วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักการทำข้อต่อไม้ หรือ การทำ Joint Wood นั่นเอง ซึ่ง การต่อไม้ คือการทำให้ไม้มีทิศทางที่ต้องการ โดยงานไม้ไม่ว่าจะเป็นงานประเภทไหน การต่อไม้นั้นเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การเลือกประเภทไม้ที่นำมาใช้ให้เหมาะกับงานแต่ละประเภท การต่อไม้เป็นนั้นถือเป็นตัวช่วยยึดชิ้นส่วนไม้แต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน
ดังนั้นการเลือกใช้ข้อต่อไม้แต่ล่ะประเภทไหนนั้นก็เหมาะกับการใช้งานและประเภทไม้ที่แตกต่างกัน
ซึ่งประเภทของการทำข้อต่อไม้มี ดังนี้
1 การเข้าไม้แบบต่อชน (Basic Butt Joint)
2 Mitred Butt Joint หรือ การเข้าไม้แบบเรียบ
3 Half Lap Joint หรือ การต่อทาบแบบบังใบ
4Tongue and Groove Joint หรือ การเข้าไม้แบบเข้าลิ้น
5 Mortise and Tenon Joint หรือ การเข้าไม้แบบข้อต่อเดือยเหลี่ยม
6 การเข้าไม้แบบ Biscuit Joint
7 การเข้าไม้แบบ Pocket Joint
8 การเข้าไม้แบบข้อต่อบากปากชน (Dado Joint)
9 การเข้าไม้แบบบังใบ (Rabbet Joint)
10 การต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยว (Through Dovetail Joint)
11 การต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยวแบบเข้ามุม (Half-blind Dovetail)
12 การต่อไม้แบบเดือยหางเหยี่ยวสไลด์ (Sliding dovetail)
13 การเข้าไม้แบบ Box Joint
เราจึงควรมีความรู้เรื่องหลักการต่างๆในการต่อไม้และความเหมาะสมกับการนำไปใช้ควบคู่กันไป
ซึ่งวันนี้เราจะทำการต่อไม้ประเภท Castle Joint ทั้งสองแบบ
ทำไมถึงเลือกใช้ข้อต่อไม้แบบ Castle Joint
การประกอบไม้แบบ Castle Joints เป็นการประกอบจากไม้ 3 ชิ้น ส่วนที่สไลด์เข้าหากันจะทำให้จับกันไม่ขาดเมื่อทำการประกอบกันแล้ว จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่แน่นหนาและปลอดภัย นิยมใช้กันในงานประกอบเตียง มุมโต๊ะ
ข้อดีของการทำข้อต่อไม้แบบ Castle Joint
อุปกรณ์ที่ใช้ทำCastle Joint แบบที่ 1
มาเริ่มทำกันเลย
เตรียมไม้ขนาดต่างๆ
นำไม้สนนอกขนาด 4 X 4 cm ยาว 100 cm มาวัดให้ได้ขนาดท่อนล่ะ25 cm จำนวน 4 ท่อน
และ นำไม้ที่ได้วัดขนาดไว้นำไปตัดโดยใช้เลื่อยองศาในการตัด
เลื่อยองศา
การใช้งาน
– ปลั๊กไฟต้องไม่เสียบอยู่ ให้ลองขยับและดูการปรับตั้งต่างๆ ของเลื่อยดู
– ทำตามคำแนะนำในคู่มือ หาเศษไม้มาเพื่อทดลองตัด โดยที่ยังไม่เสียบปลั๊กไฟ ต้องเข้าใจก่อนว่าใบเลื่อยจะตัดตรงไหน และตัวครอบจะเคลื่อนที่อย่างไร
– ก่อนที่จะเสียบปลั๊ก ต้องดูก่อนว่าฐานถูกยึดหรือขันนอตติดไว้กับโต๊ะแล้ว และต้องดูว่าที่พื้นไม่มีของวางไว้เกะกะ
– เสียบปลั๊ก วางไม้ลงที่แท่นเลื่อยโดยให้ยังอยู่กับส่วนที่เป็นตัวกั้น ใช้มือข้างเดียวจับไม้ไว้ โดยดูให้แน่ใจว่ามือของเราไม่ได้อยู่ในแนวที่ใบเลื่อยจะผ่านไป
– จับด้ามจับของเลื่อยไว้ด้วยมืออีกข้าง กดไกเพื่อให้เลื่อยเริ่มทำงาน
– ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามือของคุณไม่ได้อยู่ในแนวการเคลื่อนที่ของใบเลื่อย เพื่อความปลอดภัย
– ดึงเลื่อยลงมาช้าๆ จนถึงไม้ ถ้าเลื่อยเป็นแบบที่มีแขนสำหรับเลื่อน ให้เลื่อนมาข้างหน้าจนสุดก่อนที่จะหมุนลงมากดใบเลื่อยผ่านลงไปในไม้ แล้วผลักกลับขึ้นด้านบนอย่างช้าๆปล่อยไกเพื่อให้มอเตอร์หยุดทำงาน
– รอจนใบเลื่อยหยุดหมุน ปล่อยไม้ที่จับไว้ และปล่อยที่จับบนตัวเลื่อย แล้วนำชิ้นงานออกจากเลื่อย
ตัดไม้ตามแบบและขนาดที่วัดไว้
เลื่อยสายพาน
ข้อควรปฎิบัติในการใช้เครื่องเลื่อยสายพาน
- ปรับแขนประคองใบเลื่อยให้เข้าใกล้ชิ้นงานมากที่สุด
- ก่อนใช้ใบเลื่อยใหม่ทุกครั้ง ควรลดแรงกด (Feed Rate) ลง 30 % ประมาณ 15 นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มแรงตามปกติ
- การตัดงานทุกครั้งควรใช้ความเร็วรอบ (Speed) และแรงกด (Feed) ให้เหมาะสมตามตาราง
- ควรเช็คความตึงของใบเลื่อย
- ควรเช็คแปรงปัดใบเลื่อย
- ควรเช็คการสึกหรอของลูกปืน และตัวประคองใบเลื่อย
- ควรใช้น้ำมันหล่อเย็นที่มีประสิทธิภาพ
- ควรลดความตึงใบเลื่อยหลังเลิกใช้งาน
นำไม้ท่อนที่1มาวัดขนาดให้ได้ขนาดด้านล่ะ 1X2X1 cm ยาว 6 cm จากนั้นใช้ดินสอวาดตามขนาดที่ได้วัดไว้ในตอนแรก และหลังจากนั้นนำไม้ไปซอยโดยใช้เลื่อยสายาพานในการซอยทำให้ครบทุกด้านโดยให้ร่องที่บากเข้าไปนั้นลึกขนาด4 cm หลังจากนั้นใช้สิ่วในการตกแต่งร่องที่ทำการซอยไว้ให้เรียบและสวยงาม
และนำไม้อีก 2 ท่อนมาวัดขนาดให้ได้ความยาวท่อนล่ะ 14 cm จากนั้นวัดจากขอบของไม้ด้านใดด้านนึงวัดขนาดเข้ามาให้ได้ขนาด 5 cm และใช้ดินสอขีดเส้นไว้ จากนั้นวัดจากเส้นที่ขีดไว้ออกมาอีก 4 cm จะเลือขนาดอีกข้างเท่ากับ 5 cm หลังจากได้ไม้ขนาด 5X4X5 cm ทั้งสองท่อนแล้ว นำไม้ทั้งสองท่อนนั้นนำมาวัดขนาดอีกครั้งเพื่อเตรียมที่จะบากร่องไม้ โดยใช้วัดขนาดและใช้ดินสอวาดเส้นไว้โดยส่วนที่เราจะนำไปซอยออกนั้นคือส่วนของขอบทั้งสองด้านของความยาวไม้ที่วัดไว้ขนาด 4 cm ที่เราได้วัดขนาดไว้ในตอนแรกโดยวัดให้ได้ขนาด 1X4X1 cm ทั้งสองด้าน
หลังจากนำไม้ไปซอยออกทั้งสองด้านแล้วจะเห็นได้ว่าขนาดของส่วนกลางเราจะได้ขนาด1X2X1 cm ลึก 4 cmโดยส่วนนี้จะนำไปต่อเข้ากับไม้ที่เราได้ตัดไว้ก่อนหน้านี้ แต่ยังไม่สามารถนำไปต่อกันได้เนื่อจากยังต้องบากร่องอีก 1 จุด วัดขนาดตรงส่วนที่เราได้ซอยขอบทั้งสองด้านก่อนหน้านี้ของไม้ทั้งสองท่อนโดยวัดให้ได้วัดจากขอบให้ได้ขนาด 1X2X1 cm = 4 cm วัดเสร็จใช้ดินสอมาร์คจุดที่วัดได้ 1cm ทั้งสองด้านจากนั้นจะได้ขนาดตรงกลางเท่ากับ 2 cm เสร็จแล้วนำไม้ทั้งสองท่อนมาวัดตรงจุดตรงกลางหรือจุดที่วัดขนาดได้ 2 cm โดยวัดจากขอบไม้ด้านล่างขึ้นไปให้ได้ขนาด 2X2 cm ก็คือความลึก 2 cm ความกว้าง 2 cm
หลังจากนั้นนำมาทากาวและ ประกอบเข้าด้วยกันรอจนกาวแห้ง และ ใช้เครื่องขัดกระดาษทรายขัดให้เรียบ เป็นอันเสร็จสิ้น
การทำข้อต่อไม้ Castle Joint แบบที่ 2
การเตรียมไม้
ขีดเส้นแบ่งส่วนที่จะตัด
ตัดแบ่งไม้ออกเป็น 3 ส่วน
เลื่อยตัดองศา
การวัดขนาดไม้ โดยแบ่งจากความหนาของไม้สน คือ 4×4 cm ยาว 100 cm เลือกแบ่งตัดท่อนล่ะ 12.5 cm เท่าๆกันจำนวน 3 ท่อน โดยใช้เลื่อยองศาในการตัด
Tip : การตัดไม้โดยใช้เลื่อยองศา ควรใช้แคลมป์หนีบไม้ด้านนึงหรือทั้งสองด้านไว้ และต้องไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป เพื่อกันไม่ให้ไม้ดีด
การตัดไม้ตามขนาดที่วัดไว้
เลื่อยวงเดือน
การบากร่องโดยใช้โต๊ะเลื่อยวงเดือน สามารถกินร่องได้เร็วเพราะ ความหนาใบเลื่อย แต่ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจเกิดการดีดกลับของไม้ได้
Tip : ควรยึดไม้ให้แน่นกับรั้วด้วยแคลมป์แล้วตัด (กรณีที่โต๊ะเลื่อยสามารถดึงใบเลื่อยเข้าหาชิ้นงานได้ เช่น โต๊ะเลื่อย Festool) หรือใช้อุปกรณ์เสริม ที่ดันดันไม้เพื่อช่วยกดชิ้นงานระหว่างตัดได้
เมื่อตัดเสร็จแล้วจะได้ตัวฐาน ลักษณะดังภาพ
เริ่มตัดชิ้นส่วนที่เหลือ
เลื่อยสายพาน
การตัดไม้ในส่วนของไม้ที่ต้องการหั่นออกในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยใช้เลื่อยสายพาน วิธีการคือ ปรับฉากด้านข้างให้ได้ฉาก 90 องศา นำไม้ด้านที่ต้องการจะตัดชนกับฉาก และดันไม้เข้าหาใบเลื่อยสายพาน ในด้านที่ต้องการตัด จะได้ลักษณะดังภาพ
Tip : การตัดไม้โดยใช้เลื่อยสายพาน ควรปรับใบเลื่อยให้ชิดกับชิ้นงาน เพื่อให้ได้รอยตัดที่ตรงและ ลดความอันตรายจากใบเลื่อย
เมื่อตัดชิ้นส่วนทั้งหมดเสร็จแล้ว นำชิ้นส่วนทั้ง 3 มาประกอบกัน จะได้ข้อต่อไม้ Castle Joint แบบที่ 2 ดังภาพต่อไปนี้
Comments