in

มารู้จัก มัลติมิเตอร์ ก่อนที่คุณจะใช้งาน

มัลติมิเตอร์

ทุกวันนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคุณใช่ไหม ถ้าวันไหนเครื่องใช้ไฟฟ้าของคุณเปิดไม่ติดขึ้นมา คุณอาจจะสงสัยว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร เพียงแค่คุณมี มัลติมิเตอร์ คุณก็จะสามารถรู้สาเหตุของความเสียหาย และต้นเหตุของอาการรวนของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆของคุณได้ในเบื้องต้น ยกตัวอย่างเช่นใช้งานมัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าว่าถูกจ่ายไปยังเครื่องปั๊มน้ำหรือไม่ ถ้ามัลติมิเตอร์แสดงผล การตรวจเช็คว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าถูกจ่ายมา ก็แสดงว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่เครื่องปั๊มน้ำ แต่ปัญหาอยู่ที่ระบบไฟฟ้าวงจรย่อย สามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด อย่างน้อยก็ไม่จําเป็นต้องยกเครื่องปั๊มน้ำไปร้านซ่อมนั่นเอง

ด้วยความที่ มัลติมิเตอร์ มีความสะดวกในการใช้งาน โดยอาศัยพลังงานจาก แบตเตอรี่เพียง 3-9 โวลต์ DC รูปทรงกะทัดรัด พกพาสะดวกสามารถใช้หัวสายวัดตรวจเช็คในที่ที่แคบ พื้นที่ที่จํากัด และไม่จําเป็นต้องกังวลกับตัวนําที่ไม่มีฉนวนหุ้ม สามารถป้อนกระแสไฟฟ้าแก่โหลดเพื่อทดสอบการทํางานได้ มัลติมิเตอร์จึงเป็นเครื่องวัดที่เหมาะสมกับช่างไฟฟ้ากําลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์ ใน การตรวจวัด ตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างยิ่งยวด เช่น การวัดไฟฟ้ากระแสตรง (DC) การวัดไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) การวัดค่าโอห์ม (Q) หรือการวัด ค่าประจุ ความถี่ และทดสอบ ทรานซิสเตอร์ เป็นต้น เพื่อประกอบชิ้นส่วน หรือการตรวจ หาปัญหาอันเป็นสาเหตุของ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับวงจรไฟฟ้า และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะเบื้องต้น

แรกเริ่มเดิมที มัลติมิเตอร์ เป็นเพียงมิเตอร์ที่วัดค่าเฉพาะ เช่น มิเตอร์วัดค่าความต้านทาน มิเตอร์วัดค่าแรงเคลื่อน หรือแรงดันไฟฟ้า มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟตรง โดยเครื่องมือวัดเหล่านี้ได้รับการพัฒนามาจาก กัลวาโนมิเตอร์ แบบขดลวดเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นผลงานการสร้างของแจ๊ค ดาร์สันวาล์ โดยเขาได้นําทฤษฎีของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันที่ ได้ค้นคว้าหาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้ากับสนามแม่เหล็กโดยทฤษฎีดังกล่าวทําให้พบว่า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดตัวนําไฟฟ้าแล้ว จะมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นรอบขดลวดตัวนํา สําหรับช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อาจ เกิดความสงสัยในช่วงแรกของการเรียนรู้การทํางานของมัลติมิเตอร์ ตรงส่วนของการเคลื่อนไหวของเข็มมิเตอร์ จะมีการเรียกการทํางานในส่วนนี้ว่า ดาร์ สันวาล์ (D’Arsonval Meter Movement) เพื่อให้เกียรติผู้คิดค้นการทํางานของเข็มนั่นเอง 

สําหรับมัลติมิเตอร์นั้นจะมีใช้งานอยู่หลากหลายยี่ห้อ โดยมัลติมิเตอร์ใน ปัจจุบันจะแสดงผลการวัดแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (AMM) ถือเป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้า ซึ่งมีย่านวัดหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งปกติทั่วไปมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณทางไฟฟ้าดังต่อไปนี้

  • ความต่างศักย์กระแสตรง (DC Voltage) 
  • ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC Voltage) 
  • ปริมาณกระแสตรง (DC Current) 
  • ความต้านทานไฟฟ้า (Electrical Resistance) 
  • กําลังออกของสัญญาณความถีเสียง (AF Output) 
  • การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC Current Amplification,hFE)
  • กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (Leakage Current, (CEO)
  • ความจุทางไฟฟ้า (Capacitance) 

ทั้งนี้แล้วแต่รุ่นหรือยี่ห้อของมัลติมิเตอร์ ซึ่งผู้ผลิตในปัจจุบันได้มีการเพิ่ม ศักยภาพให้มัลติมิเตอร์ใช้วัดค่าต่างๆ ได้ตามลักษณะ และที่สําคัญย่อมส่งผลถึงราคาที่เพิ่มมากขึ้นด้วย 

มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Multimeters)

สําหรับมูลค่าการซื้อขาย เครื่องมัลติมิเตอร์แบบเข็มตาม ท้องตลาดในปัจจุบันนั้นมีหลายระดับ โดยราคาเริ่มต้นที่ถูกที่สุดสําหรับ มัลติมิเตอร์แบบเข้ม คือ 180 บาทขึ้นไป จนถึงหลายหมื่นบาท ที่ราคาเริ่มต้นถูกเช่นนี้ เพราะปัจจุบันมี มัลติมิเตอร์ของเลียนแบบออกมามากมาย ยี่ห้อโนเนมไม่คุ้นหู แต่รูปร่างลักษณะมีความคล้ายคลึงกัน การที่คุณซื้อมัลติมิเตอร์ราคาสองร้อยกว่าๆมาใช้งาน ถามว่าใช้ได้ไหม มันก็แน่นอนว่าใช้ได้ แต่จะใช้ดีแม่นยําหรือไม่นั้น ไม่มีใครรับรองได้เท่านั้นเอง แต่ก็จะมีข้อพิจารณาหนึ่งที่สําคัญ สําหรับคนที่ชอบใช้ของถูกคือ ของเลียนแบบพอใช้งานได้ แต่ของปลอมใช้ไม่ได้เลยเช่นนั้น เราควรเลือกมัลติมิเตอร์ในราคาที่สมเหตุสมผล ไม่ถูกเกินไป ไม่แพงเกินกําลัง หรือเราอาจพิจารณาเลือกใช้มัลติมิเตอร์ตามลักษณะงานของ เรา เช่น ถ้าต้องการความละเอียดสูง อย่างในงานอิเล็กทรอนิกส์ และเรามีความชํานาญในการอ่านค่าสเกลแบบเข็มชี้ ก็สมควรเลือกซื้อมัลติมิเตอร์รุ่นที่มีคุณภาพ เที่ยงตรงสูง ซึ่งราคาก็ย่อมจะสูงตามไปด้วย แต่ถ้าเราเป็นช่างไฟฟ้าที่มีลักษณะ งานเป็นแบบติดตั้งระบบทั่วไป ก็อาจเลือกใช้มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกที่ราคาไม่ เกิน 2,000 บาท ก็น่าจะเหมาะสมเพียงพอแล้วนั่นเอง

ข้อดีของ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม

  • ราคาถูก แต่บางรุ่นที่มีความละเอียดมากๆก็จะแพงหน่อย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับความชื้นที่น้อยกว่า
  • ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน
  • กรณีที่เข็มชี้ในตำแหน่งระหว่าง 2 ขีด สามารถประมาณค่าตำแหน่งระหว่างขีดนั้นได้
  • สามารถเห็นจังหวะสวิงของแรงดันกระแส แรงดันความต้านทาน หรือการแกว่งของกระแสไฟฟ้าได้ชัดเจนกว่า
  • แสดงค่าได้แม่นยำกว่าในค่าที่ไม่ต่ำมากจนเกินไป 
  • การวัดอุปกรณ์ เช่น คาร์ปาซิเตอร์ หรือ มอสเฟส สามารถวัดอ่านค่าได้ง่ายกว่า 
  • ทนทานกว่า

ข้อเสียของ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม

  • การเก็บข้อมูลค่าที่วัดได้ จะต้องใช้วิธีจดบันทึกเอง
  • ค่าการวัดที่แสดงออกมาผิดเพี้ยนกว่า 
  • ปรับอ่านค่าแบบเฉลี่ยไม่ได้
  • กรณีจะต้องวัดค่าโอห์มจำเป็นจะต้องปรับ Zero Adjust ทุกครั้ง
  • ไม่มีระบบป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการตั้งย่านผิดลักษณะ (วัด AC แต่ปรับย่านไปที่โอห์ม หรือการวัดกระแสแรงดันกลับด้าน ผิดขั้ว เป็นต้น)
  • การวัดค่าที่ต่ำเกินไป อนาล็อกไม่สามารถวัดได้ หรือวัดได้แต่อาจอ่านค่าไม่ได้

มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeters)

มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล เป็นมัลติมิเตอร์อีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนา มาจากมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก แต่เปลี่ยนรูปแบบเทคโนโลยีเคลื่อนที่ด้วยสนามแม่เหล็ก เป็นเทคโนโลยีแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน โดยนําเอาระบบดิจิตอลที่แสดง ตัวเลขเข้าแทนที่ในการแสดงผลการวัด ทั้งนี้ได้มีการรวมเอาดิจิตอลโอห์มมิเตอร์ (Digital Ohmmeter) ดิจิตอลแอมป์มิเตอร์ (Digital Ammeter) และดิจิตอล โวลต์มิเตอร์ (Digital Voltmeter) เข้าไว้ในเครื่องวัดเครื่องเดียวกันเช่นเดียวกับ มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก และที่สําคัญนั้น มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลถูกสร้างขึ้นมา เพื่อทําลายข้อจํากัดมากมายของ มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกนั้นเอง

  • ข้อจํากัดที่เกี่ยวกับความชํานาญการอ่านค่าของผู้ใช้งาน 
  • การวัดค่าและการอ่านค่ามีความถูกต้องมากขึ้น 
  • ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการอ่านค่า 
  • มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่า 
  • มีระบบป้องกันความเสียหายที่อนาล็อกไม่มี
มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeters)

โดยปกติแล้วมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล จะมีโหมดย่านวัดคล้ายกันกับแบบ อนาล็อก แต่แบบดิจิตอลจะสามารถใช้โหมดการทํางานอื่นๆ ได้อีก เช่น ระบบการบันทึกข้อมูลการวัด การแสดงผลค่าเฉลี่ย การแสดงค่าเป็นจุดทศนิยม สามารถวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุของไฟฟ้า และ สามารถตรวจสอบไดโอดได้ง่ายกว่าแบบอนาล็อกอีกด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันเราจะ สังเกตเห็นพัฒนาการความผสมผสานระหว่างอนาล็อกกับดิจิตอลได้ เช่นอย่างใน อดีตที่มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกจะไม่มีโหมดวัดสัญญาณต่อเนื่อ ซึ่งจะแสดงค่าความต่อเนื่องด้วยเสียง ซึ่งโหมดนี้จะมีเพียงในแบบดิจิตอลเท่านั้น แต่ ในปัจจุบันมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกแทบจะทุกยี่ห้อ จะมีโหมด (Buzz) นี้ติดอยู่แทบทุกเครื่อง หรือคุณสมบัติการวัดจังหวะสวิงของแรงดันกระแส แรงดันความ ต้านทาน หรือการแกว่งของกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นจุดเด่นของมัลติมิเตอร์แบบ อนาล็อกที่สามารถวัดได้ แต่ขณะนี้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลก็สามารถวัดค่านั้น ได้เช่นกัน (แถมยังเที่ยงตรงกว่าเพราะแสดงเป็นตัวเลข) เช่นนั้น การพัฒนามัลติ มิเตอร์ทั้ง 2 รูปแบบนี้ ยังคงไม่มีทางที่จะหยุดนิ่งลงได้ง่ายๆ 

ข้อดีของ มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

  • ระบบการทำงานเป็นแบบ auto
  • แสดงผลได้รวดเร็วกว่า
  • แสดงค่าได้แม่นยำกว่าแม้จะมีค่าต่ำสุดก็ตาม
  • ใช้งานง่ายกว่า และแสดงค่าเป็นตัวเลขที่ตรงตัว
  • เลือกความละเอียดได้ใน ทศนิยม 2-3 ตำแหน่ง
  • ใช้งานได้ดีภายใต้ความกดดัน
  • สามารถเก็บข้อมูลการวัดค่าได้แบบอัตโนมัติ
  • สามารถแสดงค่าได้ละเอียดมากกว่า
  • สามารถแสดงค่าได้แม้จะผิดขั้วก็ตาม 
  • มีความแม่นยำสูงกว่า และตัดปัญหาความผิดเพี้ยนที่เกิดจากการอ่านค่า 
  • ไม่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญในการอ่านค่า 

ข้อเสีย ของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

  • ราคาแพง แต่ในปัจจุบันมียี่ห้อที่ราคาถูกแล้ว แต่คุณภาพก็ตามราคา
  • ความไม่นิ่งของการแสดงตัวเลข อาจเป็นอุปสรรคของการอ่านค่าที่แน่นอน 
  • อาจเกิดความผิดพลาดได้เมื่อมีการวัดเซมิคอนดักเตอร์

เช็คราคา มัลติมิเตอร์ ได้ที่นี่

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by TiTlECNx

อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..จะหยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

โต๊ะเลื่อยวงเดือน

หากคุณกำลังจะซื้อ โต๊ะเลื่อยวงเดือน ควรเลือกควรเลือกจากหัวข้อต่อไปนี้

หน้ากากเชื่อม

11 เคล็ดลับในการเลือก หน้ากากเชื่อม ให้มีประสิทธิภาพ