in

เลือก สายไฟ อย่างไร ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ!

สายไฟแรงดันต่ำ

ก่อนที่จะเลือกสายไฟในการใช้งานนั้น คุณต้องทําความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานของตัวอุปกรณ์ และมาตรฐานการใช้งาน เนื่องจากมีผู้ประกอบการหัวใสบางราย ผลิตหรือนําเข้าอุปกรณ์สายไฟที่มีคุณภาพต่ำออกขายตามท้องตลาด ยกตัวอย่างเช่น การใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการนําเข้าอุปกรณ์สายไฟจากต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ผ่านการ ตรวจสอบมาตรฐาน จากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดย มากแล้ว อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน (มอก.) มักวางขายตามตลาดนัด อุปกรณ์สายไฟเหล่านี้มีฉนวน หุ้มที่ไม่ได้คุณภาพหากนําไปใช้ฉนวนหุ้มนั้นอาจจะละลาย แข็ง หรือเกิดการเผาไหม้ได้ง่าย ดังนั้นเพื่อการป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณและทรัพย์สินอันมีค่า ควรเลือกใช้สายไฟที่ได้รับการตรวจสอบจากสํานักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีตราประทับที่ตัวอุปกรณ์พร้อมด้วย ตัวอักษร มอก. นั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องคํานึงถึงในการเลือกใช้สายไฟนั่นก็คือ การใช้งานสายไฟให้ถูกประเภท และถูกขนาด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่นําสายไฟชนิดใช้งานภายใน อาคารไปใช้งานภายนอกอาคาร ด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนหุ้มไม่ได้ถูกออกแบบให้ทนทานต่อแสงแดด จะทําให้ฉนวนหุ้มสายไฟแตกกรอบชํารุดได้ง่าย เป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายนั่นเอง ในส่วนสายไฟฟ้าที่ใช้เดินภายนอกอาคาร จะมีส่วนประกอบของเปลือกฉนวนที่หุ้มเส้นลวดทองแดงอยู่นั้น จะมีสารที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันแสงแดด จึงทําให้สายไฟฟ้าที่ใช้ภายนอกอาคารส่วนมาก เป็นสีดํา หรืออาจเป็นสีอื่นก็ได้เช่นกัน หรือหากเป็นกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นจําเป็นต้องใช้สายไฟชนิดเดินภายในตัวอาคารไปใช้กับภายนอกอาคาร คุณก็อาจร้อยสายไฟนั้นเข้าไปในท่อร้อยสายไฟชนิดต่างๆ เพื่อให้ท่อช่วยป้องกันแสงแดดได้

สายไฟ THW หรือสายเดี่ยว

สายไฟ THW

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ และสามารถทนได้ในอุณหภูมิความร้อนถึง 75 องศาเซลเซียส เป็นสายหุ้มฉนวนที่ภายในทําด้วยทองแดง หรืออะลูมิเนียม โดยทั่วไปถ้าเป็นสาย THW ขนาดเล็ก จะมีลักษณะ เส้นตัวนําเดี่ยวแต่ถ้าเป็นสาย THW ขนาดใหญ่จะมีลักษณะเส้นตัวนําหลายเส้นรวมกันในเส้นเดียวเพื่อนําไปใช้งานในการตีเกลียว 

ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานสายไฟ THW

  • ใช้งานในลักษณะพาดโยงหรือลอยเหนือพื้นดิน โดยยึดด้วยฉนวน เช่น ลูกถ้วยเซรามิก
  • การติดตั้งเดินสายต้องวางในรางสายหรือช่องเดินสาย
  • ไม่ควรติดตั้งหรือเดินสายโดยการฝังลงดินโดยไม่มีการร้อยท่อสายไฟชนิดนี้มักใช้ภายนอกบริเวณตัวอาคารหรือบ้านเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้สายไฟชนิดนี้เป็นสายไฟหลัก ที่ต่อพ่วงตรงมาจากมิเตอร์ไฟฟ้าที่เสาไฟฟ้าแล้วพาดโยงมายังเบรกเกอร์หลัก ที่มีระบบป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน หรือกระแส ไฟฟ้าลัดวงจร ที่ติดตั้งอยู่ในตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก ซึ่งเป็นต้นทางในการแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าภายในอาคารบ้านเรือนนั่นเอง

สายไฟ VCT หรือสายกลมอ่อน

สายไฟ VCT

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ สาย VCT นี้ จะมีขนาดตั้งแต่ 2, 3, 4 แกนตัวนํา ซึ่งเส้นลวดทองแดงจะเป็นเส้นฝอยๆ จึงมีคุณสมบัติที่อ่อน สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงในการใช้งานได้ตามต้องการ โดยเฉพาะชนิดที่มี 3-4 แกน จะมีสายดินรวมอยู่ด้วย จึงได้สะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยสามารถต่อสายดินให้เรียบร้อยในครั้งเดียว 

โดยมากสายไฟชนิด VCT นี้ จะใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องจักรสะเทือน หรือมีการเคลื่อนไหวเมื่อเปิดใช้งาน เช่น ปั้มน้ํา เครื่องตัด หญ้าไฟฟ้า หรือเครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานสายไฟ VCT

  • หากจําเป็นต้องเดินพาดลอยภายนอกอาคารบ้านเรือนเป็นการถาวร สาย VCT ต้องอยู่ในท่อร้อยสายไฟ
  • สาย VCT ต้องอยู่ในท่อร้อยสายไฟ ก่อนฝังลงพื้นดิน ไม่ควรใช้สายไฟชนิดนี้ไปใช้กับสายไฟหลัก
  • สาย VCT ชนิด 4 แกน สามารถใช้งานกับระบบไฟฟ้า 3 เฟสได้ (ไลน์ 3 เส้น และนิวตรอน 1 เส้น)

สายไฟ NYY หรือสายกลมแข็ง

สายไฟ NYY

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ สาย NYY นี้จะ มีทั้งชนิดสายเดี่ยวและคู่ ขนาดตั้งแต่ 2 3, 4 แกนตัวนํา ซึ่งเส้นลวดทองแดงแบบเดี่ยวในแต่ละเส้น จึงมีคุณสมบัติที่แข็งพอสมควร ซึ่งโดยมากสายไฟชนิด NYY นี้ส่วนใหญ่ใช้งานแบบอเนกประสงค์ เพราะมีความทนทานในทุกสภาพอากาศด้วย เพราะมีฉนวนหุ้มถึง 3 ชั้นด้วยกัน จะพูดก็คือมีฉนวนหุ้มสายลวดทองแดง จากนั้นมีเปลือกหุ้มฉนวนอีก 2 ชั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี ซึ่ง ถือเป็นจุดประสงค์หลัก

ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานสายไฟ NYY

  • สามารถใช้งานได้ทั้งพาดลอย หรือฝังลงพื้นดิน โดยการร้อยท่อหรือไม่
  • สาย NYY ชนิด 4 แกน สามารถใช้งานกับระบบไฟฟ้า 3 เฟสได้ (ไลน์ 2 เส้น นิวตรอน 1 เส้น และสายดิน 1 เส้น)
  • ไม่ควรใช้สายไฟชนิดนี้ ไปใช้กับสายไฟหลัก

สายไฟ VAF หรือสายคู่

สายไฟ VAF

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 300 โวลต์ สาย VAF นี้จะมี ทั้งชนิดสายเดี่ยวและสายคู่ หรือบางยี่ห้ออาจเพิ่มสายดินเข้าไปด้วยเป็นสามเส้น ในสายไฟ VAF เส้นเดียว นอกจากนี้สายไฟ VAF จะมีฉนวนหุ้มเป็นลักษณะ 2 ชั้น ซึ่งจะมีทั้งแบบกลมและแบบแบน สายกลมจะเป็นเส้นลวดทองแดงเดี่ยวแบบแกน เดียว ส่วนสายแบบแบนนั้น จะมีเส้นลวดทองแดง 2 ถึง 3 แกน สายไฟชนิด VAF นี้ ส่วนใหญ่จะใช้เดินสายภายในอาคารบ้านเรือน โดยใช้ เข็มขัดรัดสายช่วยยึดติดกับผนังไม้หรือคอนกรีต และฝ้ายิปซัมซีบอร์ด หรืออาจ ร้อยท่อหรือรางกล่องเดินไฟก็ได้

ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานสายไฟ VAF

สายไฟ VAF ชนิดกลม

  • วางใต้ฝ้าเพดาน หรือร้อยท่อ
  • เดินสายยึดติดกับผนัง หรือฝังในผนัง
  • เดินสายในช่องเดินสายไฟโดยเฉพาะ
  • อย่าใช้สายไฟ VAF ฝังในพื้นดิน โดยไม่ร้อยท่อเก็บสายไฟ

สายไฟ VAF ชนิดแบน 2 หรือ 3 แกน

  • เดินสายยึดติดกับผนัง หรือฝังในผนัง
  • เดินสายในช่องเดินสายไฟโดยเฉพาะ
  • อย่าใช้สายไฟ VAF ฝังในพื้นดิน โดยไม่ร้อยท่อเก็บสายไฟ 

สายไฟ VFF หรือสายแบนอ่อน

สายไฟ VFF

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 300 โวลต์ ด้วยสายไฟชนิด VFF นี้ มีแกนเป็นเส้นลวดทองแดงแบบฝอย จึงมีคุณสมบัติที่อ่อนมาก สามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงในการใช้งานได้ตามต้องการไม่จํากัด ส่วนมากมักใช้งานกับ เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี หรือพัดลมตั้งโต๊ะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างอื่นที่ไม่กินไฟมากนัก เป็นต้น 

ข้อควรปฏิบัติในการใช้งาน สายไฟ VFF

  • ไม่ควรใช้สายไฟชนิด VFF นี้ เดินยึดติดกับผนัง พาดลอย และร้อยท่อหรือแม้แต่ฝังลงพื้นดิน
  • ไม่ควรใช้สายไฟชนิดนี้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟมาก เช่น ปั๊มน้ํา หม้อ หุงข้าว เป็นต้น
  • ควรหลีกเลี่ยงโรลล์ปลักที่ใช้สายไฟชนิดนี้ เนื่องจากเกิดการเผาไหม้ได้ ง่าย เมื่อทับถมกันนานๆ

การเลือก สายไฟ ให้เหมาะสม

สําหรับสายไฟที่นิยมนํามาใช้เดินไฟเพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดนั้นคือ สายไฟประเภท VAF โดยมีคุณสมบัติที่ทนแรงดันกระแส ไฟฟ้าไม่เกิน 300 โวลต์ และทนต่อความร้อนไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เช่นนั้น สายไฟประเภท VAF จึงสามารถนําไปใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ อีกทั้งสายไฟ ประเภทดังกล่าวยังเอื้ออํานวยในกรรมวิธีการเดินสายไฟแทบจะทุกรูปแบบเลยก็ว่าได้

ในการเลือกใช้สายไฟที่เหมาะสมกับอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจําเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องมาพิจารณาเลือกใช้งาน ตามการกินกระแสไฟฟ้าของอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ โดยมาตรฐานแล้วถ้าขนาดของสายไฟฟ้ามากเท่าไหร่ อัตราพิกัดการทนกระแสไฟฟ้าก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นก่อนที่คุณจะทําการติดตั้ง หรือเพิ่มเติมสายไฟเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คุณควรศึกษาหาข้อมูลว่า อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีอัตราการใช้กระแสไฟฟ้าที่โวลต์หรือกี่แอมป์ และเราควรเลือกสายไฟ VAF ขนาด ใดมาใช้งาน

การศึกษาหาข้อมูลจากอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมากจะมีป้ายกํากับการใช้งานติดอยู่ที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้กระแสไฟฟ้าแสดงไว้ หรือเราอาจศึกษาจากคู่มือการใช้งานของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ก็ได้นั่นเอง

เช็คราคา สายไฟ ได้ที่นี่

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by TiTlECNx

อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..จะหยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

เลื่อยชัก เลื่อยไร้สาย

การเลือก เลื่อยชัก ที่ดีที่สุด ตามแบบฉบับ มืออาชีพ

ประเภทของ เครื่องกัด ที่คุณต้องรู้