in

ประเภทของท่อที่ใช้ใน อาคารและบ้านของคุณ

ท่อ PVC

ท่อนับเป็นวัสดุที่ขาดไม่ได้ที่ต้องใช้ในงานระบบทั้งระบบไฟฟ้า และระบบประปา ซึ่งท่อนั้นมีมากมายหลากหลายประเภทที่ใช้งานแตกต่างกันไป ในบทความนี้เราจะมาแนะนำว่าท่อแต่ละชนิดจะเหมาะสมกับงานประเภทไหนบ้าง

ท่อเหล็กกล้า

ท่อเหล็กกล้า

สําหรับเหล็กกล้าที่ใช้ทําท่อชนิดนี้ ได้แก่ เหล็กกล้าละมุนซึ่งมีทั้งชนิด ที่อาบสังกะสีและไม่อาบสังกะสี ท่อเหล็กกล้าชนิดที่อาบสังกะสีจะเรียกว่า ท่อประปา ท่อชนิดนี้จะมีความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดี และส่วนใหญ่จะถูกใช้เป็นท่อจ่ายระบบน้ำประปาภายในบ้าน แต่ก็สามารถใช้เป็นท่อในระบบระบายอากาศได้ ท่อเหล็กกล้าชนิดไม่อาบสังกะสี เรียกว่า ท่อเหล็กดำท่อชนิดนี้จะถูกนําไปใช้เป็นท่อไอน้ำนั่นเอง

ท่อเหล็กกล้าโดยทั่วไปมีทั้งชนิดมีตะเข็บ และชนิดไม่มีตะเข็บ สําหรับชนิดมีตะเข็บ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเชื่อมตะเข็บแบบต่อชน ความยาวมาตรฐานของท่อชนิด นี้เท่ากับ 6 เมตร ส่วนชนิดไม่มีตะเข็บจะยาวตั้งแต่ 4-6 เมตร ท่อทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีขนาดความใหญ่ซึ่งวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อตั้งแต่ 1/8-12 นิ้ว สําหรับท่อที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ นิยมกําหนดขนาดจากความใหญ่ซึ่งวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของท่อ ท่อทุกขนาดจะมีทั้งแบบมาตรฐาน แบบหนาพิเศษ และแบบหนาพิเศษ 2 ชั้น ท่อชนิดนี้แต่ละขนาด ไม่ว่าจะเป็นแบบหนามาตรฐาน แบบหนาพิเศษ หรือแบบหนาพิเศษ 2 ชั้นก็ตาม จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อเท่ากันหมดทุกแบบดังนั้นจึงทําให้สามารถใช้ข้อต่อท่อขนาดเดียวกันได้ ท่อชนิดนี้โดยทั่วไปจะมีเกลียวทั้ง 2 ข้าง

ท่อเหล็กหล่อ 

ท่อเหล็กหล่อ

สําหรับเหล็กหล่อที่ใช้ทําท่อชนิดนี้ได้แก่ เหล็กหล่อสีเทาเนื่องจาก มีความแข็งแรงและต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ท่อชนิดนี้หลังการหล่อจะถูกอาบด้วยน้ำมันดํา ซึ่งสกัดมาจากถ่านหิน เพื่อป้องกันสนิมระหว่างการเก็บรักษานั่นเอง

ท่อเหล็กหล่อ แบบมีบ่ารับ

ท่อแบบนี้จะมีทั้งชนิดบ่ารับเดียวและชนิดบ่ารับคู่ ชนิดบ่ารับเดี่ยวปลายด้านหนึ่งจะยกเป็นขอบ ส่วนที่ปลายอีกด้านหนึ่งจะทําเป็นบ่ารับ ส่วนชนิดบ่ารับค่นั้นจะมีบ่ารับที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นเมื่อต้องการท่อที่มีบ่ารับท่อสั้นๆ จึงควรตัดชนิดบ่ารับเดี่ยว จะมีขนาดความยาวมาตรฐาน 2 ขนาดคือ ขนาดความยาว 1 เมตร และ 3 เมตร ชนิดบ่ารับคู่ก็จะมีขนาดความยาว 2 ขนาดคือ ขนาด 30 นิ้ว และ 3 เมตร ท่อแบบนี้จะมีความหนา 2 ขนาด ได้แก่ความหนาที่ใช้กับงานทั่วไป กับขนาดความหนาพิเศษ สําหรับขนาดของท่อซึ่งวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อจะเริ่มตั้งแต่ 2-15 นิ้ว ดังนั้นใน การเปรียบเทียบขนาดของท่อขนาดเดียวกัน จึงควรที่จะระบุขนาดความโตและน้ำหนักของท่อ

ท่อเหล็กหล่อ แบบไม่มีบ่ารับ 

จากท่อชนิดบ่ารับคู่ เพื่อให้ส่วนที่เหลือสามารถที่จะนําไปใช้กับส่วนอื่นๆ ของระบบได้ในเกือบทุกกรณี จึงจะเป็นการ ประหยัดมากกว่าการซื้อท่อชนิดบ่ารับเดียวมาใช้ ท่อแบบนี้จะต่อเข้าด้วยกันด้วยวิธีการง่ายๆ โดยการอัดปลายท่อเข้าไปในปลอกยางแต่ละด้าน แล้วรัดด้วยสายรัดเหล็กกล้าไร้สนิมให้แน่น ท่อแบบนี้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อตั้งแต่ 1 1/2 – 10 นิ้ว ยาว 3 เมตร จะพบว่าท่อแบบไม่มีบ่ารับขนาด 4 นิ้ว ยาว 3 เมตรจะหนัก 33 กิโล และจะพบว่าท่อชนิดบ่ารับเดี่ยว ที่ใช้กับงานทั่วไปขนาด 4 นิ้ว ยาว 3 เมตรจะหนักเพียง 34 กิโล ต่างกันนิดหน่อย

ท่อทองแดง

ท่อทองแดง

ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปกับระบบประปาในปัจจุบัน จะจําแนก ออกตามขนาดความหนาของท่อได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ ชนิด K, L, M และ DWV โดยที่ท่อ ทองแดงชนิด K จะเป็นท่อที่มีความหนามากที่สุด ในขณะที่ท่อชนิด DWV เป็นท่อที่บางที่สุด ท่อทั้ง 4 ชนิดที่มีขนาดเดียวกัน จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อเท่ากันทั้งหมด ซึ่งโดยปกติแล้วจะโตกว่าขนาดระบุ ซึ่งเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อประมาณ 1/8 นิ้ว ท่อชนิดนี้โดยทั่วไปจะมีทั้ง ชนิดท่อแข็ง และชนิดท่ออ่อน สําหรับท่อชนิดแข็งจะมี 4 ชนิด ได้แก่ ชนิด K, L, M และ DWV ความยาวท่อนละ 6 เมตร ส่วนท่อชนิดอ่อนจะมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิด K และชนิด L สําหรับ ชนิด K แบบเป็นท่อน จะยาวตั้งแต่ 2-6 เมตร แบบเป็นขด จะยาวตั้งแต่ 12-30 เมตร ส่วนชนิด L แบบเป็นท่อนจะยาวตั้งแต่ 5-6 เมตร แบบเป็นขดจะยาวตั้งแต่ 12-30 เมตร

ท่อทองแดงชนิดแข็ง จะถูกทํารหัสไว้ด้วยแถบสีและตัวอักษร ซึ่งจะระบุชนิดของท่อชื่อ และเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต โดยใช้สีทั้งหมด 4 สีบอกชนิดของท่อ โดยให้สีเขียวแทน ท่อชนิด K สีน้ำเงินแทนท่อชนิด L สีแดงแทนท่อชนิด M และสีเหลืองแทนท่อชนิด DWV นอกจากแถบสีแล้ว ชนิดของท่อและข้อมูลจากผู้ผลิตก็ยังถูกประทับไว้บนท่อทุกๆ ระยะ 18 นิ้ว ท่อทองแดงเป็นท่อที่นิยมนําไปใช้กับท่อที่ใช้ในระบบน้ําร้อน น้ำเย็นหรือท่อในระบบไอน้ำ เนื่องจากมีน้ำหนักเบาต่อง่าย และเป็นวัสดุทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดีนั่นเอง

ท่อซีเมนต์ใยหิน

ท่อซีเมนต์ใยหิน

ท่อซีเมนต์ใยหินเป็นท่อที่ทําจากส่วนผสมระหว่างซีเมนต์กับใยหิน ท่อชนิดนี้ที่ใช้กับงานจัดส่งน้ำและงานระบายน้ำ จะมีทั้งชนิดทนความดัน และชนิดไม่ทนความดัน

ชนิดท่อความดัน 

ท่อชนิดนี้โดยทั่วไปจะถูกใช้เป็นท่อจัดส่งน้ำประปา ท่อชนิดนี้เป็นท่อที่มีเนื้อเดียวกันโดยตลอด ไร้ตะเข็บ มีความคงทนถาวรต่อดินฟ้าอากาศได้ดี ฝังดินได้โดยไม่เกิดการผุกร่อน ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า ทนต่อการเสียดสีได้ดี และมีน้ําหนักเบา จึงสะดวกต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย ท่อชนิดนี้ยังจําแนกออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบ ธรรมดา และแบบทนซัลเฟต นิยมนําไปใช้กับบริเวณที่มีการกระทําจากซัลเฟตอย่างรุนแรง เช่น บริเวณชายทะเล เป็นต้น แต่บางทีก็ใช้ท่อซีเมนต์ใยหินชนิดทนความดันแบบธรรมดาที่อาบด้วยน้ํามันดิบแทน ก็สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้

แต่ในปัจจุบันเลิกผลิตแล้ว เพราะอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ มีสามชั้น คุณภาพตามระดับความดันที่ใช้ทดสอบได้แก่ ระดับชั้นคุณภาพ PP15 ที่ทําการทดสอบที่ระดับความดัน 15 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ระดับชั้นคุณภาพ PP20 และ PP25 ที่ทําการทดสอบ ที่ระดับความดัน 20 และ 25 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลําดับมีขนาดโตตั้งแต่ 80 มิลลิเมตร ไปจนถึง 400 มิลลิเมตร หรือโตกว่าความยาว 4 เมตร และ 5 เมตร

ชนิดไม่ทนความดัน

ท่อชนิดนี้จะมีความหนาน้อยกว่าแบบแรก การเคลื่อนย้ายและ การติดตั้งจึงควรใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจทําให้ท่อแตกร้าวได้ ท่อชนิดนี้นิยม ใช้ท่อระบายน้ําโดยเฉพาะ เช่น ท่อประธานน้ําทิ้ง ท่อน้ำโสโครก ท่อชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 80 มิลลิเมตรไปจนถึง 150 มิลลิเมตร หรือความยาว 3 เมตร และ 4 เมตร

ท่อพีวีซี 

ท่อพีวีซี

ท่อพลาสติก เป็นท่ออีกชนิดหนึ่งที่กําลังเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันกับระบบจ่ายน้ํา ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ําโสโครก ระบบระบายของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และอื่นๆ

ข้อดีของท่อพีวีซี

  • ราคาถูก 
  • น้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนย้าย 
  • ติดตั้งง่ายและค่าติดตั้งต่ํากว่าท่อชนิดอื่น
  • มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า จึงสามารถใช้เป็นท่อสายไฟฟ้าได้ 
  • ผิวท่อมีความลื่นดี ทําให้สิ่งโสโครกภายในท่อใหลได้สะดวก
  • มีคุณสมบัติต้านทานต่อการกัดกร่อนของเคมีภัณฑ์ได้ 

ข้อเสียของท่อพีวีซี

  • ความต้านทานต่อความร้อนค่อนข้างต่ํา 
  • อัตราการยืดหดตัวค่อนข้างสูงเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 
  • เป็นท่อกึ่งแข็ง ทําให้ต้องการอุปกรณ์จับยึดและรองรับมากกว่าท่อชนิดโลหะ 
  • ความต้านทานต่อแรงกระแทกค่อนข้างต่ํา ทําให้แตกง่าย 
  • ความต้านทานต่อการรับความดันค่อนข้างต่ํา

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นข้อเสียของท่อพลาสติก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันท่อชนิดนี้ก็ได้รับการ ปรับปรุงให้สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดีขึ้นมีความแข็งแรงที่สามารถทนต่อ อุณหภูมิและความดันได้สูงขึ้น ท่อพลาสติกในปัจจุบันสามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่อุณหภูมิถึง 180 องศาฟาเรนไฮต์ (82 องศาเซลเซียส) และสามารถทน ความดันได้สูงถึง 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว 6.90 x 105 N/MP 

วัสดุที่ใช้ทําท่อและข้อต่อ 

  • อะคริโลในไตรล์-บิวตะใดอื่น-สไตรีน (Acrylonitrile-Butadiene-Styrene; ABS) 
  • โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride; PVC) 
  • คลอริเนตด์โพลิไวนิลคลอไรด์ (Chlorinated Polyvinyl Chloride; CPVC) 
  • โพลิเอทิลีน (Polyethylene; PE) 
  • โพลิบิวทิลีน (Polybuthylene; PB)

มาตรฐานของท่อพีวีซี 

  • มาตรฐาน มอก. 17-2532 มีสีฟ้าสําหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม ท่อรับความดัน และท่อ ระบายน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูล
  • มาตรฐาน มอก. 999-2533 มีสีเทาสําหรับใช้เป็นท่อในงานอุตสาหกรรม งานชลประทาน และท่อระบายน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูล ฯลฯ
  • มาตรฐาน มอก. 216-2524 มีสีเหลืองสําหรับใช้เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าและสาย โทรศัพท์

ท่อพีอี

ท่อพีอี

ท่อพีอีผลิตจากสาร Polyethylene เป็นท่อพลาสติกชนิดอ่อน ทำให้สามารถดัดโค้งได้ใช้เดินระบบท่อได้ในพื้นที่ขุขระ ไม่ราบเรียบ และคดเคี้ยว โดยมากเป็นท่อสีดำ และแบ่งตามความหนาแน่นของวัสดุ 2 ชนิดหลัก 

  • High Density Polyethylene (HDPE) รับแรงดันได้สูงใช้ในงานท่อส่งน้ำประปา งานชลประทาน ท่อส่งน้ำใต้ทะเล หรือน้ำทิ้งในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความกัดกร่อนต่อท่อเหล็ก
  • Low Density Polyethylene (LDPE) รับแรงดันต่ำ ใช้ในงานเกษตรกรรม

ข้อดีของท่อพีอี

  • น้ำหนักเบา สามารถม้วนเก็บและเคลื่อนย้ายง่าย 
  • ทนต่อสารเคมี สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และแสงแดดได้ 
  • ไม่ผุกร่อน สามารถรับแรงดันดิน วางท่อใต้ดิน และในน้ําทะเลได้ 
  • มีความยืดหยุ่นแข็งแรง วางท่อในพื้นที่สูง ต่ำ หรือโค้งไปมาได้ดี 
  • ไม่มีสารพิษละลายออกมาเมื่อใช้ในงานประปา และใช้ในการเดินก๊าซธรรมชาติได้ 
  • ไม่เป็นสื่อนําไฟฟ้า 
  • สามารถวางท่อเป็นระยะทางไกลได้โดยใช้ข้อต่อจํานวนน้อย 

ข้อเสียของท่อพีอี

  • ราคาสูง 
  • ไม่ทนต่อการฉีกขาด 
  • หาซื้อได้ยากตามท้องตลาด 
  • ทนต่ออุณหภูมิได้ไม่สูง 
  • การติดตั้งยาก ต้องใช้ผู้ชํานาญ โดยใช้ความร้อนหรือข้อต่อเฉพาะ

ปัจจุบันในท้องตลาดมีการพัฒนาท่อพีอีแบบ HDPE คุณภาพสูง สําหรับใช้ในงานประปา รับแรงดัน สะอาด ปลอดภัย และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลิตมาตรฐาน มอก. 982-2548 และได้รับมาตรฐาน ISO 4427-2 โดยออกแบบมาพิเศษให้มีเนื้อท่อ 3 ชั้น ซึ่งช่วยให้ท่อแข็งแรง ทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง โค้งรับตัวบ้าน ทําให้ท่อไม่แตกเมื่อดินทรุดตัว รวมทั้งลดการใช้ข้อต่อและโอกาสการรั่วซึม เนื่องจากท่อมีความย 30-100 เมตร

ท่อพีพีอาร์

ท่อพีพีอาร์

ท่อพีพีอาร์ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพเยี่ยมจากยุโรป และมีกระบวนการผลิตตาม มาตรฐาน DIN 8077 และ DIN 8078 ของประเทศเยอรมนี และมาตรฐาน DIN 16962-5 สําหรับข้อต่อซึ่งเป็นมาตรฐานสินค้าที่ได้การยอมรับจากยุโรป จึงสามารถทนความดันน้ำ ภายในท่อได้สูงสุด 20 บาร์ ด้วยคุณสมบัติทางเคมีพลาสติก ทําให้ต่อพีพีอาร์ตราช้างสามารถ ทนอุณหภูมิได้สูงสุดถึง 95 องศาเซลเซียส โดยที่ไม่ทําให้เกิดสารเคมีตกค้าง จึงเหมาะกับการใช้เป็นท่อน้ำร้อนเพื่อการอุปโภคบริโภค จึงมั่นใจได้ว่าน้ำที่ไหลผ่านท่อพีพีอาร์สะอาด ปลอดภัย ไม่เป็นสนิม ปราศจากโลหะหนักและสิ่งปนเปื้อน ไม่มีสีหรือกลิ่น และไม่น่า จะเกิดตะไคร่น้ำในเส้นท่อเพราะมีคุณสมบัติทึบแสง และน้ำหนักเบา ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบ กับท่อทองแดง ติดตั้งง่าย เชื่อมต่อเป็นเนื้อเดียวกันด้วยความร้อน ไม่รั่วซึมนั่นเอง

เลือกซื้อ เครื่องมืองานท่อ ได้ที่นี่

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by TiTlECNx

อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..จะหยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

โต๊ะเลื่อยวงเดือน เลื่อยราง

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง เลื่อยราง กับโต๊ะเลื่อย ที่ไม่ได้ทำงานได้คล้ายกัน

โต๊ะเลื่อยวงเดือน

หากคุณกำลังจะซื้อ โต๊ะเลื่อยวงเดือน ควรเลือกควรเลือกจากหัวข้อต่อไปนี้