ในการพ่นสีรถยนต์มีวิธีการพ่นสีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่วิธีที่เป็นที่นิยมในการซ่อมสีรถและในอุตสาหกรรมมี 2 แบบคือ แบบพ่นสี และแบบชุบสี ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการพ่นสีซึ่งก็มีอยู่หลายวิธี เช่น การพ่นสีแบบมีลมผสม วิธีนี้จะอาศัยหลักการกระจายของละอองเม็ดสี เพื่อให้เกาะยึดติดกับผิวหน้าชิ้นงาน อุปกรณ์หลักที่สำคัญสำหรับการพ่นสีแบบมีลมผสมคือ กาพ่นสี (Spray Gun)
ชนิดของ กาพ่นสี
กาพ่นสีที่ใช้งานพ่นสีและซ่อมสีรถยนต์แบ่งออกตามลักษณะของการทำงานได้เป็น 3 แบบ ด้วยกันคือ
1. กาพ่นสี กาบน แบบสีโหลลง (Gravity-feed Type)
เป็นกาพ่นสีที่ติดตั้งถ้วยสีให้อยู่เหนือหัวจ่ายสีแบบที่ถ้วยสีติดตั้งอยู่เหนือหัวจ่ายสี ปริมาณส่วนผสมของสีจะไหลเข้าสู่หัวจ่ายโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก และสุญญากาศที่เกิดขึ้นภายในหัวจ่ายของกาพ่นสี
ข้อดี | ข้อเสีย |
ปริมาณการไหลลงของสีจะสม่ำเสมอ | ไม่เหมาะที่จะใช้กับการพ่นสีที่ต้องการพ่นอย่างต่อเนื่องบนบริเวณพื้นที่ที่กว้าง เนื่องจากถ้วยบรรจุสีมีขนาดที่เล็ก |
2. กาพ่นสี กาล่าง แบบดูด (Suction-feed Type)
เป็นกาพ่นสีที่ติดตั้งถ้วยสีอยู่ด้านล่างของหัวจ่ายสี ดังนั้นปริมาณของสีที่ถูกพ่นออกไปจะอาศัยแรงดูดสุญญากาศที่เกิดขึ้นในหัวจ่ายสี
ข้อดี | ข้อเสีย |
เหมาะที่จะใช้สำหรับพ่นสีบริเวณพื้นที่งานกว้างๆ เนื่องจากถ้วยบรรจุสีมีขนาดใหญ่ | มีน้ำหนักมาก เพราะถ้วยบรรจุสีมีขนาดใหญ่ |
3. กาพ่นสี แบบอัด หรือ เครื่องพ่นสี (Air Compression Type)
กาพ่นสีแบบนี้ถูกออกแบบให้มีถังสี และกาพ่นสีแยกออกจากกันสีที่บรรจุอยู่ในถังสีจะถูกอัดด้วยกำลังดันลมจากปั๊มลมเพื่อให้จ่ายสีไปยังกาพ่นสี
ข้อดี | ข้อเสีย |
นิยมใช้กับการพ่นสีที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้สามารถพ่นได้อย่างต่อเนื่อง และใช้ได้ ดีกับสีที่มีความหนืดสูง | ไม่เหมาะที่จะใช้พ่นสีกับชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองสี |
ข้อควรจำ การซ่อมสีรถยนต์จะนิยมใช้กาพ่นสีแบบไหลลงและแบบดูด เนื่องจากสะดวก และง่ายต่อการใช้งาน
โครงสร้างของ กาพ่นสี
กาพ่นสีประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือ สกรูปรับกำลังดันลม สกรูปรับความกว้างของสีสกรูปรับปริมาณสีรูจ่ายสีเข็มควบคุมปริมาณของสี และหัวปืน
1. สกรูปรับปริมาณของสี ทำหน้าที่ปรับปริมาณการปล่อยสิ่ง โดยการปรับลิ้นด้วยการหมุนคลายออกและเข้า ปริมาณสีที่ออกจะเพิ่มขึ้นและลดลง ต้องการการปรับปริมาณสีระยะห่างเกินไปทำให้เกิดสีฝุ่นบนชิ้นงานสกรูปรับปริมาณ
2. สกรูปรับแถบสี ทำหน้าที่ปรับรูปร่างของแถบสีโดยการหมุนคลาย สกรูออกซึ่งก็จะทำให้เกิดรูปร่างของแถบสีที่เป็นรูปวงกลม เหมาะที่จะพ่นสีบริเวณพื้นที่ขนาดเล็ก แต่ถ้าปรับหมุนสกรูเข้าแถบสีที่พ่นจะมีรูปร่างแถบสีเป็นวงรีรูปไข่ซึ่งเหมาะสำหรับพ่นสีบริเวณพื้น ที่กว้างๆ
3. ปุ่มปรับปริมาณการไหล เป็นสกรูที่ทำหน้าที่ปรับปริมาณของกำลังดันลม ถ้าหมุนคลายสกรูออกปริมาณกำลังดันลมจะเพิ่มขึ้น และเมื่อปรับหมุนสกรูเข้ากำลังดันลมจะน้อย หรือปรับหมุนสกรูเข้าจนสุดจะเป็นการปิดกำลังดันลมที่เข้ากาพ่นสี อย่างไรก็ตามกำลังดันลมในการพ่นสีจึงมีส่วนสำคัญเพราะถ้าลมมีไม่เพียงพอการเป็นฝอยละอองของสีจะลดลง และถ้ามีกำลังดันลมที่มากเกินไปสีที่พ่นออกจะเป็นฝอยละอองน้อย ด้วยเหตุนี้จึงต้องปรับกำลังดันลมที่ใช้ในการพ่นสีให้ถูกต้อง
4. หัวจ่ายสี เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญของกาพ่นสี โดยจะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของสีจากกำลังดันลมภายในกาพ่นสีรูจ่ายสีจะมีลักษณะเรียวเมื่อเข็มควบคุมปริมาณสีสัมผัสกับหัวจ่าย จะป้องกันไม่ให้สีไหลออกปริมาณของสีที่ปล่อยออกไปจากหัวสีจะขึ้นอยู่กับระยะในการเปิดและขนาดของหัวจ่าย ซึ่งขนาดของหัวจ่ายจะมีตั้งแต่ 1.3-1.7 มิลลิเมตร แต่อย่างไรก็ตามปริมาณของสีที่พ่นเป็นฝอยละอองได้ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ชนิดของสีความหนืดของสี ชนิดของกาพ่นสี และการทำงานของกาพ่นสี
5. หัวปืน ทำหน้าที่ปล่อยกำลังดันลม เพื่อให้สีเป็นฝอยละอองหัวปืนจะมีรูอากาศซึ่งรูอากาศจะช่วยควบคุมปริมาณกำลังดันลมกับสี และเป็นตัวกําหนดรูปร่างของแถบสีและมุมมองละอองสี
6. ไกปืน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณลมและสีให้ออกจากกาพ่นสี เมื่อกดไกปืนในครั้งแรกลิ้นควบคุมจะเปิด และพ่นกำลังดันลมออกไป แต่เมื่อกดไกปืนต่อไปเข็มควบคุมปริมาณของสีจะปิดให้สีออกพร้อมกับลม เกิดเป็นฝอยละออง อย่างไรก็ตามฝอยละอองของสีจะสม่ำเสมอเมื่อไกปืนยังคงกดอยู่
เช็คราคา กาพ่นสี
Comments