in ,

7 ประเภท ชุดไขควง ที่ควรรู้ไว้ก่อนจะเลือก ชุดไขควง เพื่อใช้งาน

      ชุดไขควง มีให้เลือกเยอะมาก แล้วเราต้องเลือกยังไง? คงมีคนสงสัยแบบนี้อยู่แน่ๆ บทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำการเลือก ชุดไขควง ที่เหมาะสม รวมถึงประเภท ชุดไขควง ที่ต้องรู้ไว้ จะได้ไม่เลือกผิดและได้ ชุดไขควง ที่ตรงใจตรงการใช้งานมากที่สุด


ข้อควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อ ชุดไขควง

      ✦  1. ต้องใช้ ชุดไขควง กี่ตัว?

      เป็นคำถามแรกที่ต้องถามตัวเองถ้าจะซื้อ ชุดไขควง เพราะความต้องการใช้งานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ชุดไขควง ที่เหมาะสมจึงต่างกันด้วย ถ้าเป็นช่าง DIY อาจต้องใช้ไขควงแค่ไม่กี่ตัว และต้องการ ชุดไขควง ที่มีขนาดเล็กถึงปานกลางเท่านั้น ดอกไขควงไม่ต้องครบทุกรูปแบบก็ได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ชุดไขควง ที่มากกว่า 10 ขึ้นไป 

      เช่นเดียวกับคนที่ต้องการใช้งานแค่ภายในครัวเรือนหรือมีติดไว้ในอาคารเผื่อฉุกเฉินหรือซ่อมแซมและประกอบอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์บางครั้งบางคราว ชุดที่ควรมีไว้อาจจะเป็น ชุดไขควงอเนกประสงค์ ที่มีอุปกรณ์หลากหลายภายในชุดนอกเหนือจากไขควง เช่น บล็อก ดอกสว่าน เป็นต้น

      แตกต่างจากช่างที่ต้องใช้งานเป็นประจำ ใช้ทุกวัน แต่จำนวนและชนิดไขควงก็ขึ้นอยู่กับงานที่ทำอีกเช่นกัน เนื่องจากช่างมีหลากหลายประเภท คุณสมบัติไขควงที่ต้องการจึงต่างกันออกไป เช่น ช่างไฟฟ้าจะต้องการไขควงไฟฟ้า VDE ที่ป้องกันแรงดันไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อ ชุดไขควง : จำนวน

      ✦  2. จะใช้ ชุดไขควง ในงานไหน?

      อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าช่างแต่ละสายก็มีความต้องการ ชุดไขควง ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไปตามภาระงาน โดยพบว่า ชุดไขควง ของช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ราคาจะสูงกว่าช่างทั่ว เพราะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นพิเศษทั้งกับตัวช่างเองและกับงานที่ทำ โดยไขควงในงานไฟฟ้ามีทั้ง VDE ที่ป้องกันแรงดันไฟฟ้า (Voltage) และ ESD (Electronic Static Discharge) ที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต ช่างควรเลือก ชุดไขควง ที่เป็น ESD เพราะวงจรของเครื่องมือสื่อสารอ่อนไหวต่อไฟฟ้าสถิตย์ที่ก่อตัวขึ้นรอบๆ ตัวเราทั้งในเส้นผม เสื้อผ้า หรือเมื่อเราเดินบนพรม

      แต่ถ้าใครต้องการความสวยงาม หรือความแข็งแรงทนทาน อยากให้สกรูอยู่ได้นานๆ โดยไม่เกิดสนิมก็เลือก ชุดไขควงสแตนเลส ที่ป้องกันการเกิดสนิมทั้งบนไขควงและหัวสกรู

      สำหรับคุณสมบัติที่เหมาะกับงานด้านอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมในหัวข้อ ประเภท ชุดไขควง 

      ✦  3. วัสดุ ชุดไขควง มีความแข็งแรงทนทานแค่ไหน?

      ช่าง DIY หรือคนที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานไขควงเป็นประจำอาจไม่ได้คิดว่าเรื่องนี้สำคัญนัก แต่กับช่างที่ต้องใช้ไขควงทุกวัน หรือต้องใช้ในงานหนัก งานอุตสาหกรรม หรือไขควงตอก จำเป็นต้องคำนึงถึงความแข็งแรงของไขควงเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ใช้งานได้นาน ไม่สึกกร่อนง่าย ไม่เบี้ยวหรือบิดงอง่าย ซึ่งไขควงที่แข็งแรงจะส่งผลต่อคุณภาพงานและต้นทุนในระยะยาว  

ข้อควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อ ชุดไขควง : วัสดุ

      ✦  4. ชุดไขควง มีด้ามจับเป็นยังไง?

      แต่ก่อนด้ามจับไม่ได้มีรูปแบบให้เลือกมากนัก แต่เพราะมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเอ็นจากการใช้ไขควงติดต่อกันเป็นเวลานาน ผู้ผลิตจึงออกแบบด้ามไขควงให้ถูกหลักสรีรศาสตร์มากขึ้น ทั้งยังใช้วัสดุที่รองรับรูปมือได้ดี ในจำนวนยี่ห้อไขควงที่หลากหลาย ด้ามจับของ Wera มีชื่อเสียงด้านความพอดีและจับถนัด ใช้งานนานๆ ไม่เจ็บมือ ยี่ห้ออื่นๆ ก็มีการออกแบบที่ใส่เอกลักษณ์ต่างกันออกไป เช่น โค้งเว้าเป็นพิเศษ หรือหุ้มยางกันลื่น เป็นต้น 

      ถ้าหากคุณเป็นคนที่ต้องใช้ไขควงทั้งวันก็ควรใส่ใจเรื่องด้ามจับเป็นพิเศษ เพื่อสุขภาพที่ดียาวนาน  


ประเภท ชุดไขควง แบบต่างๆ

      1. ชุดไขควงเล็ก ชุดไขควงซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

      ชุดไขควงเล็ก (Precision Screwdriver) คือ ชุดไขควงตัวเล็กๆ สำหรับงานอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นวงจรไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งใช้น็อตหรือสกรูตัวเล็กมากๆ ในการแก้ไขหรือซ่อมแซมจึงต้องใช้ไขควงที่มีปลายขนาดเล็กและรูปแบบเฉพาะ โดยใน ชุดไขควงเล็ก จะมีปลายไขควงหลากชนิด เพื่อให้ครอบคลุมงานทั้งหมด ได้แก่ ไขควงฟิลลิปส์, ไขควงแบน, ไขควงหกเหลี่ยม, ไขควงสี่เหลี่ยม, ไขควงสามเหลี่ยม, ไขควงดาวหรือไขควงห้าแฉก, ไขควงสามแฉก, ไขควงหกแฉกหรือไขควงทอร์ก และไขควงทอร์ก Tamperproof (บางชุดอาจมีไม่ครบทุกรูปแบบ)

      ทั้งนี้ ชุดไขควงเล็ก ยังแบ่งได้อีก 2 แบบ ได้แก่

            ❖ ชุดไขควงเล็ก ที่ไม่ใช่ ESD

            เป็นไขควง Precision ธรรมดาที่ใช้สำหรับขันน็อตหรือสกรูตัวเล็กๆ เวลาจะใช้งานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องระวังเรื่องไฟฟ้าสะสมในร่างกายหรือไฟฟ้าสถิตย์ต้องสวมถุงมือป้องกัน ซึ่งถุงมือนี้มีจำหน่ายเฉพาะ เรียกว่า ESD Glove ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์จากตัวช่างไม่ให้ถ่ายเทเข้าไปในแผงวงจร 

            ชุดไขควงเล็ก ESD 

            ESD ย่อมาจาก Electronic Static Discharge หมายถึงไขควงที่มีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ เป็น ชุดไขควงเล็ก ที่มีสัญลักษณ์ EPA สีเหลืองกำกับไว้ ถูกพัฒนาขึ้นมาภายหลังเพราะเล็งเห็นถึงความปลอดภัยต่อวงจรไฟฟ้าขนาดเล็กที่อ่อนไหวต่อไฟฟ้าสถิตย์ เนื่องจากไฟฟ้าสถิตย์มีผลทำให้ไฟฟ้าซ็อตหรือวงจรไหม้ได้ ถ้าใช้ไขควง ESD ช่างไม่จำเป็นต้องใส่ถุงมือป้องกัน ESD นอกจากนี้ ไขควง ESD ยังใช้กับพวกนาฬิกาหรืออัญมณีที่ต้องระวังเรื่องไฟฟ้าสถิตย์ได้ด้วยเหมือนกัน

ชุดไขควงเล็ก

      2. ชุดไขควงอเนกประสงค์

      เป็น ชุดไขควง ที่เน้นความครบครัน หลาดหลาย และดอกไขควงที่ต้องใช้บ่อยหรือนิยม ไม่ว่าจะเป็น ไขควงแฉก PH และ PZ หรือไขควงหัวแบน ชุดไขควงอเนกประสงค์ อาจจะเป็น ชุดไขควง 5-7 ตัว หรือไขควงเปลี่ยนดอกได้ที่มักเป็นดอกใช้งานได้ 2 ด้าน เพื่อความคุ้มค่าและพกพาสะดวก เช่น ไขควงอเนกประสงค์ที่สามารถเก็บดอกไว้ในด้ามได้ เป็นดอกไขควงเปลี่ยนใช้งานได้ตามใจ และใช้งานได้ทั้ง 2 ด้าน


      3. ชุดไขควงไฟฟ้า VDE

      ชุดไขควงไฟฟ้า ที่ดีต้องมีการป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่อาจตกค้างหรือรั่วไหลได้ แม้ว่าก่อนทำงานจะมีการปิดระบบแล้วก็ยังต้องมีการป้องกันในสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงด้วย ชุดไขควงไฟฟ้า VDE จะมีสีแดงและเหลืองซึ่งเป็นสีบังคับที่ทุกยี่ห้อต้องใช้ตามนี้ มีคุณสมบัติป้องกันแรงดันไฟฟ้าสูง มีหลายๆ ยี่ห้อที่สามารถป้องกันได้ถึง 1,000 โวลต์หรือมากกว่านั้นด้วย 

      ชุดไขควงไฟฟ้า ก็มีทั้งแบบเปลี่ยนดอกได้และไม่ได้เช่นกัน และมีหลายขนาด หลายแบบให้เลือกด้วย เวลาเลือกให้ดูที่ต้องใช้งานจริงๆ ถ้าต้องใช้ในช่องแคบๆ ก็เลือกแบบก้านสลิมหน่อยได้ ถ้าไม่มีไขควงเช็คไฟก็เลือก ชุดไขควง ที่มีไขควงวัดไฟในชุดได้ด้วยก็มีเช่นกัน


      4. ชุดไขควงกระแทก

      ไขควงกระแทก คือ ไขควงไฟฟ้าที่เป็นเครื่องมือมีสายและไร้สาย (Power Tool) นั้นในชุดอาจจะมีหรือไม่มีไขควงกระแทกมาให้ก็ได้ แต่ก็มักจะมีไขควงขันมือมาให้ และมีดอกไขควงให้เปลี่ยนแบบจัดเต็ม โดยเป็นดอก Torsion ก้านหกเหลี่ยมซึ่งมีลักษณะเว้าเข้ากับล็อกของหัวจับดอกเครื่องมือไฟฟ้า ข้อดีก็คือการใช้งานแบบสับเปลี่ยนได้ตามใจต้องการ หมายความว่าจะใช้แบบเครื่องมือไฟฟ้าหรือไม่ก็ได้

ชุดไขควงกระแทก

      5. ชุดไขควงสแตนเลส

      สแตนเลสเป็นวัสดุที่น้ำหนักเบาแต่แข็งแรง และที่สำคัญไม่เป็นสนิม ฉะนั้น ชุดไขควงสแตนเลส จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความสวยงาม ป้องกันการเกิดสนิมบนสกรูเมื่อเวลาผ่านไปหรือโดนความชื้น เหมาะกับงานที่ไม่ได้ซ่อนสกรู เพราะถ้าไขควงเกิดสนิมขึ้นจะดูไม่สวยงามนั่นเอง


      6. ชุดไขควงตอก

      สกรูตัวใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่ที่ขันแน่นมากๆ หรือเกิดสนิมจนขันไม่ได้ หากใช้ ชุดไขควงตอก ก็จะจัดการได้ง่ายขึ้น โดยไขควงตอกจะใช้ร่วมกับค้อน เมื่อตอกครั้งแรกไขควงจะเข้าร่องกับหัวสกรู เมื่อตอกครั้งต่อไปไขควงจะเริ่มหมุนเพื่อขัน การใช้ไขควงตอกคือการใช้แรงกระแทกค่อยๆ ขับเคลื่อนกลไก ไม่ต้องใช้มือหมุนขันเอง ดังนั้น ก่อนใช้งานต้องตั้งค่าให้ดีว่าจะให้ไขควงหมุนไปทางไหน ไม่อย่างนั้นสกรูที่แน่นอยู่แล้วจะยิ่งแน่นเข้าไปใหญ่

      ***ไขควงตอก แตกต่างกับไขควงที่สามารถใช้ค้อนตอกลงบนด้ามแล้วใช้ประแจช่วยขัน


      7. ชุดไขควงกรอกแกรก / ไขควงด้ามฟรี

      ปกติกรอกแกรกจะพบได้ในประแจทอร์กที่ใช้ขันบล็อก ซึ่งเป็นกลไกฟันเฟืองขับเคลื่อนการหมุนเพื่อทุ่นแรงและเวลาในการขัน มีผู้ผลิตที่นำกลไกนี้มาใช้กับไขควง เช่น Wera, SATA, Makita, Dewalt, Vessel เป็นต้น เพื่อช่วยในการขันที่แคบๆ และขันเร็วขึ้นกว่าไขควงทั่วไป การใช้งานก็เหมือนกับประแจ คือขันด้านหนึ่งและฟรีด้านหนึ่ง จึงเรียกว่าไขควงด้ามฟรีหรือไขควงกรอกแกรก


ตัวอย่าง ชุดไขควง ยี่ห้อที่แนะนำ

      1. ชุดไขควง Bosch : Bosch Bagpack Set 38 ชิ้น (2607017511)

      ชุดนี้ราคาเบาๆ แต่นับว่าเป็น ชุดไขควงอเนกประสงค์ เลยก็ว่าได้ เพราะมีทั้งไขควง ดอกไขควงชนิดต่างๆ ไขควง L-key ลูกบล็อก ด้ามบล็อกและด้ามต่อ โดยทั้งชุดมาในกระเป๋ามีซิปตัดเย็บดี พกพาไปได้ทุกที่ สะดวก น้ำหนักเบา ดอกไขควงมีทั้งฟิลลิปส์ ดอกหัวแบน ดอก PZ ดอกทอร์ก และหกเหลี่ยม ชุดเดียวคุ้มมากๆ


      2. ชุดไขควงเล็ก ESD : Wera Kraftform Micro ESD 6 ชิ้น

      ชุดไขควงเล็ก สำหรับซ่อมสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ด้ามสีดำเหลือง ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ ใช้งานนานๆ ได้โดยไม่เจ็บมือ วัสดุ ESD ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ซึ่งอาจทำให้วงจรเล็กๆ เสียหาย ปลายด้ามไขควงเป็นแบบ Free Spin ที่ทำให้หมุนได้เร็วด้วยมือเดียว


      3. ชุดไขควงอเนกประสงค์ : SATA 19 in 1 Multipurpose Ratcheting 09350 

      ชุดไขควงอเนกประสงค์ แบบสลับหัวใช้งานได้ เก็บดอกเอาไว้ในด้ามไขควงได้ด้วย ถือแค่ไขควงด้ามเดียวก็มีไขควงให้ใช้มากถึง 14 แบบ มีทั้งหัวฟิลลิปส์ หัวแบน หัวทอร์ก และหกเหลี่ยม มีหลากหลายขนาดซึ่งเป็นขนาดที่นิยมและจำเป็น สามารถใช้กับงานอิเล็กทรอนิกส์หรืองานทั่วไปได้ 

      ด้ามจับรองรับแรงกระแทก ทำหล่นไม่เสียหาย เปลี่ยนดอกได้ง่าย ทั้งยังเป็นไขควงด้ามฟรีที่ปรับการหมุนได้ง่ายๆ ทั้งตรงกลาง ซ้าย และขวา ขันเร็วกว่าไขควงธรรมดา และยังขันได้แน่นพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป วัสดุแข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน ไม่เป็นสนิม

ชุดไขควงอเนกประสงค์ : SATA
ชุดไขควงอเนกประสงค์ : SATA
ชุดไขควงอเนกประสงค์ : SATA

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by Aoily J.

Learning is never end.

รอกไฟฟ้า

4 ประเภท และการ ทำงาน ของรอกไฟฟ้า เป็นอย่างไร?

DEWALT แบตเตอรี่

DEWALT แบตเตอรี่ เพิ่มพลังและประสิทธิภาพให้กับการทำงานของคุณ