in

13 เครื่องมือช่าง พื้นฐาน ที่คุณจำเป็นต้องมีติดบ้าน และ ห้องทำงาน

เครื่องมือช่าง

ในปัจจุบันถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตได้มีการพัฒนาไปไกลมากแล้ว มีการนําเอาเครื่องจักรกลที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในโรงงานมากมายแต่เครื่องมือช่างพื้นฐานก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่ยังคงมีความสําคัญอยู่และจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง มีประจําอยู่ทุกโรงงานเพราะงานซ่อมสร้างและบํารุงรักษาเครื่องจักรกลและสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ในโรงงานยังต้องมีอยู่จึงจําเป็นต้องใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานเหล่านี้ในการปฏิบัติงาน แม้แต่ในบ้านเรือนเองก็ควรมีเครื่องมือช่างพื้นฐานที่จําเป็นบางอย่างไว้ประจําบ้าน เช่น ค้อน เลื่อย ไขควง สว่านมือ คีม ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ประแจแหวน และตะไบ เป็นต้น เพื่อไว้ใช้งานเมื่อจําเป็น

เครื่องมือช่าง พื้นฐานต่างๆ

เครื่องมือช่าง เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้เลย เช่น ควรใช้ไขควงในการขันสกรูเท่านั้นไม่ควรใช้ตอกแทนสิวอย่างที่ช่างหลายคนใช้ หรือการใช้คีมล็อค (Vice-Grip Pliers) จับหัวสกรูหรือหัวนอต (Nut) แล้วขันสกรูแทนที่จะใช้ประแจเลื่อน ประแจปากตาย หรือประแจแหวนขัน เป็นต้น ซึ่งจะทําให้หัวนอตหรือหัวสกรูเสียรูปไป และทําให้ไม่สามารถ ใช้ประแจขันหัวนอตหรือหัวสกรูได้อีกต่อไป การใช้ดอกสว่านหรือใบเลื่อยที่ไม่ถูกต้องก็เช่นเดียวกัน จะทําให้เกิดความเสียหายและความสิ้นเปลืองในการใช้ดอกสว่านหรือใบเลื่อยอย่างมากได้คือ ดอกสว่านหรือใบเลื่อยหักบ่อย กฎการใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานอย่างถูกต้องก็จะไม่ทําให้เกิดความเสีย หายขึ้นกับชิ้นงานหรือเครื่องมือเอง และเกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้วย เครื่องมือช่างพื้นฐานต่างๆ ที่จะกล่าวในที่นี้จะมีเรื่องไขควง เหล็กขีด เหล็กถ่ายแบบ เหล็กนําศูนย์ ประแจ คีม ค้อน สกัด อุปกรณ์จับยึด ปากกาจับงาน ซีแคลมป์ แคลมป์ขนาน ตะไบ เลื่อย หรือสว่าน เป็นต้น 

ไขควง (Screwdrivers) 

ไขควงเป็นเครื่องมือที่ใช้กันทั่วไปในการขันเกลียวหรือสกรู มีการผลิตกันหลายชนิดและหลายขนาด แต่ที่ผลิตและใช้กันมากที่สุดจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ไขควงปากแบน และไขควงปาก 4 แฉก ซึ่งผลิตออกมาหลายรูปแบบและหลายขนาด เช่น ชนิดด้ามปกติ ชนิดด้ามสั้นและชนิดออฟเซต ขนาดที่ผลิตออกมามี #1, #2, #3 และ #4 โดยจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงานคือ ขนาดของหัวสกรูและนอต ถ้าไขควงที่ใช้มีขนาดเล็กไปก็อาจจะทําให้ทั้งหัวสกรูและปากไขควงเยินเสียหายได้ ไขควงที่ดีจะต้องทํามาจากเหล็กเครื่องมือหรือเหล็กคาร์บอนปานกลางแล้วอบชุบแข็งที่ปากของไขควง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับปากไขควงมิฉะนั้นปากไขควงอาจเยินเสียหายได้ง่ายไขควงราคาถูกที่มีขายในท้องตลาดมักจะทํามาจากเหล็กเหนียวไม่ได้ชุบแข็งเพราะชุบแข็งไม่ได้ ปากไขควงจะมีความแข็งแรงต่ำ ทําให้ปากไขควงเยินเสียหายได้ง่ายไขควงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขันสกรูเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อย่างสกัดที่ใช้ในการตอกฉะนั้นจงอย่าใช้ไขควงแทนสกัดคือไม่ตอกไขควง นั่นเองเพราะจะทําให้ปากไขควงเสียหายและไม่อาจใช้งานที่ดีได้อีกต่อไป 

เครื่องมือช่าง
ไขควง (Screwdrivers) 

เหล็กขีด (Scribers)

เหล็กขีด คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับขีดเส้น มีลักษณะเป็นปลายแหลมคมเพื่อใช้ขีดชิ้นงาน ทําจากเหล็กคาร์บอนปานกลางแล้วอบชุบแข็งใช้ควบคู่กับบรรทัดเหล็กเพื่อขีดเส้นบนผิวโลหะตามต้องการ และจะต้องรักษาปลายแหลมคมของเหล็กขีดให้แหลมคมอยู่เสมอเพื่อประสิทธิผลของการใช้งาน 

เครื่องมือช่าง
เหล็กขีด (Scribers)

เหล็กถ่ายแบบและเหล็กนําศูนย์ (Prick Punches and Center Punches)

เหล็กถ่ายแบบและเหล็กนำศูนย์จะแตกต่างกกันตรงมุมแหลม เหล็กถ่ายแบบจะลับมุมแหลมให้ได้มุม 30 องศา มุมที่แหลมจะให้รูที่ตอกเล็กเรียบร้อยกว่าและแน่นอนกว่า ส่วนเหล็กนําศูนย์จะให้ลับเป็นมุม 60 องศา มุมที่ใหญ่กว่าเหล็กถ่ายแบบนี้จะทำให้เหล็กนําศูนย์มีความแข็งแรงกว่าเหล็กถ่ายแบบใช้สําหรับตอกรูนําการเจาะของดอกสว่านบนชิ้นงานที่ต้องการเจาะรู รูที่ตอกได้นี้จะใหญ่ทําให้ง่ายสําหรับทําหน้าที่นําการเจาะรูของดอกสว่าน เพิ่มความเที่ยงตรงในการเจาะในการตอกด้วยเหล็กถ่ายแบบหรือเหล็กนําศูนย์นั้นจะต้องตั้งเหล็กถ่ายแบบหรือเหล็กนําศูนย์ให้ตั้งได้ฉากกับผิวชิ้นงาน แล้วใช้ค้อนตอกลงไปที่หัวตามแนวแกนของเหล็กถ่ายแบบหรือเหล็กนําศูนย์

เครื่องมือช่าง
เหล็กถ่ายแบบและเหล็กนําศูนย์ (Prick Punches and Center Punches)

เหล็กขีด เหล็กถ่ายแบบ และเหล็กนําศูนย์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการหมายงาน (Layout) มักจะทํามาจากเหล็กเครื่องมือ (Tool Steels) หรือเหล็กคาร์บอนปานกลาง แล้วทําการอบชุบ แข็งเพื่อเพิ่มความแข็งและความแข็งแรงให้กับเครื่องมือ 

เหล็กตอกรูหรือตุ๊ดตู (Hollow Punches)

เหล็กตอกรูหรือตุ๊ดตูใช้สําหรับตอก เจาะรูแผ่นปะเก็นยางพลาสติก หรือ แม้แต่โลหะอะลูมิเนียมแผ่นบางก็สามารถตอกเจาะ รูด้วยเหล็กตอกรูหรือตุ๊ดตู้ได้โดยรองแผ่นชิ้นงานด้วยแผ่นไม้หนาหรือพลาสติก เช่น ในลอน เป็นต้น แล้ววางตุ๊ดตูในตําแหน่งที่ต้องการเจาะรูจากนั้นใช้ค้อนตอกลงไปที่ปลายด้ามตุ๊ดตูให้ ทะลุแผ่นชิ้นงาน ก็จะได้รูตามขนาดของตุ๊ดตู้ที่เลือกตามต้องการเหล็กตอกรูหรือติดต่อมักจะทำมาจากเหล็กเครื่องมือ (Tool Steels) หรือเหล็กคาร์บอนปานกลางแล้วอบชุบแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปากเหล็กตอกรูหรือตุ๊ดตู้เพื่อเพิ่มความแข็งและความแข็งแรงให้กับเครื่องมือจากนั้นลับปากให้คมเพื่อจะได้นําไปใช้งานต่อไป 

เครื่องมือช่าง
เหล็กตอกรูหรือตุ๊ดตู (Hollow Punches)

ประแจ (Wrenches or Spanners)

ประแจมีไว้สําหรับการขันสกรูต่างๆ มีหลายชนิด เช่น ประแจปากตาย ประแจแหวน ประแจบอกซ์ ประแจเลื่อน ประแจตัวแอลหรือประแจหกเหลี่ยม และประแจสลัก เป็นต้น ประแจต่างๆ เหล่านี้จะทํามาจากเหล็กเครื่องมือหรือเหล็กคาร์บอนปานกลางแล้วอบชุบแข็งเพื่อ เพิ่มความแข็งแรงให้กับเครื่องมือ 

ประแจปากตาย (Open End Wrench)
ประแจปากตายมีทั้งชนิดด้านเดียว และชนิด 2 ด้านมีขนาดต่างๆ ให้เลือกใช้จะมีทั้งประแจนิ้วและประแจมิลลิเมตรเพื่อให้เหมาะกับการขันหัวสกรู และนอตที่อยู่กันคนละระบบในการเลือกใช้ประแจนี้สิ่งสําคัญที่สุดก็คือจะต้องเลือกใช้ประแจให้ได้ขนาดพอดีกับหัวสกรูหรือหัวนอตเพื่อว่าเมื่อขันสกรูจะได้ไม่เกิดการลื่นไหลเกิดขึ้นทําให้หัวสกรูหรือหัวนอตเสียหายได้

เครื่องมือช่าง
ประแจปากตาย (Open End Wrench)

ประแจแหวน (Double head or Box end Wrenches)
ประแจแหวน 2 ด้าน จะมีความแน่นอนในการใช้งานมากกว่าประแจปากตาย เพราะขนาดที่ใช้จะต้องสวมพอดีกับหัวสกรูหรือนอตไม่มีช่องว่างที่จะให้มีการลื่นไหลเกิดขึ้นเมื่อขันสกรู และเนื่องจากที่หัวประแจมีอยู่ 12 จุด ให้ยึดกับหัวสกรหรือนอตได้ทุกจุด ฉะนั้นในการขันจึงสามารถขันได้ที่ละน้อยๆ หรือขันในที่แคบๆ ได้ จะมีทั้งประแจนิ้วและประแจมิลลิเมตรเช่นกัน 

เครื่องมือช่าง
ประแจแหวน (Double head or Box end Wrenches)

ประแจปากผสม หรือ ประแจแหวนข้างปากตาย (Combination Wrenches)
จะมีหัวด้านหนึ่งเป็นประแจปากตาย และอีกด้านหนึ่งเป็นประแจแหวนเป็นประแจที่มีการใช้งานและข้อควรระวังเช่นเดียวกันกับประแจปากตายและประแจแหวน แต่ความสะดวกในการเลือกใช้งานจะมีมากกว่า 

เครื่องมือช่าง
ประแจปากผสม (Combination Wrenches)

ประแจบล็อก (Box and Socket Wrenches)
จะมีการทํางานและการใช้งานเช่นเดียวกันกับประแจแหวนคือมี 12 จุด เช่นเดียวกัน แต่ มีความสะดวกต่อการใช้งานในบริเวณที่คับแคบมากกว่า มีทั้งประแจบอกชนิ้วและประแจ บอกซ์มิล มีด้ามหลายแบบให้เลือกใช้ตามต้องการ มีด้ามแบบธรรมดาและด้ามที่กําหนดขนา ของแรงบิด (Torque) ได้ 

เครื่องมือช่าง
ประแจบอกซ์ (Box and Socket Wrenches)

ประแจเลื่อน (Adjustable Wrenches)
เป็นประแจที่สามารถปรับระยะให้ได้ตามขนาดของหัวสกรูหรือหัวนอต เหมาะสําหรับใช้กับหัวสกรูหรือหัวนอตเก่าที่ชํารุดเสียหายผิดขนาดมาตรฐานไป หรือหัวนอตเหมาะสำหรับใช้กับหัวสกรูหรือหัวนอตที่มีขนาดใหญ่ ในการใช้งานจะต้องปรับเลื่อนให้ปากของประแจเลื่อนแนบพอดีกับหัวสกรูหรือหัวนอต ถ้าปรับไม่พอดีกับขนาดของหัวสกรูหรือหัวนอต ก็อาจจะเกิดการลื่นไหลได้เมื่อขันสกรูซึ่งจะทําให้หัวสกรูหรือหัวนอตชำรุดเสียหายมากขึ้นได้หรือเสียมากจนไม่อาจใช้ประแจเลื่อนในการขันได้อีกต่อไป สําหรับขนาดที่ใช้ควรเลือกใช้ขนาดที่พอเหมาะกับความโตของหัวสกรหรือหัวนอต ถ้าใช้ขนาดใหญ่ไปและออกแรงขันมากไป จะทําให้เกิดแรงบิดมากจนอาจทําให้หัวสกรหรือหัวนอตขาดได้ ฉะนั้นในการขันสกรูหรือหัวนอตจึงควรใช้แรงในการขันแต่พอประมาณเท่านั้นก็พอขนาดของประแจเลื่อนใช้กันจะมีขนาดตั้งแต่ 4, 6, 8, 10, 12 นิ้ว ไปจนถึงขนาด 30 นิ้ว

เครื่องมือช่าง
ประแจเลื่อน (Adjustable Wrenches)

ประแจตัวแอลหรือประแจหกเหลี่ยม (Allen Wrenches)
ใช้ขันสกรูหัวฝังทําจากเหล็กเครื่องมือและผ่านการอบชุบแข็ง จะมีเป็นชุดขนาดต่างๆ กันมีทั้งระบบนิ้วและระบบเมตริกหรือมิลลิเมตร ก่อนการเลือกประแจตัวแอลมาใช้งานจะต้องดูให้แน่ชัดก่อนว่าสกรูที่จะขันเป็นเกลียวนิ้วหรือเกลียวมิล ถ้าเลือกใช้ผิดจะทําให้หัวสกรูเสียหายได้ 

เครื่องมือช่าง
ประแจตัวแอลหรือประแจหกเหลี่ยม (Allen Wrenches)

ประแจสลัก (Pin Spanner Wrenches)
เป็นประแจพิเศษซึ่งจัดทําขึ้นและหรือจัดหาโดยผู้ผลิตเครื่องจักรกลสําหรับใช้กับเครื่องจักรกล เฉพาะเครื่องที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ

เครื่องมือช่าง
ประแจสลัก (Pin Spanner Wrenches)

คีม (Pliers)

คีมมีไว้สําหรับจับตัด และดัดชิ้นงานเล็กๆ เช่น จับชิ้นงานเพื่อเจาะรู จับชิ้นงานเพื่อเชื่อ จับชิ้นงานที่ร้อนจากการเชื่อมเพื่อย้ายที่รวมถึงการตัด หรือดัดลวดขนาดเล็ก เป็นต้น คีมมีหลายชนิดซึ่งแต่ละชนิดจะเรียกตามรูปร่าง ตามโครงสร้าง หรือตามการใช้งานมีดังนี้ 

คีมปากปรับได้ (Combination or Slip Joint Pliers)
เป็นคีมที่สามารถปรับความกว้างของ ปากให้สามารถจับชิ้นงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ได้

เครื่องมือช่าง
คีมปากปรับได้ (Combination or Slip Joint Pliers)

คีมตัดข้าง (Side Cutting Pliers)
ใช้ในการตัด จับ หรืองอชิ้นงานขนาดเล็ก ได้ เช่น ตัดหรืองอลวดขนาดไม่เกิน 1/8 นิ้ว

เครื่องมือช่าง
คีมตัดข้าง (Side Cutting Pliers)

คีมปากยาว (Long Nose Pliers)
มีประโยชน์มากในการจับยึด ชิ้นงานขนาดเล็กๆ เพื่อให้ไว้ในตําแหน่งที่เข้าถึงได้ยาก นอกจากนี้ยังใช้สําหรับการตัด หรืองอและขึ้น รูปลวดได้ด้วย

เครื่องมือช่าง
คีมปากยาว (Long Nose Pliers)

คีมตัดปากกรรไกร (Diagonal Pliers)
ใช้สําหรับตัดลวดโดยเฉพาะและสําหรับตัดชิ้นโลหะนิ่มขนาดเล็ก 

เครื่องมือช่าง
คีมตัดปากกรรไกร (Diagonal Pliers)

คีมล็อค (Vice-Grip Pliers)
ให้กําลังหรือแรงในการจับยึดสูงเพราะมีคานล็อคที่สามารถปรับระยะตําแหน่งเพื่อให้ เกิดแรงจับยึดตามที่เราต้องการได้ คีมล็อคมีไว้ใช้ในการจับยึดโลหะแผ่นและท่อหรือเพลาขนาดเล็ก
อย่าใช้คีมล็อคในการจับหัวสกรูหรือหัวนอตเพื่อขันโดยเด็ดขาด เพราะจะทําให้หัวสกรูหรือหัวนอต เสียหายและเสียรูปจนไม่สามารถใช้ประแจปากตาย ประแจแหวน หรือประเจเลื่อนมาขันอีกต่อไปได้ คีมล็อคมีหลายรูปแบบ เช่น แบบมาตรฐาน หรือแบบซีแคลมป์ เป็นต้น 

เครื่องมือช่าง
คีมล็อค (Vice-Grip Pliers)

คีมตัดลวด (Wire Cutter)
ใช้สําหรับตัดลวด ตัดหัว  ตะปูและถอนตะปูสําหรับใช้ในงานช่างไม้โดยทั่วไป สําหรับปากของคีมตัดลวดนั้นจะต้องคอยตะไบให้ ปากของคีมมีความคมและปากแนบชิดสนิทกันเสมอ เพื่อให้การตัดลวดหรือหัวตะปูมีประสิทธิภาพดี คือไม่ต้องใช้แรงมากก็สามารถตัดได้ คีมตัดลวดจะทํามาจากเหล็กคาร์บอนปานกลางแล้วทําการอบชุบแข็งที่ปากคีมเพื่อให้มีความแข็งเพิ่มขึ้นซึ่งจะได้ทนต่อการใช้งาน

เครื่องมือช่าง
คีมตัดลวด (Wire Cutter)

ค้อน (Hammers)

ค้อนถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากที่สุดของช่าง อาจจะเป็นช่างไม้ช่างซ่อมบํารุง หรือช่างทั่วไป เพราะเป็นเครื่องมือที่จะต้องใช้ตลอดเวลา ค้อนที่ใช้กันมีอยู่หลายชนิด เช่น ค้อนหงอนหรือค้อนช่างไม้ (Claw Hammers) สําหรับช่างไม้ไว้ตอกและถอนตะปู ค้อนปอนด์หรือค้อนช่างเหล็กซึ่งเป็นก้อนแข็งสําหรับช่างปรับ ช่างซ่อมบํารุง หรือช่างตีเหล็ก โดยปกติค้อนปอนด์ที่มีการผลิตออกมาใช้กันมีหัวค้อนอยู่ 3 แบบ ค้อนหัวกลม (Ball Peen) ค้อนหัวตรง (Straight Peen) ค้อนหัวขวาง (Cross Peen) ค้อนช่างไม้และค้อนปอนด์อย่างดีจะทํามาจากเหล็กเครื่องมือ หรือเหล็ก คาร์บอนปานกลางซึ่งมีคาร์บอนอยู่ประมาณ 0.6 เปอร์เซ็นต์ หล่อหรือทุบขึ้นรูปตามที่ต้องการ แล้วทําการอบชุบแข็งที่หน้าค้อนและหัวค้อน จากนั้นทําการถอนความแข็งเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ ค้อนเปราะ แต่ส่วนอื่นยังคงความเหนียวอยู่ 

เครื่องมือช่าง
ค้อน (Hammers)

ในบรรดาค้อนปอนด์หรือค้อนช่างเหล็กทั้ง 3 รูปแบบนั้น ค้อนรูปแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด จะเป็นค้อนปอนด์ชนิดหัวบอลซึ่งใช้หัวบอลในการย้ําหมุดย้ําและการตีหรือ ดัดขึ้นรูป ขนาดของค้อนที่ใช้จะมีตั้งแต่ขนาด ¼ ปอนด์ ถึง 3 ปอนด์ แต่ขนาดที่ใช้กันมากที่สุด ขนาด ½ ปอนด์ ถึง 2 ปอนด์ ค้อนเบาใช้สําหรับงานเบาๆ เช่น การหมุดย้ําตัวเล็ก การตอกนำศูนย์ และการใช้กับสกัดตัวเล็ก เป็นต้น ค้อนหนักจะใช้กับการสกัดงานใหญ่ ตอกพลเลย์(Pulley)ใส่เพลา หรือตอกเพลาใส่รู เป็นต้น สําหรับด้ามค้อนนั้นอาจจะทําด้วยไม้ พลาสติก หรือเหล็กก็ได้ แต่ด้ามค้อนที่ทําด้วยไม้จะดีที่สุด เพราะจะดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ดีทําให้ไม่เจ็บมือ และควรจะเป็นไม้เนื้อแข็งและเหนียว เช่น ไม้แดง ไม้พะยูง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะค่า ไม่ควรใช้ให้ แข็งที่แตกง่ายหรือไม้เนื้ออ่อน 

งานที่ต้องการค้อนนิ่ม (Soft Hammers) เช่น งานโลหะแผ่น เป็นต้น ซึ่งไม่ต้องการให้เกิด ความเสียหายให้กับผิวหน้าชิ้นงานเมื่อเกิดการเคาะหรือตีบนผิวงาน ช่างเหล็กจะเลือกใช้ค้อนที่หัว ค้อนอาจทํามาจากวัสดุนิ่ม เช่น พลาสติก ยาง หนัง หรือไม่ก็ได้ และจะเรียกค้อนเหล่านี้ว่า ค้อนพลาสติก ค้อนยาง ค้อนทองแดง ค้อนตะกั่ว ค้อนหนัง และค้อนไม้ เป็นต้น

เหล็กสกัด (Chisels)

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ก้าวไปไกลมากแล้วก็ตาม สกัดที่เป็นเครื่องมือช่างอันเก่าแก่ก็ยังคงความสําคัญของมันต่อช่างเหล็ก ช่างปรับ และวิศวกรที่ต้องการใช้งานมันในบางงานอยู่ สกัดที่ใช้กันโดยทั่วไปมี 4 ชนิดคือ สกัดปากแบน สกัดปากจิ้งจก สกัดปากครึ่งวงกลม สกัดปากแหลม สกัดทํามาจากแท่งเหล็กเครื่องมือหรือเหล็กไฮคาร์บอนหกเหลี่ยมขนาด ¾  นิ้ว สําหรับสกัดขนาดใหญ่และขนาด ⅜ นิ้ว สําหรับสกัดขนาดเล็ก แล้วทําการอบชุบแข็งและถอน ความแข็งที่หัวและที่ปลายคมสกัดที่มุมคมสกัดนอกจากต้องลับให้ได้มุมคมสกัดตามที่ต้องการแล้ว ไม่ควรลับคมสกัดให้ตรง ทีเดียว แต่ควรจะลับให้มุมคมโค้งเล็กน้อยหลังจากที่ทุบขึ้นรูปสกัดจากเหล็กแท่งและตบแต่งให้ได้ รูปแล้ว จากนั้นจะต้องทําการอบชุบแข็งและถอนความแข็งที่หัวและที่คมสกัดให้ได้ความแข็งตาม ต้องการเพราะถ้าคมสกัดแข็งไปจะเปราะและบินง่ายเมื่อใช้งาน การลับคมสกัดต้องระมัดระวัง เป็นพิเศษ ไม่ลับคมสกัดจนร้อนแดงเพราะคมสกัดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทําให้ คมสกัดอ่อนและนิ่มลงได้ ซึ่งจะทําให้ต้องอบชุบแข็งใหม่ สกัดสามารถใช้ในการตัดโลหะแผ่น บาง โลหะแผ่นหนาได้แสดงค่ามุมคมสกัดที่ใช้เป็นแนวทางสําหรับโลหะชนิดต่างๆ 

เครื่องมือช่าง
เหล็กสกัด (Chisels)

เหล็กขูด (Scrapers)

เหล็กขูดหรือที่คนไทยเราเรียกกันว่า เหล็กขูดชาฟต์ (Shaft) เป็นเหล็กขูดที่ใช้สําหรับการขูดปรับผิวหน้าของชิ้นงานโลหะบางจุดที่นูนไม่ได้ระนาบให้ลดความนูนลงจนได้พื้นผิวงานโลหะที่ มีความเรียบเป็นระนาบที่แท้จริง โดยใช้เหล็กขูดแบน (Flat Scraper) หรือจะเป็นการขูดปรับเนื้อโลหะของรูให้ได้ขนาดเพื่อการสวมใส่เพลา (Shafts) การขูดปรับจะต้องทําด้วยมือซึ่งช้าและเป็นงานที่น่าเบื่อ และถึงแม้ว่าจะมีการใช้เครื่องจักรกล เช่น เครื่องกัด หรือเครื่องเจียระไน เป็นต้น มาใช้แทนงานขูดปรับไปมากแล้วก็ตามแต่งานขูดปรับก็ยังมีความจําเป็นสําหรับงานบางงานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานซ่อม เหล็กขูดจะทํามาจากเหล็กคาร์บอนสูงหรือไฮคาร์บอน (High Carbon Steels) หรือเหล็ก ทําเครื่องมือ (Tool Steels) เมื่อทําให้ได้รูปร่างตามต้องการแล้วก็จะทําการอบชุบให้แข็งมากเพื่อใช้ในการขูดปรับ

เครื่องมือช่าง
เหล็กขีด (Scribers)

ปากกาจับชิ้นงาน (Bench Vises)

อุปกรณ์จับยึดชิ้นงานเป็นสิ่งที่จําเป็นสําหรับงานช่างซึ่งขาดเสียไม่ได้ ถ้าขาดไปลําบากอุปกรณ์จับยึดที่ใช้กันโดยทั่วไป

เครื่องมือช่าง
ซีแคลมป์ (C-Clamp)
เครื่องมือช่าง
แคลมป์ขนาน (Toolmaker’s Parallel Clamp) จะทำมาจากเหล็กเหนียว
เครื่องมือช่าง
ปากกาจับชิ้นงาน (Vises) อาจจะวัสดุเหล็กเหนียว เหล็กหล่อ หรืออะลูมิเนียม

ขนาดของปากกาจับชิ้นงาน
จะกําหนดตามความกว้างของปากจับงาน มีตั้งแต่ขนาด 2, 3, 4, 6 และ 8 นิ้ว เป็นต้น แต่ที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นขนาด 4 นิ้ว และขนาด 6 นิ้ว สําหรับปากจับชิ้นงานนั้นจะทําด้วยเหล็กคาร์บอนปานกลางหรือเหล็กเครื่องมือ รีดขึ้นลาย แล้วอบชุบเข็ง เพื่อเวลาจับชิ้นงานจะได้ไม่ลื่น แต่อาจจะทําลายผิวชิ้นงานได้ ฉะนั้นในการจับชิ้นงานถ้าจะมีผล งานบ้าผิวชิ้นงานเสียหาย ก็จะต้องหาวัสดุอ่อนหรือนิมมารองก่อนจับ เช่น แผ่นทองเหลือง ทองแดง หรืออะลูมิเนียม เป็นต้น เพื่อป้องกันมิให้ผิวหน้าชิ้นงานเสียหาย

ชนิดของปากกาจับงาน
ปากกาจับงานอาจจําแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ชนิดคือ ปากกาจับงานทั่วไป และปากกาจับงานกัดหรือเจาะรูชนิดปกติบนเครื่องกัด หรือเครื่องเจาะ และชนิดปรับตั้งมุม

ข้อควรระวังในการใช้ปากกาจับงาน มีดังนี้ 
1. ปากกาจับงานต้องจับยึดอยู่บนโต๊ะทํางานอย่างแน่น แข็งแรง และไม่มีการคลอน 
2.ถ้าต้องใช้ค้อนทุบงานให้ทุบไปในทิศทางที่แรงไปกระทําต่อปากจับยึดชิ้นงานที่เคลื่อนที่ไม่ได้เท่านั้นเพราะส่วนนี้รับแรงได้มากกว่า 
3. อย่าใช้ปากกาจับงานให้ทําหน้าที่แทนทั่งตีเหล็ก 
4. ต้องจับยึดชิ้นงานให้เต็มหน้าปากจับยึดงานเท่าที่จะเป็นไปได้และต้องจับให้แน่นก่อนทํางานเสมอ เพื่อป้องกันชิ้นงานหลุดออกจากปากจับยึดชิ้นงานซึ่งอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ 
5. ระวังอย่าให้ใบเลื่อยดอกส่วนหรือการเชื่อมเหล็กกระทําถูกตัวปากกาจับงานเพราะจะทําให้ปากกาจับงานเสียหายได้ 

ตะไบ (Rasp)

เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานของงานช่างทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นช่างเหล็ก ช่างปรับแต่งและช่างซ่อมบํารุงได้นําไปใช้กันอย่างกว้างขวางในอดีตและ ปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ ตะไบมีหลายชนิดจะมีการแบ่งตามจํานวนฟันต่อนิ้วคือ ตะไบฟันหยาบ และตะไบฟันละเอียด และแบ่งตามรูปร่างของตะไบ เช่น ตะไบแบน ตะไบกลม ตะไบครึ่งกลม ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบสี่เหลี่ยม เป็นต้น การเลือกใช้และการตะไบอย่างถูกต้องจะทําให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ควรใช้ตะไบฟันหยาบเมื่อต้องการตะไบเนื้อโลหะออกเร็วแต่จะได้ผิวชิ้นงานที่ตะไบหยาบ ถ้าต้องการผิวที่ละเอียดก็ต้องเลือกตะไบฟันละเอียด สําหรับการตะไบโลหะที่มีเนื้อโลหะอ่อนนิ่ม ก็ต้องเลือกใช้ตะไบฟันหยาบ เพราะถ้าใช้ตะไบฟันละเอียดกับโลหะนิ่ม เนื้อโลหะที่ตะโบออกก็จะมาอุดติดร่องฟันของตะไบจนไม่สามารถทําการตะไบได้อีกต่อไป และจะเสียเวลากับการงัดแงะเนื้อโลหะที่ติดร่องฟันตะไบออกก่อนที่จะเริ่มทําการตะไบใหม่ได้อีก

เครื่องมือช่าง
ประเภทตะไบ

เลื่อย (Saws) 

กระบวนการตัดแท่งวัสดุหรือโลหะนั้นเป็นกระบวนการใช้มีดตัดมากคมมีดด้วยกันในการ ตัดเฉือนเนื้อวัสดุหรือโลหะให้แยกออกจากกัน เครื่องมือช่างที่ใช้ในกระบวนการตัดพื้นฐานที่ใช้กัน

เครื่องมือช่าง
เลื่อยมีหลายประเภท ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

ช่างปรับและช่างซ่อมบํารุงที่ใช้ในการตัดงานโลหะต่างๆ เลื่อยชักมือจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วน 3 ชิ้นส่วนด้วยกันคือ โครงเลื่อย ที่มือจับ และใบเลื่อย ตัวโครงเลื่อยจะมีทั้งแบบกลวงและแบบตัน มีทั้งแบบ ความยาวตายตัวและแบบปรับความยาวได้ แบบชนิดความยาวตายตัวจะแข็งแรงกว่าชนิดปรับความยาวได้จะเป็นที่นิยมมากกว่า ขนาดของใบเลื่อยที่ใช้จะมีความยาว 10 – 12 นิ้ว (250 – 300 มิลลิเมตร) กว้าง ½ นิ้ว แต่ที่ใช้กันโดยทั่วไปจะมีความยาว 10 นิ้ว หรือ 250 มิลลิเมตรที่ปลายโครงเลื่อยจะมีนอตหางปลา (Wing Nut) เพื่อให้ขันปรับใบเลื่อยให้ ถึงทุกครั้งก่อนนําเอาเลื่อยไปใช้ 

ใบเลื่อย (Saw Blades)

ใบเลื่อยอาจทํามาจากเหล็กไฮคาร์บอนหรือเหล็กไฮสปีด (High Speed Steels) ใบเลื่อยเหล็กไฮสปีดจะแพงกว่า แต่ความแข็งแรงและความทนทานจะมีมากกว่าใบเลื่อยเหล็กไฮคาร์บอนมาก ฉะนั้นถึงแม้ราคาจะแพงกว่าแต่ก็คุ้มค่ากว่าในการใช้งานในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หากใช้งานไม่บ่อย เช่น ใช้ในการตัดท่อพลาสติกพีวีซีเพื่อเดินท่อประปาชั่วครั้งชั่วคราว การซื้อใบเลื่อยเหล็กไฮคาร์บอนมาใช้ซึ่งถูกกว่ามากก็น่าจะใช้ได้ ไม่เป็นปัญหา ใบเลื่อยจะมีชนิดที่อบชุบแข็งทั้งใบและอบชุบแข็งเฉพาะที่ฟันเลื่อย ใบเลื่อยของเลื่อยชักจะอบ ชุบแข็งเฉพาะที่ฟันเลื่อยนั้นจะเป็นพวกใบเลื่อยสายพาน ตัวใบเลื่อยไม่เปราะจึงหักยากกว่า 

เครื่องมือช่าง
ใบเลื่อย (Saw Blades)

ชนิดของใบเลื่อยนั้นจะมีการจําแนกออกตามจํานวนฟันต่อนิ้ว เช่น 14, 16, 24 และ 32 ฟัน/นิ้ว เป็นต้น แต่เรามักจะจําแนกการเรียกใบเลื่อยออกเป็นใบเลื่อยฟันหยาบและใบเลื่อยฟันละเอียด ใบเลื่อยที่ใช้กันส่วนมากจะอยู่ในช่วง 16-18 ฟัน/นิ้วหรือที่เรียกกันว่า ใบเลื่อยฟันหยาบ และ 24 ฟัน/นิ้ว หรือที่เรียกกันว่า ใบเลื่อยฟันละเอียด สําหรับเลื่อยเหล็กไลต์เกจหรือท่อเหล็กบาง ฟันเลื่อยจะมีการดัดให้ฟันเอียงซ้ายและเอียงขวา เพื่อให้เกิดคลองเลื่อย เมื่อเลื่อยชิ้นงานเพื่อว่าตัวใบเลื่อยจะได้ไม่ถูกชิ้นงานหนีบไว้จนเลื่อยได้ยากลําบากหรือเลื่อยไม่ได้ สามารถชักกลับไปกลับมาในการเลื่อยได้สะดวกขณะเลื่อยได้ 

มาตรการในการเลือก ใบเลื่อย 
การเลือกใบเลื่อยได้ถูกต้องจะทําให้การเลื่อยมีประสิทธิภาพ สามารถเลื่อยได้เร็วและใบเลื่อยไม่หัก มาตรการในการเลือกใบเลื่อยมีแนวทางให้เลือกดังนี้คือ 
1. เลื่อยทองเหลือง ทองแดง เหล็กหล่อ เหล็กแผ่นหนาและอะลูมิเนียมให้เลือกใช้ ใบเลื่อย 14 ฟัน/นิ้ว 
2. เลื่อยเหล็กโครงสร้าง เหล็กแผ่นบาง ท่อเหล็กบาง (เหล็กไลต์เกจ) ให้เลือกใช้ใบเลื่อยเช่น 24 ฟัน/นิ้ว 
3. เลื่อยเหล็กแผ่นบางมาก (เหล็กไลต์เกจชนิดบางสุด) ให้ใช้ใบเลื่อย 32 ฟัน/นิ้ว 

การใส่ใบเลื่อย
ต้องใส่ให้ฟันเลื่อยพุ่งไปข้างหน้า และปรับใบเลื่อยให้ตึงบนโครงเลื่อย การเลื่อยจะต้องเลื่อยอย่างช้าๆ และสม่ำเสมอโดยการชักใบเลื่อยให้สุดช่วงชัก กดใบเลื่อยลงในช่วงจังหวะเดินหน้า ไม่ต้องกดในช่วงจังหวะถอยกลับใบเลื่อยอาจจะหักได้อันเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 
1. เลื่อยเร็วเกินไปหรือเลื่อยไม่ถูกต้อง การชักที่ผิดพลาด 
2. ออกแรงกดให้กับใบเลื่อยมากไป 
3. ไม่ได้ขันใบเลื่อยให้ตึง 
4. การเลื่อยไม่สม่ําเสมอ ช้าบ้าง เร็วบ้าง
5. จับชิ้นงานไม่มั่นคง 
6. แนวฟันหรือคลองฟันเลื่อยตกร่องเพราะใช้ใบเลื่อยไม่ถูกต้อง 

ในการเลื่อยโลหะแผ่นบางจะต้องให้ฟันเลื่อยอยู่บนเนื้องานอย่างน้อย 2 ฟัน โลหะแผ่นบางจะได้ไม่ตกร่องฟันเลื่อย ถ้าโลหะแผ่นบางตกร่องฟันเลื่อย จะทําให้เกิด การสะดุดขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้ใบเลื่อยหักได้

ขอบคุณ iTOOLMART ที่เอื้อเฟื้อเครื่องมือช่างในบทความนี้

What do you think?

19 Points
Upvote Downvote

Comments

Comments

Loading…

0

Written by Simon Harper

THE TECHNOLOGY IS ONE

ไมโครมิเตอร์

คุณรู้หรือไม่ว่า ไมโครมิเตอร์คืออะไรแล้วใช้ทำอะไร

เลื่อยฉลุ

ประเภท เลื่อยฉลุ ที่เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ