วัตถุที่มีน้ำหนักเยอะ เช่น รถ เครื่องจักร เครื่องมือช่างบางประเภท หรือแม้แต่เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่อย่างเตียง ตู้ ชั้นวาง แน่นอนว่าเรานั้นไม่สามารถยกวัตถุนั้นๆได้ด้วยตัวเอง ในอดีตจะใช้ไม้นำมาขัดกันให้เป็นเกรียวท่อแล้วนำมาประกอบเป็นเฟืองหมุนยกให้สูงขึ้นเพื่อนช่วยผ่อนแรง และต่อมาก็พัฒนามาเรื่อยๆจนมาเป็นเครื่องมือที่เรียกว่า “แม่แรง” ซึ่ง
แม่แรง นั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
แม่แรง ระบบกลไก
- แม่แรงระบบกลไก ใช้กลไกลการทำงานแบบ ระบบเฟือง หมุนเพื่อยกน้ำหนัก ความแข็งแรงสามารถพกพาได้ง่าย สามารถยกระดับของตัวรถได้สูงตามที่ความยาวของแกนถูกกำหนดมา เมื่อใช้งานต้องออกแรงมากสำหรับการยกน้ำหนัก ส่วนมากแม่แรงแบบกลไกจะมีขาเดียว ทำให้ไม่ค่อยแข็งแรงเกิดอันตรายง่ายเมื่อใช้งานยกน้ำหนักเยอะ

แม่แรง ระบบไฮดรอลิค
- แม่แรงระบบไฮดรอลิค หรือแม่แรงกระปุก ใช้น้ำมันไฮดรอลิกในการขับแรงดันลูกสูบ สามารถยกน้ำหนักได้เยอะแม้จะมีขนาดตัวไม่ใหญ่ แม่แรงระบบไฮดรอลิกมีหลายชนิดแต่ละชนิดก็มีการใช้งานที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าจะเอาไปใช้งานประเภทไหน เช่น
- แม่แรงยกแบบลิฟ (hydraulic hand jack) เป็นแม่แรงยกขนาดเล็กที่ใช้ยกงานที่ไม่หนักเกินไปและใช้ยกในช่วงสั้นๆ และสามารถดันงานตัวถังและโครงรถ เพื่อให้ตัวถังและโครงรถได้ศูนย์ขณะซ่อมงานตัวถังด้วย และแม่แรงยกโดยตรงจะมีแม่ปั้มกับกระบอกดันรวมอยู่ในชุดเดียวกัน ลักษณะการทำงานจะทำการยกหรือดันก็ได้

- แม่แรงยกแบบตั้งพื้นหรือ แม่แรงตะเข้ (hydraulic floor jack) แม่แรงตะเข้แบบตั้งพื้น เป็นแม่แรงยก โดยมีหลักการทำงานของระบบไฮดรอลิค จะใช้ยกส่วนหน้า ส่วนหลัง และด้านข้างของรถยนต์ ซึ่งแม่แรงยกตั้งพื้นจะมีขนาด ต่างกันและสามารถยกน้ำหนักได้ตั้งแต่ 1-20 ตัน ขึ้นอยู่กับการเลือกขนาดที่นำไปใช้งาน และแม่แรงยกแบบตั้งพื้นแม่ปั้มและกระบอกดันจะอยู่ในชุดเดียวกัน

- แม่แรงดันแบบเคลื่อนที่ (Portable hydraulic Jack) เป็นแม่แรงที่ให้กำลังในการดันงานโลหะ ตัวถังและโครงรถ ที่เกิดจากการบิดตัว โค้งงอ เนื่องจากการชนหรือจากอุบัติเหตุอื่นๆ ให้ตรงและได้ศูนย์ ซึ่งแม่แรงดันแบบเคลื่อนที่จะประกอบด้วยส่วน 3 ส่วนคือ แม่ปั้ม สายต่อ กระบอกดัน

ตัวกระบอกดันและลูกสูบดัน ของแม่แรงดันแบบเคลื่อนที่ จะมีลักษณะที่เหมือนกัน แม้จะไม่ได้ผลิตจากบริษัทเดียวกัน โดยเฉพาะเกลียวที่กระบอกดัน และเกลียวที่ลูกสูบดัน ของแม่แรงจะต้องเป็นเกรียวาตรฐานทั่วไป เมื่อนำเครื่องมืออุปกรณ์ประกอบเข้า เช่น ท่อต่อ ฐานรอง ฐานยาง ก็สามารถนำมาประกอบกันเข้าได้หมดนั้นเอง
การเลือก แม่แรง ตั้งพื้นที่ดีที่สุดเป็นมากกว่าการรองรับความจุน้ำหนัก
เลือกวัสดุของ แม่แรง ให้เหมาะสม
- เหล็ก : แม่แรงเหล็กเป็นที่นิยมมากที่สุดเพราะราคาถูกและทนทานที่สุด การแลกเปลี่ยนคือน้ำหนัก: พวกมันก็หนักที่สุดเช่นกัน ผู้ที่เลือกใช้แม่แรง เหล็ก มักจะทำงานในร้านซ่อมและช่องบริการของตัวแทนจำหน่าย เช่นร้านซ่อมรถ จะใช้ในการเปลี่ยนยางเป็นส่วนใหญ่ เพราะไม่ต้องขยับแม่แรงมากเกินไป
- อะลูมิเนียม : เบากว่าแต่ทนได้นานกว่าและแพงกว่า ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของสเปกตรัมจะติดตั้งแจ็คอลูมิเนียม สิ่งเหล่านี้มีราคาแพงที่สุดและทนทานน้อยที่สุด – แต่อาจมีน้ำหนักน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเหล็กคู่กัน แม่แรงอะลูมิเนียมเหมาะอย่างยิ่งสำหรับช่างเคลื่อนที่ เดินทางไปซ่อมรถ และในสนามแข่งที่ความเร็วและความคล่องตัวเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด จากประสบการณ์ของ Bob ผู้ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนบางคนไม่คิดว่าแม่แรงอะลูมิเนียมจะมีอายุการใช้งานนานกว่า 3-4 เดือน
- ไฮบริด : ผสมผสานทั้งชิ้นส่วนเหล็กและอลูมิเนียมเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด ผู้ผลิตแนะนำแม่แรงไฮบริดของอลูมิเนียมและเหล็ก เมื่อสองสามปีก่อน ส่วนประกอบโครงสร้างที่สำคัญ เช่น แขนยกและหน่วยกำลังยังคงเป็นเหล็ก ในขณะที่แผ่นด้านข้างเป็นอะลูมิเนียม ไม่น่าแปลกใจเลยที่รถไฮบริดเหล่านี้สร้างความสมดุลทั้งน้ำหนักและราคา
ความจุน้ำหนัก : แม่แรง
ความจุ 3 ตัน จะเหมาะสำหรับ รถกะบะได้ หรือรถ SUV

และที่เห็นอีกประเภทคือ แบบ 2 ตัน ที่ต้องใช้ขาตั้งเข้ามาช่วยเหมือนกับแม่แรงแแบบที่เป็น อลูมิเนียม เพราะว่ารองรับน้ำหนักได้ไม่เยอะ เพราะวัตถุประสงค์ของเจ้าตัวแม่แรง 2 ตันนั้นคือ มันมีน้ำหนักน้อยทำให้พกพาสะดวก มันถูออกแบบมาเพื่อใช้ในกรณีที่จำเป็น เท่านั้น ไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานทั่วไปในทุกวัน ความจุขอเเม่แรงนั้น ถ้าหากเรานำไปใช้งานแบบที่เกินกำลังมากไป จะทำให้อายุการใช้งานลดลง และเสื่อมประสิทธิภาพนั้นเอง


ผู้ใช้ปกติสามารถใช้แม่แรงขนาด 2.5 ตันได้ในกรณีที่ฉุกเฉิน แต่หากเป็นร้านซ่อมมักจะเลือกใช้อย่างน้อย 3 ตันเพื่อให้ครอบคลุมฐานทั้งหมด
เช็คราคา แม่แรง ทั้งหมด
Comments