in

เครื่องมือบัดกรี หัวแร้งบัดกรี และ อุปกรณ์ต่างๆในงาน บัดกรีโลหะ

สําหรับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆในงานเชื่อมโลหะ มันอาจจะมีอยู่หลายๆแบบ ที่จะแบ่งออกตามวิธีในการเชื่อมประเภทต่างๆรวมถึงการเชื่อมโลหะอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากคุณต้องการที่จะเชื่อมโลหะ จะต้องเรียนรู้และเข้าใจทักษะในการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์นั้นๆก่อนที่จะใช้งานนั่นเอง

หัวแร้งบัดกรี (Soldering)

สําหรับเครื่องมือชนิดนี้ ใช้เพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน โดยการใช้ความร้อนด้วตัวของหัวแร้งบัดกรี เช่น การเผาจากเตา เพื่อใช้ละลายตะกั่วในการเชื่อมต่อให้โลหะติดกัน โดยจะมีหลักการทํางานเหมือนกับหัวแร้งบัดกรีที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะผลิตจากวัสดุ เช่น เหล็ก และทองแดง โดยเฉพาะหัวแร้งที่ทําจากทองเหลืองมันจะใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพมากกว่าหัวแร้งที่ทําจากเหล็กธรรมดา แต่มีราคาแพงกว่ามาก และในการใช้งานจำเป็นจะต้องใช้งานร่วมกับน้ำยาประสาน หัวแร้งบัดกรีเองมีหลากหลายขนาด เวลาใช้งานจะต้องเลือกขนาดของหัวแร้งให้เหมาะสมกับงานที่คุณต้องการ

บัดกรี

การเผาหัวแร้ง

ความร้อนที่นํามาใช้เผาหัวแรงบัดกรีจะได้มาจากหลายแหล่งความร้อน เช่น เตาน้ำมัน เตาแก๊ส เตาถ่าน และหัวแร้งไฟฟ้า เป็นต้น แต่ในกรณีที่ใช้เตาน้ำมันหรือเตาถ่านเผาหัวแร้งนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องระวังไม่ให้เผาหัวแร้งร้อนจะแดง เพราะจะทําให้หัวแร้งเสีย โดยเฉพาะหัวแร้งที่ผลิตจากโลหะทองแดงจะร้อนเร็ว กว่าหัวแร้งที่เป็นเหล็ก ดังนั้นผู้ปฏิบัติจะต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก 

บัดกรี
บัดกรี

ตะกั่วบัดกรี (Solder)

ตะกั่วบัดกรี คือ โลหะผสมระหว่างตะกั่วกับดีบุก โดยการใช้งานจะใช้หัวแร้งเป็นตัวละลายตะกั่วให้มีการเชื่อมติดประสานกับโลหะจากความร้อนที่เกิดจากการเผาหัวแร้งนั่นเอง แต่ในทางปฏิบัติเฉพาะธาตุดีบุกก็สามารถนําไปบัดกรีได้เช่นกัน เนื่องจากธาตุดีบุกมีคุณสมบัติที่สามารถหลอมตัวได้ที่อุณหภูมิ 450 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งในระดับอุณหภูมินี้จะสามารถเข้ากับโลหะผสมกับโลหะอื่นๆได้อีก แต่เฉพาะธาตุดีบุกบริสุทธิ์จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า หากนํามาผสมกับตะกั่วที่มีจุดหลอมตัวที่ 620 องศา ฟาเรนไฮต์ โดยนํามาผสมกับดีบุกที่มีจุดหลอมตัวที่ 450 องศาฟาเรนไฮต์ จะส่งผลให้โลหะผสมต่างๆมีจุดหลอมตัวต่ำลงอย่างมาก แต่ตะกั่วที่วางขายอัตราส่วนที่ผสม 3 ชนิดด้วยกัน

  • ตะกั่วบัดกรีอย่างดี จะเป็นชนิดดีบุก 60 ตะกั่ว 40 ซึ่งตะกั่วบัดกรีชนิด นี้จะมีราคาสูง มีลักษณะเป็นสีขาวและมันที่ใช้งานได้ดีที่สุด เพราะมีอุณหภูมิของการหลอมตัวอยู่ที่ราวๆ 370 องศาฟาเรนไฮต์
  • ตะกั่วบัดกรีชนิดปานกลาง จะเป็นชนิดอัตราส่วนเท่ากับอย่างละครึ่งคือ ดีบุก 50 และตะกั่ว 50 ใช้งานได้ดีพอสมควรในระดับปานกลาง มีลักษณะเป็นสีขาวเช่นกัน แต่มีความมันน้อยกว่าและมีอุณหภูมิของการหลอมตัวอยู่ที่ 414 องศาฟาเรนไฮต์
  • ตะกั่วบัดกรีชนิดต่ำ จะเป็นชนิดที่ดีบุกผสมอยู่น้อยกว่าตะกั่วคือ ดีบุก 40 และตะกั่ว 60 โดยตะกั่วบัดกรีชนิดนี้จะมีราคาถูก มีลักษณะเป็นสีดําด้าน ซึ่งในการใช้งานจะเริ่มอ่อนตัวที่อุณหภูมิ 360 องศาฟาเรนไฮต์และตะกั่วจะเริ่มไหลได้ดีที่อุณหภูมิ 460 องศาฟาเรนไฮต์

น้ำยาประสาน หรือน้ำกรดบัดกรี (Flux)

ในการใช้งานน้ำยาประสานหรือฟลักซ์ (Flux) ในงานบัดกรีโลหะนั้นจะช่วยให้ตะกั่วบัดกรีทําปฏิกิริยาทางเคมีกับโลหะที่มีการเชื่อมประสานกันติดแน่นเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยน้ำยาประสานในงานเชื่อมโลหะจะมีอยู่ 7 ชนิดด้วยกัน

1

น้ำยาประสานสังกะสีคลอไรด์

บัดกรี
น้ำยาประสานสังกะสีคลอไรด์

น้ำยาชนิดนี้จัดอยู่ในจําพวกน้ำยาประสานกรด ซึ่งเป็นชนิดที่แรงกว่าน้ำยาประสานสนแบบทั่วไป เพราะทําจากน้ำกรดเกลือชนิดแรง โดยเอาสังกะสีละลายเข้าไป น้ำยาชนิดนี้ส่วนใหญ่นิยมใช้สําหรับงานบัดกรีโลหะจําพวก กระป๋อง เหล็กแผ่น ทองแดง ทองเหลือง สังกะสี และนิเกิล 

2

น้ำยาประสานสน

บัดกรี
น้ำยาประสานสน

น้ำยาประสานที่ไม่มีคุณสมบัติ ในการกัดโลหะและยังป้องกันการเกิดสนิมในรอยเชื่อม สําหรับน้ำยาประสานสนจะเหมาะกับงานพวก เครื่องใช้ไฟฟ้าและพวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ โดยทั่วไปแล้วน้ำยาประเภทนี้มีการวางขายกันตามท้องตลาดจะมีลักษณะเป็นก้อนหรือเป็นผงนั่นเอง

3

น้ำยาประสานสําเร็จรูป จําพวกสังกะสีคลอไรด์

บัดกรี
น้ำยาประสานสําเร็จรูป จําพวกสังกะสีคลอไรด์

สําหรับน้ำยาชนิดนี้จะเป็นน้ำยาสําเร็จรูปที่มีวางจําหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด ที่ไม่ต้องนํามาผสมเอง ส่วนใหญ่จะบรรจุในกระป๋องมีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวข้นคล้ายจารบี แต่หลังเสร็จจากการบัดกรีแล้ว จะต้องล้างรอยเชื่อมด้วยน้ำยาหรือน้ำสะอาดเช่นเดียวกันกับน้ำยาประสานสังกะสีคลอไรด์นั่นเอง

4

น้ำยาประสานพวกสังกะสีคลอไรด์

น้ำยาชนิดนี้เป็นน้ำยาที่คุณจะต้องผสมเอง น้ำยาประสานสังกะสีคลอไรด์ ในท้องตลาดทั่วไปจะมีขายในลักษณะเป็นก้อน คุณสามารถนํามาละลายน้ำสะอาดแล้วนํามาใช้ได้เลย ยังคงคุณสมบัติการกัดโลหะเหมือนเดิม

5

น้ำยาประสานกรดเกลือ

บัดกรี
น้ำยาประสานกรดเกลือ

สามารถใช้เป็นน้ำยาประสานได้ดีพอสมควร สําหรับโลหะจําพวกเหล็กรวมถึงอาบดีบุกสังกะสีด้วย และที่สําคัญคุณจะต้องทาน้ำยาชนิดนี้ลงบนรอยเชื่อมแล้วทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที ก่อน แต่จะมีข้อเสียเล็กๆน้อยๆตรงที่บัดกรีได้ผลไม่ค่อยดีเฉพาะเหล็กหล่อและโลหะที่ไม่เกิดสนิมนั่นเอง

6

น้ำยาประสานบัดกรีเหล็กที่ไม่เกิดสนิม

เป็นน้ำยาแบบสําเร็จรูปที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป จะมีอยู่หลากหลายยี่ห้อ สิ่งสําคัญของการใช้น้ำยาชนิดนี้คุณต้องทําตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในตัวฉลากหรือคู่มือการใช้งานของน้ำยา ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ โดยปกติแล้วน้ำยาชนิดนี้จะทําปฏิกิริยากับโลหะอย่างรวดเร็ว หลังจากบัดกรีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรรีบนําไปล้างสบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง 10% จะได้ผลดีที่สุดนั่นเอง

7

น้ำยาประสานสําหรับบัดกรีอลูมิเนียม

บัดกรี
น้ำยาประสานสําหรับบัดกรีอลูมิเนียม

น้ำยาชนิดนี้มีขายแบบสําเร็จรูปหลากหลายยี่ห้อตามท้องตลาด โดยการใช้น้ำยาชนิดนี้คุณต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีจุดหลอมตัวของโลหะต่ำมาก ประมาณ 125 องศาฟาเรนไฮต์ อีกทั้งยังใช้กับหัวแร้งไม่ค่อยได้ผล นอกจากจะนําไปเผาในเตา หากคุณไม่ระมัดระวังโลหะที่ต้องการจะเชื่อมติดกันอาจละลายก่อนที่น้ำยาจะหลอมตัวและนอกจากนี้น้ำยาชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติเป็นอันตรายต่อโลหะ เพราะฉะนั้นหลังจากที่คุณบัดกรีเสร็จแล้วจะต้องล้างรอยเชื่อมด้วยน้ำยาหรือน้ำสะอาดทันที

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by TiTlECNx

อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..จะหยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

เครื่องมือช่าง

12 เครื่องมือช่างพื้นฐาน ที่ต้องมีติดบ้านเอาไว้

สว่านไขควง

รีวิว ไขควงกระแทกไร้สาย MAKITA TD001G 40V. ที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นสุดโหด