in

วิธีตรวจสอบ ปั๊มน้ำและระบบน้ำประปา ให้คงความปลอดภัยต่อทุกคนในบ้าน

ตรวจสอบและดูแลระบบประปาของคุณ ให้มีประสิทธิภาพ

เมื่อการติดตั้งหรือซ่อมแซมเสร็จสิ้น ก่อนที่คุณจะเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆเข้าที่ เราควรมีการทดสอบระบบน้ำให้แน่ใจเสียก่อนว่ามีประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานได้ดีหรือไม่ นอกจากนี้สําหรับการติดตั้งระบบท่อส่งน้ำ คุณอาจจะต้องทดสอบแรงดันของน้ำภายในท่อส่งน้ำด้วย โดยแรงดันภายในท่อจะต้องมีปริมาณและความ แรงเหมาะสมกับการทํางานของเครื่องปั้มน้ำนั่นเอง เช่น หากเราใช้เครื่องปั๊มน้ำที่ สามารถจ่ายน้ำได้ 280 ลิตร ต่อ 1 นาที เราก็เพียงทดสอบด้วยวิธีง่ายๆ เช่น หาถัง 200 ลิตรมาแล้วเปิดน้ำใส่ แล้วเราก็จะรู้ว่าแรงดันของน้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้วหรือไม่นั่นเอง

หากหลังจากการทดสอบแล้ว ถ้าไม่ได้ปริมาณน้ำตามที่เครื่องปั๊มน้ำสามารถจ่ายได้ คุณอาจต้องไปพิจารณาแก้ไขในบางจุดของระบบท่อส่งน้ำที่อาจทําให้แรงดันน้ำลดลง ยกตัวอย่างเช่น การแยกท่อส่งน้ำในบางจุดที่อาจไม่จําเป็น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่จะ ทําให้แรงดันน้ำในท่อส่งลดลง การตรวจสอบการรั่วซึมของข้อต่อต่างๆ ที่เราพึ่งซ่อมแซมหรือติดตั้งเสร็จสิ้น ก็เป็นสิ่งจําเป็นเช่นกัน อาจทดสอบโดยการปล่อยน้ำเข้าสู่ระบบแล้วคอยสังเกตดูว่ามีจุดไหนที่รั่วซึมไหม ข้อต่อต่างๆ ก๊อกน้ำ เหล่านี้หากเราเชื่อมต่อไม่แน่นหนาพอมันก็จะเกิดปัญหาเดิมๆซ้ำอีกจนน่าเบื่อ 

สําหรับงานติดตั้งและซ่อมแซมระบบท่อส่งน้ำ คุณจะต้องทํางาน อย่างระมัดระวังและรัดกุมตั้งแต่แรก จะได้ไม่มีปัญหาตามมาให้คุณยุ่งยากภายหลัง ในการทําความสะอาดและดูแลรักษาระบบน้ำในบ้านเรือนคงไม่มีอะไรยุ่งยากเพราะคุณเองก็ไม่สามารถเข้าไปทําความสะอาดในท่อส่งน้ำ ก๊อกน้ำ และวาล์วได้อยู่แล้ว แต่หากคุณมีถังเก็บน้ำสํารองคุณจําเป็นจะต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ 

การดูแลรักษา ปั๊มน้ำ

เครื่องปั๊มน้ำ

เครื่องปั๊มน้ำคือหัวใจสําคัญในการจ่ายน้ำให้แก่ระบบท่อส่งน้ำของเราทั้งหมด ดังนั้นเราจะต้องมีการทําความสะอาดเครื่องปั๊มน้ำอยู่เสมอ เราอาจลองถอดฝาเพื่อเปิดให้เห็นภายในห้องปั้มน้ำว่ามีสิ่งสกปรก หรือตะกอนปะปนอุดตันอยู่ภายในอยู่ไหม หรือเกิดความเปียกชื้นให้แก่เครื่องปั๊มน้ำ และนอกจากนี้คุณควรสังเกตุการใช้งานของเครื่องปั๊มน้ำด้วยในกรณีที่ใช้งานเครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติ หากเครื่องปั้มน้ำมีเสียงการทํางานบ่อยเกินไป หรือทํางานทั้งๆที่ไม่มีการเปิดใช้น้ำ แสดงว่าระบบท่อส่งน้ำบ้านของคุณจะต้องมีปัญหารั่วซึมในจุดใดจุดหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าเจอจุดที่รั่วซึมให้คุณทำการรีบแก้ไขทันที

การดูแลรักษา วาล์วน้ำ และก๊อกน้ำ

ดูแลรักษา วาล์วน้ำ และก๊อกน้ำ

หากคุณปล่อยให้วาล์วประตูน้ำเปียกน้ำบ่อยๆ แม้ว่าาวาล์วจะทําด้วยวัสดุทองเหลืองก็ตาม สนิมก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่นนั้นคุณควรทําที่บังฝนให้แก่วาล์วประตูน้ำ มาตรวัดน้ำ เพราะในจุดนี้ไม่ได้เปิดใช้น้ำโดยตรง ไม่ควรที่จะให้มีน้ำหรือละอองฝนเข้าไป ทำให้เกิดสนิมได้

ในส่วนของก๊อกน้ำนั้น จุดนี้จําเป็นต้องเปียกน้ำอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ถ้าเปิดใช้น้ำแล้วก๊อกไม่เปียกเลยก็เป็นเรื่องที่ดี ดังนั้นการดูแลรักษาอุปกรณ์ดังกล่าวคุณควรตรวจสอบการยึดติดกับผนังของท่อส่งน้ำ หรือตัวก๊อกน้ำ หากการยึดของท่อส่งน้ำไม่ดี เวลาที่คุณบิดก้านเพื่อเปิดก๊อกน้ำท่อก็อาจจะเคลื่อนไหวไปตามแรงบิดไปด้วย หากมีการเคลื่อนของท่อส่งบ่อยๆ ก็อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการแตกของข้อต่อ และการรั่วซึมได้ง่ายขึ้นเช่นกัน 

นอกจากนี้ก๊อกที่อ่างล้างหน้าจะเป็นจุดที่เกิดปัญหาในเรื่องของการยึดติดกับอ่างเสมอ เนื่องจากการติดตั้งของก๊อกจะใช้วิธียึดก๊อกน้ำกับแหวนด้านล่างของอ่าง เมื่อมีการเปิดใช้งานบ่อยๆแหวนนอตด้านล่างก็จะค่อยๆ คลายออกจนสุดท้ายตัวก็อกจะหมุนตามแรงบิดของคุณทําให้เปิดน้ำไม่สะดวก และหากคุณปล่อยปัญหานี้ไว้นาน ไม่มีการแก้ไข ข้อต่อเกลียวจะชำรุดในไม่ช้า

การดูแลรักษา ท่อส่งน้ำ

ท่อส่งน้ำ

ท่อส่งน้ำในจุดที่เดินลอยบนผนังนั้น บางครั้งอาจมีโอกาสหลุดลงมาจากการ ยึดติดกับผนังก็อาจเป็นไปได้ แต่หากเราหมั่นดูแลรักษาแคล้มรัดท่อทุกจุด โดยการตรวจว่ามีจุดใดบ้างที่เกิดการคลายเกลียวของนอตที่ยึดกับตัวผนัง หรืออาจมีพลาสติกหลุดออกจากรูผนัง คุณควรรีบทําการแก้ไขทันที เพราะหากคุณปล่อยไว้นานเกินไป น้ำหนักของท่อส่งน้ำจะค่อยๆ ทําให้แคล้มรัดท่อทุกตัวหลุดตามไปด้วย

ช่างทั่วไปมักจะนิยมฝังท่อส่งน้ําแบบพีวีซีลงใต้ดิน หากคุณจอกับระบบน้ําดังกล่าว คุณอาจจะต้องสังเกตุดูว่าในเส้นทางของท่อส่งน้ำมีการเปียกชื้นของดินไม่แห้งหรือไม่ หากมีบางจุดของพื้นดินเปียกชื้นก็แน่นอนว่าใน จุดบริเวณนั้นจะต้องมีการรั่วซึมเกิดขึ้น แต่สําหรับการรั่วซึมต่างๆ ของท่อส่งน้ำในระบบที่ใช้เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติเป็นตัวจ่ายน้ำ คุณอาจสังเกตการทํางานของปั้มน้ำว่ามีการทํางานบ่อย หรือถี่เกินไปหรือไม่ คุณอาจจะทดสอบง่ายๆโดยการหยุดการใช้น้ำทุกจุดแล้วคอยสังเกตดูว่าปั้มน้ำจะยังทํางานอีกหรือไม่ หากไม่มีจุดไหนใช้น้ำแต่เครื่องปั้มน้ำยังทํางานก็แปลว่า งานเข้าแล้วครับฮ่าๆ 

การดูแลรักษา ถังเก็บน้ำ

ทำความสะอาดถังเก็บน้ำ

หากคุณไม่เคยเปิดดูถังน้ำสํารองเลยตั้งแต่ติดตั้งมา ให้คุณลองไปเปิดดูว่าข้างในเราเลี้ยงตัวอะไรไว้บ้าง ฮ่าๆ พวกจิ้งจกต่างๆอาจจจะตายอยู่ข้างในก็ได้ ในการล้างทําความสะอาดถังเก็บน้ำสํารองของคุณ หากเป็นถังที่ทําจากวัสดุ เช่น พลาสติกพิเศษชนิดต่างๆ หรือถังน้ำสแตนเลส ถ้าคุณสามารถเข้าไปภายในได้ ให้คุณเข้าไปใช้แปรงขัดทําความสะอาดได้ โดยใช้น้ำที่ยังค้างอยู่ไปใช้ให้หมด เหลือใช้แค่ก้นถังนิดหน่อยก็พอ หรืออาจไม่ต้องเหลือไว้เลยก็ได้ จากนั้นก็ใช้แปรงขัดคราบต่างๆ ที่ติดอยู่ตามขอบถังให้สะอาด เราแนะนำให้คุณใช้น้ำยาล้างจานเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด ไม่ควรใช้ผงซักฟอกในการขัดทําความสะอาดภายในถัง เพราะล้างออกยาก เองไม่จําเป็นต้องใช้ขนแปรงที่เป็นโลหะหรือทองเหลือง โดยเฉพาะถังน้ำที่เป็นสแตนเลส หากใช้แปรงลวดขัดจะทําให้พื้นผิวของถังสแตนเลสเป็นรอยนั่นเอง 

สาเหตุของการเกิดสนิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อันที่จริงแล้ว คราบต่างๆที่เกิดขึ้นในถังเก็บนํ้าคงไม่มีคราบใดที่เกาะฝังแน่นเหมือนพื้นกระเบื้องในห้องน้ำ ในกรณีที่คุณไม่สามารถลงไปในถังนั้นได้ ก็อาจใช้แปรงด้ามยาวขัดถูทําความสะอาดนอกตัวถังแทน เมื่อแน่ใจว่าสะอาดแล้ว เราก็ทําการปล่อยน้ำออกที่ด้านล่างของถัง โดยมากถังเก็บน้ำทุกยี่ห้อจะมีจุดปล่อยน้ําทิ้งไว้ที่ด้านล่างสุดของตัวถัง เมื่อน้ำทิ้งแล้วก็เอาสายยางฉีดล้างเศษสิ่งสกปรกต่างๆ หรือฟองออกให้หมด จนกว่าจะแน่ใจว่าสะอาดแน่แล้ว ค่อยปิดจุดปล่อยน้ำทิ้ง หลังจากนั้นคุณค่อยปล่อยน้ำสะอาดเข้ามาในตัวถังเก็บน้ำ

ขอแนะนําว่า หากไม่จําเป็นอย่าใช้เครื่องปั๊มน้ำดูดเอาน้ำสกปรกหลังจาก ขัดทําความสะอาดเสร็จแล้ว เนื่องจากสิ่งสกปรกต่างๆ ที่คุณพึ่งจะขัดออกมา เข้าไปติดและอุดตันในหลายจุดของระบบจ่ายน้ำ เช่น ในห้องปั้มน้ำ เช็ควาล์ว ก๊อกน้ำ เป็นต้น

 

What do you think?

Comments

Comments

Loading…

0

Written by TiTlECNx

อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..จะหยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

เครื่องดูดฝุ่น

ระบบกรองแบบ HEPA สำคัญกับเครื่องดูดฝุ่นของคุณอย่างไร?

เครื่องมือ MILWAUKEE M18 กับ M18 FUEL : มีความแตกต่างกันยังไง?

เครื่องมือ MILWAUKEE M18 กับ M18 FUEL : มีความแตกต่างกันยังไง?