in

เลื่อยสายพานนิยมใช้แบบใด และวิธีเปลี่ยนใบเลื่อยสายพาน

เลื่อยสายพาน (Band Saw)

เลื่อยสายพาน โดยทั่วๆไปเราจะเรียกกันตามความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางล้อของเครื่อง เช่น เลื่อยสายพานขนาด 16 นิ้ว หมายถึงความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงล้อ เท่ากับ 16 นิ้ว หรือถ้าเราไม่วัดความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางวงล้อก็อาจวัดความยาวระยะห่างระหว่างใบเลื่อยทั้งสองข้างทางด้านตั้งก็ได้ ความเร็วของเลื่อยสายพานจะมีการวัดไม่เหมือนกับเครื่องจักรกลงานไม้ชนิดอื่นๆ

เลื่อยสายพาน ที่ใช้กับงานไม้ มี 2 ชนิด

  1. Band Mill เป็นเลื่อยสายพานที่มีขนาดใหญ่ใบเลื่อยกว้างใช้ในการเล่นเปิดปีกไม้ออกจากท่อนซุง แล้วผ่าซอยออกเป็นไม้หน้าตัดสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆ ใช้เฉพาะในโรงเลื่อยจักรและโรงงานแปรรูปไม้ 
เลื่อยสายพาน
เลื่อยสายพานที่มีขนาดใหญ่ สำหรับเลื่อยไม้ขนาดใหญ่
  1. Band Saw หรือ Band Scroll Saw เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไปการซอยไม้ออกเป็นไม้กระดานแผ่น บางๆ การซอยและตัดโค้งทุกชนิด การซอยไม้หรือตัดไม้ที่มีความหนา มากๆ การผ่าเดือย ตัดปากกบไม้ และงานเลื่อยอื่นๆ ที่เลื่อยวงเดือนและเลื่อยรัศมีทำไม่ได้ 
เลื่อยสายพาน
เลื่อยสายพานแนวตั้ง และเลื่อยสายพานแนวนอน พบได้ทั่วไป

ส่วนประกอบของ เลื่อยสายพาน

เลื่อยสายพาน
ส่วนประกอบ เลื่อยสายพาน
  • โครงเครื่อง (Frame) จะมีน้ำหนักมาก ทำจากเหล็กหล่อหรืออาจจะเป็นเหล็กแผ่น ที่นำมาเชื่อมเป็นโครง สำหรับติดตั้งล้อบนและล้อล่างที่ขับเคลื่อนใบเลื่อยสายพาน นอกจากนี้ตัวเครื่องยังอาจติดตั้งบนฐานเครื่องอีกด้วย 
  • แท่นเครื่อง (Table) ทำด้วยเหล็กหล่อยึดติดกับโครงเครื่อง เป็นที่สําคัญงานขณะปฏิบัติงาน แท่นเครื่องนี้สามารถปรับเอียงได้ถึง 45 องศา เมื่อต้องการของ ตัดไม้ที่มีมุมเอียง 
  • ล้อตัวบน (Upper Wheel) ยึดติดกับโครงเครื่องด้านบน ขอบนอกเป็นยางหุ้มเพื่อช่วยให้ใบเลื่อยกระชับไม่ลื่นไถลออกจากล้อ สามารถปรับเลื่อนขึ้นลงได้ เพื่อให้ใบเลื่อย ตึงและเพื่อการเปลี่ยนใบเลื่อย 
  • ล้อตัวล่าง (Lower Wheel) เป็นตัวขับให้ใบเลื่อยหมุน ซึ่งส่งกำลังมาจากมอเตอร์ ที่ขอบของล้อจะมีแผ่นยางหุ้มโดยรอบ เพื่อไม่ให้ใบเลื่อยลื่นไถลออกจากล้อ 
  • ที่ป้องกันใบเลื่อย (Blade Guard) ทำด้วยโลหะหรือวัสดุอื่น คลุมใบเลื่อยในแนวดิ่ง ยึดติดกับแกนเลื่อน สามารถปรับเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้
  • ชุดประคองใบเลื่อย (Blade Guide) มีส่วนประกอบคือ ล้อหลังใบเลื่อย (Ball Bearing Blade Support) และล้อบังคับข้างใบเลื่อย ชุดประคองใบเลื่อยนี้สามารถเลื่อนขึ้นลงได้แท่งยึด
  • ที่ปรับความตึงใบเลื่อย (Blade Tension) สำหรับการปรับใบเลื่อยสายพานให้ตึง ติดตั้งอยู่ใต้โครงล้อบน 
  • ที่ปรับใบเลื่อยให้อยู่ในแนวการหมุน (Tracking Adjustment) เป็นที่ปรับล้อบน เพื่อให้เอียง คว่ำหรือหงาย สำหรับประคองใบเลื่อยไม่ให้หลุดจากล้อในขณะหมุน 
  • ครอบล้อบนและล่าง (Upper and Lower Wheel Guard) เป็นฝาครอบ สำหรับล้อบนและล้อล่าง เพื่อป้องกันอันตรายในขณะหมุน 
  • แท่งยึดชุดประคองใบเลื่อย (Guide Post) ทำด้วยเหล็กแท่งตัน ติดตั้งที่ป้องกันใบเลื่อย และที่ปลายด้านล่างจะติดตั้งชุดประคองใบเลื่อย 
  • มอเตอร์ (Motor) ติดตั้งอยู่กับโครงเครื่องตรงกับแกนล้อล่าง เป็นตัวขับเคลื่อน ล้อล่างเพื่อให้ใบเลื่อยหมุน 

ใบเลื่อยสายพาน (Band Saw Blades) 

ขนาดของใบเลื่อยสายพาน วัดกันที่ความกว้างของใบเลื่อย และความหนาของใบเลื่อย จะต้องสัมพันธ์กันตามมาตรฐานการผลิต เช่น ใบเลื่อยที่ใช้กับเลื่อยสายพาน สำหรับการตัดไม้ จะมีความกว้างใบเลื่อย ขนาด ⅜ นิ้ว, ½ นิ้ว, ¾ นิ้ว และ 1 นิ้ว เป็นต้น 

เลื่อยสายพาน
ใบเลื่อยสายพาน (Band Saw Blades) 

จำนวนฟันของใบเลื่อยจะมีผลต่อการทำงานของใบเลื่อย หมายความว่าในความยาวใบเลื่อย 1 นิ้ว จะมีฟันอยู่ 4 ถึง 8 ฟัน หากจำนวนฟันน้อย คลองเลื่อยที่ได้จะมีลักษณะหยาบ ถ้ามีจำนวนฟันมาก จะทำให้คลองเลื่อยมีลักษณะละเอียดกว่า และทำงานง่ายกว่า 

การถอดเปลี่ยน ใบเลื่อยสายพาน 

การถอดและเปลี่ยนใบเลื่อยสายพานเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องระมัดระวัง การปรับส่วน ต่างๆ ให้ถูกต้องเมื่อเปิดเครื่อง ใช้งานจะได้ไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 
1. เปิดฝาครอบล้อบนและล่าง นำแผ่นปิดช่องใบเลื่อยออก 

เลื่อยสายพาน
เปิดฝาครอบล้อบนและล่าง

2. หมุนคลายที่ปรับความตึงของใบเลื่อย (Blade Tension) เพื่อลดล้อบนให้เลื่อนลงทำให้ใบเลื่อยคลายความตึงและหย่อนตัว3. ใช้ทั้งสองมือจับใบเลื่อย และค่อยๆ ถอดใบเลื่อยออกจากล้อบนและล้อล่าง

เลื่อยสายพาน
ค่อยๆ ถอดใบเลื่อยออกจากล้อบนและล้อล่าง

4. นำใบเลื่อยใบใหม่ที่เตรียมไว้ ใส่เข้าไปในล้อบนและล้อล่างให้ฟันใบเลื่อยชี้ลง ถ้าใบ เลื่อยใบใหม่มีความยาวหรือสั้นกว่าให้ปรับที่ Blade Tension เพื่อเลื่อนล้อบนให้ได้ระยะ
5. จัดใบเลื่อยให้อยู่บนขอบวงล้อ และให้อยู่ตรงกับแนวชุดประคองใบเลื่อย
6. หมุนปรับความดึงของใบเลื่อย ให้ล้อบนเลื่อนขึ้นเพื่อตึงใบเลื่อย ควรปรับให้ความตึงของใบเลื่อยพอประมาณ ไม่ควรให้ตึงหรือหย่อนเริง 

เลื่อยสายพาน
หมุนปรับความตึงของใบเลื่อย ทดลองการหมุน

7. ใช้มือลองหมุนที่ล้อบนทิศทางตามเข็มนาฬิกา เพื่อตรวจสอบการหมุนของใบเลื่อยว่าอยู่ในแนวขอบล้อ โดยไม่เลื่อนหลุดออกจากล้อ หากใบเลื่อยเคลื่อนที่ไม่อยู่ในตำแหน่งกลางขอบล้อ ก็ให้ปรับ Tracking Adjustment ให้ล้อบนเอียงหงายหรือคว่ํา เพื่อให้ใบเลื่อยเคลื่อนที่อยู่ในตำแหน่งโดยไม่หลุดออกจากวงล้อ
8. ปรับเลื่อนแท่งยึดชุดประคองใบเลื่อย (Guide Post) ขึ้น เพื่อให้ชุดประคองใบเลื่อย อยู่สูงกว่าผิวชิ้นงานประมาณ ¼ นิ้ว ถึง ⅜ นิ้ว ขันนอตยึดให้แน่น ใส่แผ่นปิดช่องใบเลื่อย

เลื่อยสายพาน
ปรับความหย่อนให้เหมาะกับการใช้งาน

9. ปรับชุดประคองใบเลื่อย โดยให้ล้อรับหลังใบเลื่อยอยู่ห่างจากสันหลังใบเลื่อยไม่เกิน 1/16 นิ้ว (1.5 มิลลิเมตร) และที่บังคับข้างใบเลื่อยห่างจากข้างใบเลื่อยไม่ควรเกิน 1/32  นิ้ว (ประมาณ 1 มิลลิเมตร) ทั้งสองข้าง
10. ลองหมุนล้อด้วยมือเปล่า เพื่อตรวจสอบการหมุนของใบเลื่อยว่าการปรับถูกต้อง หรือไม่ ใบเลื่อยสั่นมากเกินไปหรือไม่ หากยังมีข้อบกพร่องก็ให้แก้ไขและขันยึดอุปกรณ์ต่างๆ ให้แน่นอีกครั้ง 
11. ปิดฝาครอบป้องกันล้อทั้งบนและล่าง เตรียมใช้งานต่อไป 

การเก็บ ใบเลื่อยสายพาน 

ลักษณะใบเลื่อยสายพานจะต่อกันเป็นม้วนคล้ายสายพาน จึงทำให้การเก็บค่อนข้างลำบากและเปลืองพื้นที่ ดังนั้นจึงมีวิธีการม้วนเก็บเพื่อให้สะดวกและไม่เปลืองพื้นที่เก็บ มีขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้ 
1. จับใบเลื่อยด้วยมือทั้งสองข้าง โดยใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้จับใบเลื่อย และให้ฟัน ใบเลื่อยหันออกจากตัว 
2. ใช้ปลายเท้าเหยียบปลายด้านหนึ่งของใบเลื่อย แล้วบิดหัวแม่มือที่จับใบเลื่อยอยู่ทั้ง สองข้างเข้าด้านในของวงใบเลื่อย
3. ปล่อยให้วงใบเลื่อยด้านบนโค้งลงด้านล่าง ขณะเดียวกันให้เผยอปลายเท้าเหยียบใบเลื่อยไว้ด้านล่าง เพื่อให้ใบเลื่อยบิดตัวตามการบิดด้วยมือทั้ง 2 ข้าง
4. ปล่อยให้ใบเลื่อยม้วนตัวโค้งเป็นวงกลมลงกับพื้น ใบเลื่อยก็จะม้วนตัวกันเป็นวงกลม 3 วงเท่าๆ กันพอดี

เช็คราคา เลื่อยสายพาน

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by Simon Harper

THE TECHNOLOGY IS ONE

เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง

เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง มีแบบไหนบ้าง พร้อมปัญหา และวิธีแก้ที่คุณควรรู้

เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง

วิธีใช้ เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ให้ถูกต้องและปลอดภัยต่อตัวคุณเอง