ศิลปะของช่างไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ช่างไม้ญี่ปุ่นสร้างโครงสร้างไม้โดยไม่ต้องใช้ตะปูหรือกาว

พัฒนาทักษะงานไม้ขั้นพื้นฐาน เริ่มต้นเรียนรู้การทำงานไม้ด้วยการตัดชิ้นไม้และตอกตะปูหรือติดกาวเข้าด้วยกัน แต่มีผู้คนจำนวนน้อยที่มีความอดทนและความทุ่มเทในการทำงานไม้อย่างเชี่ยวชาญโดยไม่ต้องใช้ตะปูหรือกาว ซึ่งเป็นงานศิลปะในญี่ปุ่นที่ได้รับการขัดเกลามาหลายชั่วอายุคน ช่างไม้ญี่ปุ่นดั้งเดิมสร้างอาคารทั้งหลังโดยใช้ไม้เพียงอย่างเดียว โดยตัดเป็นชิ้นๆ ให้แนบสนิทราวกับเป็นแบบนั้นตั้งแต่แรก งานไม้ที่ต้องใช้ความอดทนเช่นนี้ ถือเป็นบททดสอบฝีมือช่างไม้อย่างแท้จริง

Dylan Iwakuni ช่างไม้จากยามานาชิกล่าวว่า “ในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ทักษะและความรู้เกี่ยวกับงานไม้ชั้นดีถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่น” “เมื่อเวลาผ่านไป ทักษะการใช้ไม้เหล่านี้ได้รับการขัดเกลาและส่งต่อ ส่งผลให้ไม้เนื้อดีในญี่ปุ่นเป็นที่รู้จัก”

เมื่อกลายเป็นประเพณีในญี่ปุ่น ช่างไม้ได้พัฒนาหลักการในการประกอบไม้ ซึ่งมีหลายวิธี Iwakuni เป็นเรื่องบังเอิญไหมที่ข้อต่อที่น่าเชื่อถือที่สุดเหล่านี้ — และข้อต่ออื่นๆของ Iwakuni รวมถึง shihou kama tsugi ที่ดูเหมือน “เป็นไปไม่ได้” แต่สามารถทำได้ ไม่เพียงแต่ในการสร้างสรรค์เท่านั้นข้อต่อยังมีรูปลักษณ์ที่สมบูรณ์อีกด้วย ช่างไม้สามารถสร้างส่วนประกอบแทนชิ้นส่วนที่เสียหายได้ ช่วยให้โครงสร้างสามารถยืนหยัดได้อีกหลายร้อยปี ในการทำอย่างถูกต้องต้องไม่เพียงแค่มีทักษะที่ดีและอุตสาหะเท่านั้น แต่ยังต้องมีชุดเครื่องมือที่คมอยู่เสมอ ความงดงามของงานไม้ญี่ปุ่น นั้นดึงดูดและสร้างความประหลาดใจจากผู้สนใจรักงานไม้ทั่วโลก

Uwaba-tonegata-youmai-shikuchi

Uwaba-tonegata-youmai-shikuchi

ข้อตอ่เข้ามุมแบบญุ่ปุ่น ข้อต่อนี้สามารถประกอบได้เพียงแนวเดียวคือ มุมฉาก เหมาะสำหรับงานเข้ามุม โต๊ะ เก้าอี้ หรือกรอบรูป ที่ต้องการความแข็งแรงกว่าการต่อมุมชนเพียงหน้าเดียว เพราะมีส่วนที่เป็นเดือยหรือยื่นเข้าหากัน เป็นข้อต่อมุมแบบญี่ปุ่นที่จะมาทำกันในวันนี้ค่ะ

วัสดุ

ไม้ยางพารา
  • ไม้ยางพารา ลักษณะเป็น ไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีความเหนียวและความยืดหยุ่นสูง เมื่อประกอบจะเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น ไม้ยางพารามีความอ่อนไหวต่อเชื้อราและแมลงกัดต่อยซึ่งจำกัดการใช้งานในอดีต ในช่วงทศวรรษ 1980 การพัฒนากระบวนการบำบัดด้วยสารเคมีทำให้ไม้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นสำหรับการทำเฟอร์นิเจอร์และโครง ทุกวันนี้ ไม้ยางพาราโดยทั่วไปหลังจากเลื่อยเสร็จไม่นาน จะแช่ด้วยสารกันบูดโบรอน ตามด้วยการทำให้แห้งในเตาเผาเพื่อกระจายสารเคมีและเพื่อควบคุมความชื้น
  • ไม้ยางพารามีมวลหนาแน่นซึ่งควบคุมได้ง่ายในกระบวนการอบแห้งของเตาเผา ไม้ยางพารามีการหดตัวน้อยมากทำให้เป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่มีความเสถียรมากขึ้นสำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ ของเล่น และอุปกรณ์ครัว ไม้ยางพารามีหลายระดับคุณภาพ เช่นเดียวกับไม้เนื้อแข็งอื่นๆ
  • ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง เนื่องจากฝนสามารถชะล้างสารเคมีป้องกันออกจากเนื้อไม้ ทำให้เกิดเชื้อราและแมลงโจมตีได้ ความชื้นที่มากเกินไปจะทำให้ไม้บิดงอและเน่า

เครื่องมือ

Zet Saw Hard wood 240
  • เลื่อยหลังแข็ง ญี่ปุ่น – เลื่อยทำเดือยสำหรับไม้เนื้อแข็ง
เลื่อยหางหนู
  • เลื่อยหางหนู- ประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสำหรับเก็บระนาบในร่องไม้ที่บาก ให้เรียบเสมอกัน
สิ่วขนาดต่างๆ
  • สิ่ว สิ่วตรงและเอียงเป็นตัวช่วยในการตอกเศษไม้ในร่องออกได้เป็นอย่างดี การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของขนาดร่องที่บากลงไป

– ขนาด 1/2″ 13 mm

– ขนาด 3/4″ 19 mm

– ขนาด 1 ” 25 mm

เครื่องมือวัด
  • ไม้บรรทัดฉาก – ใช้สำหรับขีดเส้นตรงให้ฉากกับขอบ
  • เกจวัดมุมเอียง 45องศา และมุมฉาก – ใช้ช่วยในการขีดเส้นมุม 45 องศา
  • ไม้บรรทัดพับได้ของ Festool – ใช้สำหรับวัดขนาดความยาวของไม้ ซึ่งมีความเที่ยงตรงกว่าตลับเมตร
ดินสอ PICA Festool
  • ดินสอ PICA Festool สามารถเขียนบนไม้ และวัสดุอื่นๆได้ โดยไม่เลือนหายไปง่ายๆ
ค้อน
  • ค้อน ควรเลือกค้อนสำหรับตอกไม้ เพื่อไม้ให้เกิดรอยเวลาตอกไม้
quick clamp festool
  • แคลมป์ ใช้ quick clamp festool เพราะสามารถแคลมป์ได้รวดเร็ว และเหมาะกับการใช้งานบนโต๊ะ MFT
โต๊ะ MFT Festool
  • และควรเลือกใช้โต๊ะทำงานที่สามารถแคลมป์ได้ เช่น โต๊ะ MFT Festool
เลื่อยองศา
  • เลื่อยองศา – ใช้ในการตัดไม้ท่อน หรือตัดองศา
โต๊ะเลื่อยวงเดือน
  • โต๊ะเลื่อยวงเดือน – ใช้สำหรับรีดหรือปรับหน้าไม้ไม้ให้ได้ฉาก (ใช้แทนกบใสไม้ และเครื่องรีดไม้)

ขั้นตอนการทำข้อต่อมุมแบบญี่ปุ่น

ขั้นตอนที่ 1: การเตรียมไม้

ตัดแบ่งไม้ด้วยเลื่อยองศา

ใช้ไม้ขนาดกว้าง 7 x 7 cm  ยาว 100 cm

  • ตัดแบ่งเป็น 3 ท่อน ด้วยเลื่อยองศา

– ขนาดความยาว 30 cm 1 ท่อน

– ขนาดความยาว 25 cm 2 ท่อน

รีไม้ด้วยโต๊ะเลื่อยวงเดือน
  • นำไม้มารีดหรือปรับหน้าไม้ให้ได้ฉากเท่ากันทุกด้าน ด้วย โต๊ะเลื่อยวงเดือน (ขั้นตอนนี้สามารถทำก่อนหรือหลังการตัดแบ่งท่อนไม้ก็ได้)

ขั้นตอนที่ 2: ทำเครื่องหมาย

วัดส่วนที่ต้องการจะตัด
  • วัดส่วนที่ต้องการจะตัด โดยวัดจากปลายมาที่ส่วนที่ต้องการจะทำข้อต่อเท่ากับความหนาของไม้ 7 cm
ขีดเส้นเอียง 45 องศา
  • วัดมุมเฉียง 45 องศา ด้วยไม้บรรทัดที่มีด้านเอียง 45 องศา แล้วขีดเส้นมาร์ค
ทำเครื่องหมายเสร็จแล้ว
  • เมื่อทำเครื่องหมายเสร็จแล้วจะได้ลักษณะดังภาพ

ขั้นตอนที่ 3: เริ่มตัด

เลื่อยตรงตามเส้นที่ขีดไว้
  • เลื่อยตามแนวตรง ที่ทำเครื่องหมายในแต่ละชิ้น และทำความสะอาดหน้าไม้ให้เรียบร้อย

ขั้นตอนที่ 4: ตัดเอียงองศา

ตัดตรงตามเส้นที่ขีดไว้
และตัดในแนวนอนเพื่อเก็บระนาบอีกข้างนึง
  • ใช้เลื่อยในการตัดไม้ตาม เส้นทแยงมุมที่ทำเครื่องหมายไว้ก่อนหน้านี้ โดยระวังไม่ให้เกินรอยที่ขีดไว้

ขั้นตอนที่ 5: ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก

ใช้เลื่อยญี่ปุ่น ซอยไม้
  • ใช้เลื่อยซอยให้ชิ้นไม้เล็กลงที่สุด เพื่อง่ายในการเซาะออก
ใช้สิ่วในการเซาะไม้ออกจากร่อง
  • หลังจากนั้นก็ใช้สิ่ว ค่อยๆ สกัดไม้ส่วนล่างที่ต้องการบากในร่องออกจากร่อง
ใช้เลื่อยหางหนูปรับหน้าไม้
  • ใช้เลื่อยหางหนูเก็บหน้าไม้เพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 6: ประกอบ

เดือยตัวผู้
เดือยตัวเมีย
  • เมื่อตัดชิ้นส่วนที่ต้องการประกอบครบแล้ว จะได้ลักษณะดังภาพด้านบน
ใช้ค้อนช่วยทุบในการประกอบ
  • เมื่อทำให้ร่องมีระนาบที่พอดีกันแล้วให้นำชิ้นส่วนที่สองมาประกอบกัน โดยใช้ค้อนค่อยๆตอกไม้
ประกอบชิ้นส่วนครบทั้งหมด
  • เมื่อประกอบกันเสร็จแล้วจะได้ลักษณะดังภาพ

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0
เลื่อยตัดท่อ

รีวิว เลื่อยตัดท่อ PVC / PE ZET-SAW PVC240 ตัดได้เร็ว รอยตัดสะอาด

กรรไกรตัดหญ้า

ปัจจัยในการเลือก กรรไกรตัดหญ้า ให้ตอบโจทย์กับงานที่ต้องการ