โต๊ะเลื่อยวงเดือน เรียกกันตามความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของใบ เลื่อยที่ใหญ่ที่สุดที่จะติดตั้งในเครื่องนั้นได้ เช่น โต๊ะเลื่อยวงเดือนขนาด 10 นิ้ว หมายความ ว่าเครื่องเลื่อยนั้นสามารถติดตั้งใบเลื่อยขนาดใหญ่ที่สุดได้ไม่เกินเส้นผ่านศูนย์กลางใบเลื่อย 10 นิ้ว แต่หากต้องการติดตั้งใบเลื่อยที่เล็กกว่า 10 นิ้ว ก็ทำได้ โดยทั่วๆ ไปความเร็วและ กำลังของเครื่องจะขึ้นอยู่กับขนาดของใบเลื่อยที่จะติดตั้งกับเครื่อง
ส่วนประกอบ โต๊ะเลื่อยวงเดือน
ฐานรองรับโครงเครื่อง (Base)
แท่นเครื่อง (Table) มีลักษณะผิวเรียบ ขนาดกว้างยาวขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องบนผิวแท่นเครื่องจะมีร่องยาวสำหรับวางอุปกรณ์ช่วยในการตัด (Miter Gauge) และที่ขอบด้านหน้าและหลังติดตั้งแท่งเหล็กสำหรับบังคับรั้วเพื่อใช้ในการซอยไม้
มือหมุนสำหรับเลื่อนใบเลื่อยขึ้น-ลง (Saw Raising Hand Wheel) ใช้ สำหรับยกใบเลื่อยให้สูงขึ้นหรือเลื่อนให้ต่ำลงในการตัดหรือซอยไม้ที่มีความหนาต่างกัน โดยจะอยู่ใต้แท่นเครื่องด้านหน้า
มือหมุนสำหรับเอียงใบเลื่อย (Saw Tilt Hand Wheel) ใช้สำหรับปรับเอียงใบเลื่อยให้มีมุมเอียงกับแท่น เพื่อใช้ในการตัดไม้หรือซอยไม้ที่เอียงเป็นมุมตามต้องการ โดยจะอยู่ใต้แท่นเครื่องด้านข้าง
แผ่นปิดช่องใบเลื่อย (Table Insert) มีไว้สำหรับปิดช่องใบเลื่อย เพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ตกลงไปใต้แท่นเครื่อง และถอดออกเมื่อต้องการเปลี่ยนใบเลื่อย
ครอบคลุมใบเลื่อย (Guard) อาจทำด้วยพลาสติกหรือโลหะแผ่น ติดตั้งกับโครงยึดมอเตอร์ เลื่อนตามการปรับยกใบเลื่อยขึ้นและลง
มอเตอร์ (Motor) เป็นตัวกำลังขับเคลื่อนแกนเพลาที่ยึดใบเลื่อยโดยใช้สายพาน กำลังของมอเตอร์ที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของโต๊ะเลื่อยวงเดือน
อุปกรณ์ช่วยในการซอยและตัดไม้
– อุปกรณ์ช่วยในการซอยไม้ (Fence or Rip – Fence) เป็นอุปกรณ์ช่วยบังคับหรือนำในการ ซอยไม้ ทำด้วยโลหะหรือพลาสติก
– อุปกรณ์ช่วยในการตัดไม้ (Miter Gauge) เป็นอุปกรณ์ช่วยจับ บังคับสำหรับการตัดไม้ ตัด ปากกบไม้เป็นมุมต่างๆ ทำด้วยเหล็กหรืออะลูมิเนียม
เช็คราคาปัจจุบันของ โต๊ะเลื่อยวงเดือน
ความปลอดภัยในการใช้ โต๊ะเลื่อยวงเดือน
1. ปรับใบเลื่อย พร้อมอุปกรณ์ช่วยในการตัดหรือซอยไม้ให้ถูกต้อง จึงเปิดเครื่อง
2. ใบเลื่อยจะต้องปรับยกให้สูงกว่าผิวงานประมาณ ⅛ – ¼ นิ้ว (3 – 5 มิลลิเมตร)
3. เมื่อเปิดโต๊ะเลื่อยวงเดือนแล้ว จะต้องรอให้ใบเลื่อยหมุนเต็มที่เสียก่อน จึงป้อนไม้เข้าซอยหรือดัด
4. ในการปรับเครื่องเลื่อยส่วนใดๆ ก็ตาม จะต้องปิดเครื่องให้ใบเลื่อยหยุดนิ่งเสียก่อน
5. ครอบคลุมใบเลื่อย โดยจะต้องคลุมใบเลื่อยตลอดเวลาในขณะที่ใบเลื่อยหมุน ยกเว้น ในกรณีที่จะทำงานเฉพาะอย่างที่จะต้องถอดออก
6. ไม่ยืนตรงแนวการตัดไม้หรือซอยไม้ ควรยืนเยื้องทางด้านข้าง
7. ควรซอยไม้ก่อนตัดไม้ เพราะการซอยไม้สั้นและแคบ จะเป็นอันตรายมากกว่า
8. ควรใช้อุปกรณ์ช่วยในการตัดไม้และซอยไม้ทุกครั้ง
9. ไม่ควรตัดไม้หรือซอยไม้หลายๆ ท่อนพร้อมกัน
10. ควรใช้ไม้ดัน (Push Stick) แทนมือ เมื่อต้องซอยไม้หน้าแคบและสั้น
11. ไม่ควรยกไม้หรือมือข้ามใบเลื่อย ขณะใบเลื่อยหมุนอยู่
12. ถ้าต้องซอยไม้ยาวๆ ควรใช้ที่รองรับปลายไม้อีกด้านหนึ่ง หรือหาผู้ช่วยคอยพยุง ปลายไม้ไว้
13. การปรับใบเลื่อยในการตัดไม้หรือซอยไม้เอียงเป็นมุมต่างๆ ต้องแน่ใจว่าใบเลื่อย ไม่เบียดกับส่วนอื่นๆของเครื่อง และต้องใส่แผ่นปิดช่องใบเลื่อยเสมอ
14. ป้อนไม้เข้าหาใบเลื่อยอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ อย่าป้อนเร็วจนเกินความสามารถ ของเครื่อง เพราะอาจจะทำให้มอเตอร์ชำรุดได้
15. อย่าเปิดเครื่องทิ้งไว้โดยไม่ทำงานใดๆ ต้องปิดเครื่องและรอให้ใบเลื่อยหยุดนิ่งเสีย ก่อน จึงค่อยออกจากเครื่อง
เลือก ใบเลื่อยโต๊ะวงเดือน ยังไงให้เหมาะ
ขนาดใบเลื่อย (นิ้ว) | กำลังมอเตอร์ | ความเร็วรอบ | ความหนาไม้สูงสุด |
6 | ¼ – ⅓ | 4,000 – 4,350 | 1½ – 2 |
8 | ½ | 3,400 – 3,600 | 2 – 2½ |
10 | ¾ – 1 | 3,100 – 3,200 | 2 ½ – 3 |
12 | 1 – 1½ | 2,800 – 3,000 | 3 – 3½ |
ใบเลื่อยวงเดือน มีแบบใดบ้าง
ใบโต๊ะเลื่อยวงเดือนมีหลายขนาดและหลายลักษณะฟันเลื่อย เพื่อให้สะดวกในการ หรือซอยไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลา
1.ใบเลื่อยตัด (Cross Cut Blade) มีลักษณะฟันเลื่อยเล็ก ตรงแหลม ละเอียดและมีความถี่ของจำนวนฟันมาก ใช้สำหรับการตัดขวางเสี้ยนไม้ได้ดี
2.ใบเลื่อยซอย (Rip Cut Blade) มีลักษณะฟันเลื่อยใหญ่ หยาบ หลังฟันเลื่อย โค้ง ร่องฟันลึก เหมาะสำหรับการตัดไม้ตามเสี้ยนหรือขนานเสี้ยนไม้
3. ใบเลื่อยผสม (Combination Blade) ฟันเลื่อยชนิดนี้ได้น่าเอาลักษณะฟันเลื่อย ตัดและฟันเลื่อยซอยมารวมกันไว้ใช้ได้ทั้งการตัดไม้และซอยไม้ แต่ประสิทธิภาพการตัดอาจ ไม่เทียบเท่าใบเลื่อยเฉพาะ
4. ใบเลื่อยคาร์ไบด์ (Carbide Tip Blade) ฟันเลื่อยจะทำด้วยเหล็กชนิดพิเศษ เรียกว่า Carbide Tip ติดไว้ที่ปลายฟันเลื่อย เพื่อเพิ่มความแข็งและคมให้คงทน มีลักษณะฟันใหญ่ทั้งฟันละเอียดและฟันหยาบ หลังฟันเป็นสันเหลี่ยมร่องฟันลึกสามารถใช้ทั้งตัดไม้และซอยไม้ได้ดี โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็ง และวัสดุชนิดอื่นๆ เช่น วัสดุแผ่นใหญ่ เป็นต้น
5. ใบเลื่อยตัดไม้อัด (Plywood Blade) ลักษณะฟันเลื่อยจะเล็กมาก ละเอียด มีความถี่ของจำนวนฟันมากกว่าฟันเลื่อยตัดใช้สำหรับงานตัดแผ่นไม้อัดโดยเฉพาะ
6. ใบเลื่อยสำหรับงานเซาะร่อง (Dado Head) จะมีลักษณะใบเลื่อยอยู่ 2 ชุด ชุดแรกจะประกบ อยู่ภายนอกทั้ง 2 ข้าง สำหรับการตัดขอบร่อง มีลักษณะฟันเลื่อยเป็นฟันผสม และชุดที่สองจะอยู่ภายในลักษณะ มีคมอยู่ 2 ด้านสำหรับขุดเนื้อไม้ออก มีหลายขนาดความ หนา ใช้สำหรับงานเซาะร่องขนาดใหญ่ในครั้งเดียว งาน ทำบังใบวงกบ
เช็คราคา ใบเลื่อยวงเดือน
Comments