฟที่ได้รับความร้อนจากหัวแห้งต้องการเชื่อม ถ้าลวดร้อนพอ ลวดบัดกรีจะละลายทันที จำเป็นมากที่ ต้องหลอมละลายลวดบัดกรีด้วยการทำให้สายไฟร้อน ถ้าคุณหลอมลวด บัดกรีโดยตรงเข้ากับปลายของหัวแร้ง คุณอาจได้การเชื่อมติดที่เรียกว่า เชื่อมเย็น” ซึ่งรอยเชื่อมจะแตกง่าย และอาจไม่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี รอย เชื่อมเย็นเป็นสิ่งที่ตรวจพบและหากเกิดแล้วก็แก้ไขได้ยาก เป็นสาเหตุที่ ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานไม่ได้
6. ปล่อยไก และยกปลายหัวบัดกรีและลวดบัดกรีออกจากจุดเชื่อม
คีมตัดต่อสายโทรศัพท์ Jack Tool
มีด้ามจับเป็นพลาสติก ปลายทั้งสองข้างต่อกันที่แกนหมุน คีมตัดต่อสายโทรศัพท์มีขนาดเล็ก มีช่องเปิดรูปเหลี่ยมที่ด้านหนึ่ง ดูแทบจะ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นหลังจากที่คุณบีบด้ามจับเข้าหากัน แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียด จะเห็นว่าชิ้นโลหะเล็กๆ ถูกดันเข้าไปอยู่ในช่องเปิดสี่เหลี่ยมนั้น โดยที่ชิ้นโลหะที่กด เข้ามานั้นมีลักษณะเป็นใบมีดคม
ใช้เมื่อ : ต้องการต่อโทรศัพท์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องโดยการติดหัวแจ็ค RJ-11 ที่มีลวด 4 เส้น (เรียกว่า ปลั๊ก ก็ได้) ที่ปลายของสายโทรศัพท์ชนิดแบน จากนั้นก็สามารถเดินสายโทรศัพท์ได้ทั่วทั้งบ้านของคุณ
ความแตกต่าง : อุตสาหกรรมโทรศัพท์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตเครื่องมือ สำหรับการเชื่อมต่อมากมายสำหรับปลูกหรือแจ็คหลากหลายรูปแบบ
การใช้งาน คีมตัดต่อสายโทรศัพท์
1. คิดว่าคุณใช้สายเคเบิลโทรศัพท์แบบมาตรฐานชนิดแบน ลวด 4 เส้น ถ้าสายไฟที่อยู่ในเคเบิลมีสี จะมีสีดำ แดง เหลือง และเขียว อาจมีแกนกลางเล็กๆ หรือแถบสีอยู่ที่ด้านแบนของเคเบิล ที่ช่วยให้เห็นส่วนปลายทั้งสองด้านได้ชัดเจนขึ้น
2. ใช้คีมตัดลวดเพื่อตัดสายเคเบิลตามขวาง
3 วิธีการลอกฉนวนที่หุ้มสายเคเบิลโดยไม่ทำลายสายไฟที่อยู่ด้านใน ให้ใช้ใบมีดเล็กๆ ที่อยู่ในคีมตัดต่อสายโทรศัพท์ นำส่วนปลายของสายเคเบิล สอดเข้าไปในช่องเปิดที่มีใบมีดอยู่ บีบด้ามจับเข้าหากันแล้วปล่อย พลิก สายเคเบิลอีกด้าน ใส่เข้าไป แล้วกดด้ามจับอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้ดึงสายไฟออกจากตัวเครื่องมือโดยยังไม่ต้องปล่อยด้ามจับ
4. ใส่แจ็คตัวใหม่ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อนเข้าไปในช่องเสียบของเครื่องมือ
5. ใส่ลวดที่ลอกฉนวนออกแล้วเข้าไปในช่องแบนที่ส่วนปลายของปลั๊ก ถ้ามีปลั๊กติดอยู่ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของสายเคเบิล ให้ดูที่แนวแกนกลาง เพื่อความมั่นใจว่าปลายทั้งสองนั้นเหมือนกัน ให้สอดสายเคเบิลเข้าไปในปลั๊ก ให้ลึกที่สุดเท่าที่จะเข้าไปได้
6. บีบด้ามจับเข้าหากันเพื่อให้ติดกัน ปล่อยมือ จากนั้นปล่อยสลักของตัวปลั๊กเพื่อปล่อยให้หลุดออกจากเครื่องมือ
คำแนะนำเพิ่มเติม : เมื่อคุณรู้สึกเบื่อหน่ายกับสายโทรศัพท์ยาวๆ ที่พันกันยุ่งเหยิง คุณ กำลังต้องการคีมตัดต่อสายโทรศัพท์
คีมตัดสายเคเบิ้ล (Cable Cutter)
เครื่องมือรูปร่างเหมือนคีมที่ฟันสามารถเปิดออกได้เป็น รูปหกเหลี่ยม โดยช่องเปิดนั้นจะพอดีกับปลายหัวต่อของสายเคเบิลทีวีแบบมาตรฐาน หกเหลี่ยม บีบด้ามจับให้กดบนหัวต่อที่ปลายสายเคเบิล เครื่องมือนี้มีความจำเป็น เมื่อคุณต้องการติดตั้งทีวีเพิ่มเติม หรือติดตั้งโมเด็มอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้ากับ เคเบิลชนิดหกเหลี่ยมในบ้านของคุณ
พบที่ : เข็มขัดอุปกรณ์ของช่างติดตั้งทีวี กล่องเครื่องมือของนักประดิษฐ์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีขายที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ใช้เมื่อ : เตรียมปลายสายเคเบิลทีวีเพื่อเชื่อมต่อทีวีเข้ากับหัวต่อของสาย เคเบิล หรือเข้ากับกล่องรับ
หลักการทำงาน : สายเคเบิลทีวี หรือที่เรียกกันว่าสายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ประกอบด้วยสายลวดทองแดงเส้นเล็กและแข็ง ล้อมรอบด้วยฉนวน พลาสติกสีขาวหรือใส ที่ช่วยยึดให้อยู่ตรงกลางในเปลือกหุ้มยืดหยุ่น และล้อมรอบ เส้นลวดหลายเส้นตีเกลียวกันเป็นเส้นใหญ่
ความแตกต่าง : สายโคแอกเชียลแต่ละขนาดใช้กับหัวต่อที่มีขนาดแตกต่าง กัน รวมถึงเครื่องมือในการตัด ปอก ที่แตกต่างกันด้วย
การใช้งาน คีมตัดสายเคเบิ้ล
1. เช็กดูว่าสายเคเบิลที่คุณใช้เป็นสายโคแอกเชียลหรือไม่ โดยตัดขวางที่ส่วนปลายของเคเบิล
2. ใช้ดื่มและมีดเล่มเล็กเตรียมสายเคเบิลด้วยการปอกส่วนที่เป็นเปลือกนอกสีดำ (หรือขาว) ระยะกว้างเท่านิ้วมือออกไป
3. พับส่วนลวดทองแดงที่ตีเกลียวให้ย้อนกลับให้เรียบร้อย จะทำให้เกิดส่วนที่เป็นปลอกระหว่างส่วนทรงกระบอกของฉนวนที่ยื่นออกมา และแกนกลางที่เป็นลวดทองแดง
4. ใส่หัวต่อสายเคเบิลเข้าที่ส่วนปลายของเคเบิล โดยที่หัวต่อบางส่วนจะพอดีรอบส่วนที่เป็นปลอก โดยจะต้องมองเห็นลวดทองแดงอยู่ในหัวต่อนี้
5. ใช้อุปกรณ์เพื่อย้ําสายเคเบิลตรงส่วนหัวที่ต่อ และบีบที่ด้ามจับเข้าหากัน
6. นำสายออกจากคีม ลองทดสอบสายเคเบิลด้วยการต่อเข้ากับชุดรับทีวีถ้าต่อได้ดี สัญญาณจะทำงานเป็นปกติ แต่ถ้าไม่ ตัดส่วนนี้ทิ้ง แล้วลองทำใหม่
คีมตัดลวด Wire Cutter
รายละเอียดทั่วไป : ลักษณะเป็นเหล็กสองข้างที่เชื่อมต่อกันจนกลายเป็นคีม ชนิดพิเศษ ฟันมีลักษณะเป็นขอบคมและประกอบกัน มีลักษณะเป็นรูปตัว V ด้ามจับ ที่เป็นโลหะมีฉนวนพลาสติกสีสันสดใสหุ้ม อาจเรียกว่า “เครื่องตัดแนวทแยง” ก็ได้
พบที่ : กล่องใส่อุปกรณ์ของช่างไฟฟ้า มีขายที่ร้านขายอุปกรณ์เครื่องมือช่าง และร้านขายอุปกรณ์สำหรับตกแต่งและซ่อมแซมบ้าน ส่วนที่เป็นฟันจะไขว้ กัน และขอบคม จะอยู่ในแนวเดียวกับด้ามจับ ซึ่งเป็นข้อดีของอุปกรณ์ (สำหรับการ ตัดของชิ้นเล็กๆ เนื่องจากส่วนที่เป็นขอบคมจะขบซึ่งกันและกัน และตัดขน กระเบื้อง ขอบที่มีความคมจะทำมุมที่เหมาะสมกับด้ามจับ)
ใช้เมื่อ : ตัดสายไฟทั้งที่ยังมีฉนวนหรือไม่มีฉนวน
ความแตกต่าง : คีมส่วนใหญ่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อใช้กับงานไฟฟ้า แต่ก็มีคีมเพื่อ การใช้งานทั่วไปอีกหลายแบบ รวมถึงใช้ตัดลวดด้วย
การใช้งาน คีมตัดลวด
1. พิจารณาตำแหน่งบนลวดที่คุณต้องการตัด ให้เพื่อระยะไว้ เพราะเราสามารถตัดเพิ่มได้ แต่ไม่สามารถทำให้ลวดยาวขึ้นได้โดยปราศจากรอยต่อ
2. เปิดเขี้ยวด้วยการอ้าด้ามจับออก แล้วสอดเส้นลวดให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระหว่างเขี้ยว
3. บีบด้ามจับเข้าหากัน เพื่อให้ส่วนเขี้ยวขบเข้าหากันและตัดลวด
คำแนะนำเพิ่มเติม : ควรมีอย่างน้อย 1 คู่ ขนาด 8 นิ้ว (20 เซนติเมตร) สำหรับตัดลวด
คีมปอกสายไฟ Wire Stripper
ด้ามจับทำด้วยเหล็กไขว้กันคู่หนึ่ง และเชื่อมต่อด้วย แกนหมุนที่เป็นหมุด ส่วนเขี้ยวที่แยกออก มีความคมตลอดจนถึงจุดที่เขี้ยวบรรจบ กัน เมื่อพิจารณาอย่างละเอียด จะเห็นสปริงที่ช่วยในการเปิดเขี้ยวและสกรูตัวหนอน (Set Screw) อยู่ที่ด้ามจับข้างหนึ่ง เพื่อช่วยในการปรับค่าระยะช่องว่างระหว่างขอบ คมทั้งสองอย่างละเอียด
พบที่ : กล่องใส่เครื่องมือของช่างไฟฟ้าและโต๊ะทำงานของนักประดิษฐ์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง หรือวิดีโอ มีขายที่ร้านขายอุปกรณ์เครื่องมือ ช่าง ร้านขายอุปกรณ์สำหรับตกแต่งและซ่อมแซมบ้าน และร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ชนิดพิเศษ
ใช้เมื่อ : นำฉนวนออกจากส่วนปลายของสายไฟตามระยะที่ต้องการ โดยไม่ ทำให้เกิดรอยฉีกขาดหรือทำลายส่วนทองแดงนำไฟฟ้าที่อยู่ข้างใน
ความแตกต่าง : ช่างอิเล็กทรอนิกส์ใช้เครื่องมือที่ยุ่งยากทำงานซ้ำซ้อนใน การจับสายไฟ และลอกฉนวนด้วยการใช้รอยบากที่เรียงเป็นแถวสำหรับสายไฟที่มี ขนาดแตกต่างกัน ช่างไฟฟ้าใช้ท่อขนาดเล็กทำจากแผ่นเหล็กที่มีแถบโลหะคมอยู่ ด้านในสำหรับกรีดฉนวน เพื่อลอกออกจากสายเคเบิลเส้นใหญ่
การใช้งาน คีมปอกสายไฟ
1. ปรับระยะของเครื่องบีบให้พอเหมาะเพื่อให้ลอกฉนวนได้ทั้งหมด โดยไม่ ทำลายลวดทองแดงที่อยู่ข้างใน
2 จับเครื่องบีบด้วยนิ้วมือและฝ่ามือด้วยมือข้างหนึ่ง จับสายไฟที่ต้องการลอกฉนวนด้วยมืออีกข้าง
3. สอดสายไฟเข้าไปในช่องว่างของเครื่องบีบ บีบด้ามจับเข้าหากัน
4. บีบด้ามจับล็อคไว้ด้วยกัน ดึงสายไฟออกไป โดยทิ้งส่วนที่เป็นฉนวนเอาไว้
5. ตรวจสอบดูว่าสายไฟที่ลอกฉนวนออกไปแล้ว มีรอยถลอกหรือเสียหายหรือไม่ ถ้ามี ให้ปรับระยะเครื่องบีบให้ตื่นขึ้นเล็กน้อยก่อนลองอีกครั้ง
คุณสามารถเช็คราคา เครื่องมือช่าง อื่นๆได้ที่ iTOOLMART
Comments