in

ปัญหาจาก ระบบไฟฟ้า ในบ้านคุณ ที่ไม่ควรมองข้าม

ระบบไฟฟ้า

ปัญหาปิดสวิตช์ไฟแล้วแต่หลอดไฟยังเรืองแสง

สําหรับปัญหานี้ บางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องหยุมหยิมปกติทั่วไป แต่หากปล่อยไป นอกจากจะเป็นการเปลืองค่าไฟโดยใช่เหตุแล้ว หากปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิคการต่อวงจรไฟฟ้าจะทําให้อุปกรณ์ เช่น หลอดไฟ บัลลาสต์ และสายไฟ เกิดความร้อน และอาจเป็นอันตรายต่อคุณได้ อีกทั้งยังทําให้อุปกรณ์ดังกล่าวมีอายุการใช้งานที่สั้นลงอีกด้วย

  • ในกรณีหลอดไฟเป็นหลอดไฟชนิดฟลูออเรสเซนต์ จะมีส่วนประกอบที่ช่วยในการเรืองแสง นั่นก็คือ ผงฟอสเฟอร์ ในบางกรณีแม้จะปิดสวิตช์ไฟแล้ว ผงฟอสเฟอร์ก็อาจเรืองแสงในลักษณะกะพริบๆ เพียงชั่วครู่เท่านั้นได้ ซึ่งอาจจะเห็นได้หากห้องๆนั้นมีความมืดมากๆเมื่อปิดสวิตช์ไฟแล้ว จะยังคงเห็นหลอดฟลูออเรสเซนต์เรืองแสงอยู่เพียงชั่วครู่เท่านั้นเอง
  • ในกรณีหลอดไฟนั้น เป็นหลอดไฟชนิดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดไฟชนิดอื่นๆหากปิดสวิตช์แล้ว ยังคงมีการเรืองแสงอยู่ต่อเนื่อง หรือมีแสงสว่างออกมาเพียงเล็กน้อยริบหรี่นาน มักจะเกิดจากความผิดพลาดของการต่อวงจรไฟฟ้า โดยการนําสายไฟเส้นที่มีกระแสไฟต่อเข้ากับขั้วหลอดโดย ตรง ซึ่งที่ถูกต้องแล้วสายไฟเส้นที่มีกระแสไฟจะต้องต่อเข้ากับสวิตช์ จากนั้นพ่วงต่อไปยังบัลลาสต์ และต่อเข้ากับขั้วหลอดตามลําดับ หากพบปัญหาการต่อวงจรผิดพลาดควรรีบแก้ไขโดยทันที
หลอดไฟ

หลอดไฟ ที่กะพริบนานกว่าจะติด เกิดจากอะไร

  • อุปกรณ์สตาร์ทเตอร์ที่ทําหน้าที่เผาไส้หลอดให้ร้อนอาจทํางานผิดปกติเช่น หมดอายุการใช้งาน ดังนั้นวิธีตรวจสอบขั้นแรกก็คือ ลอ ถอดสตาร์ทเตอร์จากหลอดไฟที่กะพริบไปใส่กับหลอดอื่น และลองเปิดสวิตช์ไฟ หากปรากฏว่าหลอดไฟติดตามปกติโดยไม่กะพริบแสดงว่าสาเหตุของปัญหาหลอดกะพริบไม่ได้เกิดจากสตาร์ทเตอร์ นอกจากนี้ทุกครั้งที่มีการใช้งานของสตาร์ทเตอร์ เช่น ที่เห็นเป็นแสงสีส้มทุกครั้งที่เปิดสวิตช์ไฟอายุการใช้งานของหลอดไฟจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆนั่นเอง 
  • หากในกรณีที่ซื้อหลอดไฟใหม่มาจากร้าน แล้วนํามาสวมเข้ากับรางเมื่อเปิดสวิตช์ไฟแล้วปรากฏว่ากะพริบนานกว่าจะติด ปัญหานี้ถือเป็นเรื่องปกติ ที่หลอดไฟดังกล่าวอาจพึ่งจะผลิตใหม่ๆ มาจากโรงงาน ซึ่งก๊าซที่บรรจุไว้ภายในยังไม่คงที่พอดังนั้นควรเปิดทิ้งไว้ราว 15-20 นาที หากสาเหตุเกิดจากปัญหาดังกล่าวหลอดไฟจะติดสว่าง และไม่กะพริบอีก

นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่อาจพบได้ในอุปกรณ์หลอดไฟ เช่น ขั้วปลายหลอดไฟทั้งสองข้างดํา หรือเป็นสีม่วง เราขอสันนิษฐานได้เลยว่าหลอดไฟนั้นเริ่มจะเสื่อมสภาพแล้ว ให้รีบเปลี่ยนหลอดใหม่ทันที เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากความร้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การต่อสายไฟที่ผิดวิธี

การต่อวงจรไฟฟ้าที่ผิดวิธีโดยมากจะเกิดจากผู้ที่ไม่มีความชํานาญการ และไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าที่ถูกต้อง ดังนั้นหากคุณต้องการจะซ่อมแซมหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองแล้ว คุณจําเป็นที่จะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันความผิดพลาด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตตัวคุณเองได้

ในปัจจุบันอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ มักจะกําหนดจุดต่อที่ถูกต้องให้แก่ผู้ติดตั้งหรือช่าง ให้ทราบและเข้าใจวงจรการทํางานของอุปกรณ์หรือเครื่องไฟฟ้าชนิดนั้นๆ ซึ่งบางครั้งก็แล้วแต่ผู้ผลิตจะติดป้ายข้อมูลรูปแบบของวงจรในลักษณะไหน ซึ่งหากแทนส่วนประกอบต่างๆ ด้วยสัญลักษณ์แล้ว ผู้ที่ไม่ได้ผ่านการเรียนหลักสูตรสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากําลังมาก็ไม่มีทางรู้ได้ว่าสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ขีดเขียนเป็นรูปแบบการต่อวงจรไฟฟ้านั้นคืออะไร แต่หากเป็นการต่อวงจรไฟฟ้าที่ไม่มีอะไรซับซ้อนมากมาย หรือไม่ต้องต่อสายไฟผ่านอุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยต่างๆ มากมายนัก คุณจะสามารถปฏิบัติการได้เองอย่างปลอดภัย เช่น การต่อวงจรไฟฟ้าของ ปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟ เป็นต้น ซึ่งหากทําความเข้าใจกับวงจรการต่อสายไฟที่ได้แสดง ไว้แล้วในก่อนหน้านี้ ย่อมจะเกิดทักษะและเข้าใจถึงหลักการไหลกระแส และ หลักการทํางานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวเป็นอย่างดี

ดังนั้นการต่อวงจรไฟฟ้าที่ซับซ้อน และเป็นเรื่องเฉพาะทางสาขาช่างไฟฟ้ากําลังโดยเฉพาะ คุณควรหลีกเลี่ยงการต่อวงจรไฟฟ้าเอง เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการต่อวงจรไฟฟ้าผิดวิธีได้ และเรียกช่างผู้ชํานาญการมาติดตั้งดีกว่า

ต่อสายไฟ

จัดการ ระบบไฟฟ้า หากเกิดอุทกภัย

ก่อนที่จะถึงหน้าฝน หรือหน้าน้ําหลาก คุณจําเป็นที่จะต้องเตรียมพร้อมรับมือเอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการจัดการเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า ที่เป็นปัญหาใหญ่มากและเป็นอันตราย ต่อชีวิตของทุกคนในครอบครัว ดังนั้นขั้นตอนในการเตรียมพร้อมในเรื่องของระบบไฟฟ้า ก่อนที่น้ําจะท่วมบ้านของเรามีดังนี้

ตรวจสอบคัตเอาต์

ตรวจสอบคัตเอาต์ทุกตัวที่อยู่ในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลักว่ามีดัชนีกํากับไว้ทุกตัว หรือไม่ ซึ่งหากยังไม่มีการทําดัชนีกํากับลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์ต่างๆ ไว้เราจะไม่มีทางทราบเลยว่า ลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์ดังกล่าวสามารถทําหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งมีวิธีการ ตรวจสอบดังนี้

  • ทําการปิดคัตเอาต์ โยกคันสวิตซ์ไปอยู่ที่ตําแหน่ง OFF จากนั้นให้ตรวจสอบดูว่าโซนใดของบ้านที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเลย 
  • ในกรณีที่คัตเอาต์ทํางานไม่เป็นระบบ เช่น ปิดเบรกเกอร์แล้ว ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในบางจุดของแต่ละโซน เช่นนี้ อาจตามช่างผู้ชํานาญมาทําการแก้ไขระบบไฟฟ้าใหม่ให้เป็นมาตรฐาน 
  • หากเป็นไปได้ควรแยกย้ายปลั๊กไฟที่อยู่ในตําแหน่งที่ต่ํา เช่น สูงจาก พื้นบ้านเพียง 1 ฟุต หรือ 30 เซนติเมตร ให้ไปอยู่ในตําแหน่งสูงประมาณ 1 เมตร ขึ้นไป ซึ่งหากน้ําท่วมเข้ามาถึงตัวบ้านได้ ก็จะไม่ต้องตัดกระแสไฟฟ้าของบ้านทั้งหลัง หรือเฉพาะชั้นล่างนั่นเอง 
  • ติดตั้งคัตเอาต์ หรือเบรกเกอร์สวิตช์ เพื่อควบคุมระบบไฟฟ้าของชั้นล่าง และชั้นบนให้แยกออกจากกัน ซึ่งหากเกิดปัญหาน้ําท่วมและจําเป็น ต้องย้ายขึ้นไปอยู่บนชั้นสองของบ้าน ก็สามารถตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่างและใช้ไฟฟ้าเฉพาะชั้นบนได้ ซึ่งในส่วนนี้ขอแนะนําให้แจ้งช่างผู้ชํานาญการมา ทําการแก้ไขและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมจะเป็นการปลอดภัยกว่า

ตรวจสอบ สายไฟ ที่เดินอยู่ในระดับต่ำ

ขึ้นชื่อว่าสายไฟ ไม่ว่าจะเดินลอยบนผนังหรือร้อยในท่อสายไฟ หากอยู่ ในระดับที่ต่ําเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายทั้งสิ้น ดังนั้นควรทําการย้ายสายไฟเหล่านั้นขึ้นที่สูง หรือให้เรียบเพดานเลยยิ่งเป็นการดี เพื่อไม่ให้น้ําที่เข้าท่วมบ้านสัมผัสกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าเลย

ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว

สําหรับอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว โดยจะมีหลักการทํางาน คือ ตรวจจับกระแสที่ไหลกลับเข้ามาว่าเท่าเดิมหรือไม่ ซึ่งถ้ากระแสไฟฟ้าที่ไหลกลับเข้ามามีค่าไม่เท่าเดิม หมายถึงมีกระแสไฟฟ้าบางส่วนที่รั่วหรือหายไปนั่นเอง หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วจะทําการตัดกระแสไฟฟ้าทันที

การพิจารณาติดตั้งเครื่องป้องกันไฟรั่ว เพื่อเตรียมพร้อมระวังป้องกันในเหตุอุทกภัยนี้ เนื่องจากหากน้ําไหลบ่าเข้าท่วมบ้านแล้ว แท่งทองแดงที่ฝังอยู่ในพื้นดิน ย่อมลดประสิทธิภาพในการทํางานลงได้ ดังนั้นการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน ไฟรั่ว จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าที่รั่วนั้น วิ่งเข้าสู่ร่างกายผู้ใช้งาน หรือผู้ที่แตะต้องสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีไฟรั่วนั้น หรือป้องกันไฟดูดนั่นเอง

  • อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่วชนิดที่สามารถตัดทั้งกระแสไฟฟ้ารั่ว และ กระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่วชนิดที่สามารถตัดกระแสไฟฟ้ารั่วได้เพียงอย่าง เดียว ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ จะนิยมใช้ร่วมกับฟิวส์ที่ใช้ตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
ระบบไฟฟ้า

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลดค่าไฟฟ้า

การติดตั้งอุปกรณ์ Power Factor หรือการต่อตัวเก็บประจุเข้ากับตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มักนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคาร สํานักงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีผลอย่างดีในการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า แต่ไม่มีผลเมื่อนํามาติดตั้งหรือต่อใช้กับระบบไฟฟ้าในบ้านเรือน การแก้ PE หรือ Power Factor ถ้าเป็นการใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป ไม่จําเป็นต้องทําให้เสียค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์ เพราะการแก้ Power Factor นั้น จะทําเฉพาะโรงงานใหญ่ๆ ที่มีค่าของเพาเวอร์แฟคเตอร์ไม่ถึงเลข 1 ซึ่ง โรงงานเหล่านี้ จะถูกคิดค่าไฟฟ้าในฐานที่ต่างจากบ้านเรือนทั่วไป โดยมิเตอร์จะ ใช้หน่วยเป็น KVar แต่สําหรับบ้านเรือนทั่วๆ ไป มิเตอร์ที่ใช้จะมีหน่วยเพียง KW (กิโลวัตต์) เท่านั้น ซึ่งผู้ให้บริการไฟฟ้าย่อมไม่ได้คิดค่าใช้ไฟฟ้าในฐานเดียวกัน แน่นอน

แต่หากบ้านของคุณ ถูกดัดแปลงให้เป็นโรงงานเล็กๆเช่น มีการติดตั้งเครื่องสีข้าว แท่นพิมพ์ หรือมีมอเตอร์ขนาดใหญ่ ที่จะต้องใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส เหล่านี้อาจจําเป็นที่จะต้องแก้ค่า Power Factor โดยทําการต่อตัวเก็บประจุเข้ากับตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก สําหรับเรื่องนี้ เราสามารถขอปรึกษากับ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะให้บริการ แนะนําวิธีที่ถูกต้อง และไม่ผิดกฎหมายหรือข้อบังคับต่างๆ ของการไฟฟ้าผู้ให้บริการอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่ว่า หากเอาแม่เหล็กเข้าไปติดตั้งในเครื่องมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว จะทําให้หน่วงการหมุนรอบของมิเตอร์ช้าลงได้ ความจริงแล้ว อาจได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากมาคํานวณดูจริงๆแล้ว ค่าใช้ไฟฟ้าต่อเดือน ลดลงไม่ถึง 10 บาท อีกทั้งแม่เหล็กที่อยู่ในมิเตอร์ยังสามารถเปลี่ยนเป็นแหล่ง พลังงานความร้อนได้อีกด้วย ซึ่งส่งผลให้มิเตอร์ไฟฟ้าอาจระเบิดได้ และถ้าหากเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าตรวจเจออุปกรณ์แม่เหล็กดังกล่าว ผู้ทําการดัดแปลงมิเตอร์จะต้องถูกดําเนินคดีตามกฎหมาย ไม่คุ้มเสียอย่างแน่นอน

แนวทางตรวจสอบการทํางาน ของช่างไฟ

1. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่างไฟนํามาเปลี่ยนในจุดต่างๆ ที่มีปัญหา ขัดข้อง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องอยู่ในสภาพดีและไม่เคยถูกใช้งานมาก่อน

2. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่างไฟแจ้งว่าเสีย โดยการสอบถามช่างถึงสาเหตุ และมีวิธีการทดสอบอย่างไรบ้าง ทั้งนี้อาจให้ช่างไฟมีการทดสอบให้ดูก่อนก็ได้

3. การเข้าสายไฟกับอุปกรณ์ต่างๆ ช่างไฟจะต้องเข้าสายไฟทุกเส้นให้ เรียบร้อย ไม่มีจุดใดจุดหนึ่งที่มีเส้นลวดตัวนําโผล่ออกมาให้เห็นเลยแม้แต่น้อย

4. การเพิ่มเติมอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากๆ หรือติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในจุดใดจุดหนึ่งที่มีการใช้ไฟฟ้ามากอยู่แล้ว ช่างไฟควรเดินสายไฟเมนใหม่ เพื่อแยกมาใช้กับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะ ติดตั้งใหม่นี้ สิ่งสําคัญอย่าให้ช่างต่อสายไฟมาจากตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าย่อยที่มี การจ่ายกระแสไฟฟ้ามากอยู่แล้ว

5. ระวังอย่าให้ช่างลืมใส่สายดิน หากมีการเปลี่ยนลูกปล็ก ตะแกรง หรือ บล็อกตัวใหม่ เพราะโดยมากแล้ว ช่างมักลืมใส่สายดินเมื่อมีการถอดเพื่อเปลี่ยน อุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าว

6. ในกรณีที่มีการถอดสายไฟออกจากมิเตอร์ไฟฟ้าที่เสาหน้าบ้าน เพื่อ ทําการเปลี่ยนเบรกเกอร์เมน หรือการถอดสายไฟออกจากเบรกเกอร์เมน เพื่อ ทําการแก้ไขซ่อมแซมระบบไฟฟ้าในจุดอื่นๆ เมื่อถึงเวลาที่ต้องต่อสายไฟนั้นกลับ คืน ช่างไฟจะต้องคํานึงถึงสายไฟไลน์ (Line) หรือเส้นที่มีกระแสไฟฟ้า และเส้น นิวตรอน (Neutron) หรือเส้นที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า โดยการเข้าสายไฟดังกล่าวจะ ต้องให้ถูกช่องเข้าสายไฟตามที่มิเตอร์ หรือเบรกเกอร์เมนได้ระบุไว้ เช่น สายไฟ เส้นไลน์ (Line) จะต้องเข้าช่องสายไลน์ สายไฟเส้นนิวตรอน (Neutron) จะ ต้องเข้าสายนิวตรอน อย่าให้เกิดการสลับกันเป็นอันขาด เนื่องจากหากมีการ เข้าสายไฟเมนสลับขั้วกัน อาจส่งผลให้เบรกเกอร์เมน หรือเซฟตี้สวิตช์ไม่ยอม ทําหน้าที่ หรือมีประสิทธิภาพในการทําหน้าที่ลดลง เมื่อเกิดเหตุการณ์กระแสไฟ รั่ว หรือลัดวงจร จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างมาก

เช็คราคา อุปกรณ์ไฟฟ้า กดที่นี่

What do you think?

-1 Points
Upvote Downvote

Comments

Comments

Loading…

0

Written by TiTlECNx

อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..จะหยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

ถุงดูดฝุ่น

คุณต้องการถุงดูดฝุ่นแบบใดสำหรับการดูดฝุ่นแบบโปร

เลื่อยองศา โต๊ะเลื่อยวงเดือน

ข้อแตกต่างระหว่าง เลื่อยองศา และโต๊ะเลื่อย ที่คุณอาจไม่รู้