ลวดเชื่อม (Electrode or Welding Rod)
เป็นโลหะชนิดที่ใช้หลอมละลายไปในจุดที่หลอมละลายระหว่างชิ้นงานและลวดเชื่อม โดยลวดเชื่อมนี้เมื่อหลอมละลายแล้ว จะเป็นการเพิ่มปริมาณเนื้อโลหะเชื่อมที่สร้างประสิทธิภาพในการเชื่อมให้มีการยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน โดยลวดเชื่อมจะเป็นตัวประสานรอย ต่อของชิ้นงานให้แข็งแรงและสมบูรณ์ ซึ่งตัวของลวดเชื่อมนี้จะมีทั้งแบบใช้ งานกับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องเชื่อมแก๊สโดยทั่วไปลวดเชื่อมจะนิยมใช้อยู่ 2 ประเภท
ลวดเชื่อม Electrode
ลวดเชื่อมที่ใช้กันในวิธีเชื่อมแบบไฟฟ้า ซึ่งลวดเชื่อมชนิดนี้จะทําหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า เมื่อแตะ ปลายลวดเข้ากับชิ้นงานที่เชื่อมต่อกับสายดินแล้ว จะเกิดการอาร์กสร้างพลังงานความร้อนให้ลวดเชื่อมเกิดการหลอมละลาย โดยลวดเชื่อมชนิดนี้จะสามารถแบ่งย่อยได้ 2 ชนิดด้วยกัน
- Consumable เป็นลวดเชื่อมที่เป็นขั้วไฟฟ้าและเป็นโลหะเติมทั้งสองอย่าง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นแบบสิ้นเปลืองก็ได้ เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อม SMAW เป็นต้น
- Non Electrode เป็นลวดเชื่อมที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับขั้วไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่หลอมละลายไปกับโลหะเชื่อม ลวดเชื่อมชนิดนี้จะไม่ถือเป็นแบบสิ้นเปลือง เช่น ลวดเชื่อมของการเชื่อม GTAW หรือ PAW ที่เชื่อมด้วยมือ เป็นต้น
ลวดเชื่อม Non Electrode
ลวดเชื่อมที่ไม่เกี่ยวข้องกับขั้วไฟฟ้า ซึ่งจะใช้ สําหรับเป็นโลหะอย่างเดียว โดยจะสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ชนิด
- Filler Rod ลวดเชื่อมที่มีลักษณะเป็นแท่ง เช่น ลวดเชื่อมที่ใช้ สําหรับการเชื่อมแก๊ส เป็นต้น
- Filler Wire ลวดเชื่อมที่มีลักษณะเป็นเส้นลวด เช่น ลวดเชื่อมที่ ใช้งานสําหรับการเชื่อม PAW ซึ่งจะทําการเชื่อม โดยเครื่องจักร เป็นต้น
ลวดเชื่อม ไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์
ลวดเชื่อมไฟฟ้าแบบหุ้มฟลักซ์ประเภทนี้ เป็นลวดเชื่อมที่ใช้กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้า โดยลวดเชื่อมจะเป็นขั้วไฟฟ้าและใช้งานด้วยการอาร์กไฟฟ้า จะทําให้เกิดความร้อนในการหลอมละลายโลหะลวดเชื่อมตามมาตรฐานของ AWS ซึ่งสามารถแบ่งออกตามชนิดของโลหะที่เชื่อม โดยแต่ละชนิดจะใช้กับโลหะที่มีความแตกต่างกันไป ลวดเชื่อมชนิดนี้ที่นิยมใช้กันหลายแบบ
แม้ลวดเชื่อมไฟฟ้าแบบหุ้มฟลักซ์จะมีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ทุกชนิดจะมีลักษณะโครงสร้างที่เหมือนกัน แต่ที่มีความแตกต่างกันแต่ละชนิดก็ คือ สัญลักษณ์ของลวดเชื่อมไฟฟ้า ซึ่งมีมาตรฐานกําหนดไว้ชัดเจน
E อักษรตัวแรก = ลวดเชื่อมสำหรับการเชื่อม
XX เลขสองตัวหน้า = ค่าความต้านทานดึงต่ำสุดที่มีหน่วยเป็น PSI x 1000
X เลขตัวที่สาม = ตำแหน่งท่าเชื่อมที่เหมาะสมกับลวดเชื่อมนั้นๆ
X เลขตัวที่ 4และ5 = คุณสมบัติต่างๆของลวดเชื่อม เช่น กระแสไฟฟ้า การซึมลึก การอาร์ก
ยกตัวอย่างเช่น E6011
E ตัวอักษรด้านหน้าจะหมายถึงลวดเชื่อมไฟฟ้า 60 เลข 2 ตัวหน้าคือ 60 x 1000 เท่ากับ 60000 PSI คือค่าความต้านทานแรงต่ำสุดนั่นเอง ต่อมา คือเลข 1 เป็นตัวเลขตัวที่ 3 ท่าเชื่อมที่เหมาะกับลวดเชื่อมนั้นๆ เช่น เลข 1 คือท่าราบ ท่าตั้ง ท่าขนานนอน และท่าเหนือศีรษะ เลข 2 คือท่าขนานนอนและท่าราบเท่านั้น เลข 3 คือท่าราบเท่านั้น ตัวเลขสุดท้าย คือคุณสมบัติต่างๆของลวดเชื่อมไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น เลข 1 ของตัวเลขที่ 4 จะหมายถึงใช้กระแสไฟฟ้าชนิด AC DCER ได้
E อักษรตัวแรก = ความดันเค้นแรงดึงต่ำสุด x 1000 มีหน่วยเป็น PSI
XX เลขสองตัวหน้า = ตำแหน่งท่าเชื่อม
X เลขตัวที่สาม = ชนิดของกระแสไฟเชื่อม
X เลขตัวที่ 4และ5 = ส่วนผสมทางเคมี
เช็คราคา ลวดเชื่อม ได้ที่นี่
Comments